สนข.เร่งจัดทำแผน3ระยะ พัฒนาสถานีกลางบางซื่อ
Loading

สนข.เร่งจัดทำแผน3ระยะ พัฒนาสถานีกลางบางซื่อ

วันที่ : 3 สิงหาคม 2560
สนข.เร่งจัดทำแผน3ระยะ พัฒนาสถานีกลางบางซื่อ

คมนาคมสั่งสนข.จัดทำกรอบเวลารองรับการพัฒนาสถานีกลางบางซื่อ 3 ระยะ คาดเสนอกลับมาให้พิจารณาได้ใน 2 เดือนจากนี้ ด้านธนารักษ์เดินหน้า เสนอโครงการก่อสร้างอาคารบีเคทีให้  ครม. ไฟเขียว คาดลงนามสัมปทานต.ค.นี้

นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบูรณาการการใช้พื้นที่สถานีกลางบางซื่อ วานนี้ (2 ส.ค.) ว่า คณะกรรมการฯ ได้หารือถึงกรอบเวลาของแผนงานต่างๆ  ในการพัฒนาสถานีกลางบางซื่อ และได้สั่งให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จัดทำรายละเอียดกรอบเวลาสำคัญ 3 ช่วงเพื่อเสนอให้คณะกรรมการฯ พิจารณาอีกครั้ง

กรอบระยะสั้นอยู่ในปี 2563 ซึ่งสถานีกลางบางซื่อจะเปิดให้บริการ โดยจะต้องศึกษาว่า ควรเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์และวางโครงข่ายเชื่อมระบบสาธารณะอย่างไร เพื่ออำนวยความสะดวกและทำให้ประชาชนเดินทาง เชื่อมต่อได้ทุกระบบ เนื่องจากในอนาคตคาดว่ามีประชาชนเข้ามาใช้บริการสถานีกลางบางซื่อหลายแสนคน

กรอบระยะกลางคือปี 2566  ซึ่งบริษัท บางกอกเทอร์มินอล จำกัด หรือ BKT จะพัฒนาพื้นที่หมอชิตเดิมในเชิงพาณิชย์แล้วเสร็จ ซึ่ง BKT จะแบ่งพื้นที่อาคาร บริเวณชั้น 3 และ 4 ขนาดประมาณ 1.12 แสนตารางเมตรให้บริษัท ขนส่ง จำกัด หรือ บขส. ใช้เป็นสถานีขนส่งผู้โดยสาร

ในระยะนี้ สนข. จะต้องจัดทาแผนการย้ายสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (หมอชิต 2) ออกจากสถานีกลางบางซื่อให้ชัดเจนใน 2 ส่วน คือ รถโดยสารสาธารณะ สายสั้นที่วิ่งระหว่าง กรุงเทพฯ - ต่างจังหวัด ระยะทางไม่เกิน 250-300 กิโลเมตรและรถสายยาว ระยะทางมากกว่า 300 กิโลเมตร

โดยเบื้องต้น บขส. จะใช้พื้นที่สถานีกลางบางซื่อรับส่งผู้โดยสารเฉพาะเส้นทางระยะสั้น แต่จะให้จอดชั่วคราวเพียง 5-10 นาที เพื่อให้รถเข้ามารับและส่งผู้โดยสารเท่านั้น โดยไม่มีการจัดที่จอดรถให้ ซึ่งระบบนี้คล้ายกับภายในท่าอากาศยานปัจจุบัน ส่วนรถสายยาว จะจัดให้มีการจอดรับและส่งเฉพาะที่อาคาร BKT ซึ่งเป็นอาคารจอดรถ แห่งใหม่เท่านั้น

สำหรับโครงการก่อสร้าง BKT ล่าสุดกรมธนารักษ์อยู่ระหว่าง จัดทำรายละเอียดโครงการเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติให้มีการลงนามในสัญญาก่อสร้าง คาดว่าจะลงนามกับ BKT ได้ในเดือนต.ค. นี้

จากนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนการออกแบบก่อสร้างอีก 18เดือน และเริ่มดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายใน5 ปี

กรอบเวลาระยะยาว คือช่วงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์หลังจากนั้น ซึ่งจะต้องจัดทาแผนพัฒนาในภาพรวมว่า จะมีพัฒนาจะพัฒนารูปแบบใดและแบ่งออกเป็นประเภทใดบ้าง

 
ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
ข่าวพัฒนาสาธารณูปโภค อื่นๆ