อนันต์ ห่วงอสังหาฯปี62 ซอฟท์แลนดิ้ง-เงินตึงตัว
Loading

อนันต์ ห่วงอสังหาฯปี62 ซอฟท์แลนดิ้ง-เงินตึงตัว

วันที่ : 9 มกราคม 2562
"อนันต์"ห่วงอสังหาฯ ปีนี้ สู่ภาวะซอฟท์แลนดิ้ง เงินตึงตัว แบงก์เข้มสินเชื่อ หนี้ครัวเรือนสูง ซัพพลายล้น สงครามราคาขายขาดทุน ภาวะคนล้นงาน ดีมานด์ลดเริ่มเห็นการเลย์ออฟ ผู้รับเหมาทิ้งงาน แนะเร่งพัฒนาสินค้า หาเรียลดีมานด์
          อนันต์"ห่วงอสังหาฯ ปีนี้ สู่ภาวะซอฟท์แลนดิ้ง เงินตึงตัว แบงก์เข้มสินเชื่อ หนี้ครัวเรือนสูง ซัพพลายล้น สงครามราคาขายขาดทุน ภาวะคนล้นงาน ดีมานด์ลดเริ่มเห็นการเลย์ออฟ ผู้รับเหมาทิ้งงาน แนะเร่งพัฒนาสินค้า หาเรียลดีมานด์

          นายอนันต์ อัศวโภคิน อดีต ประธานและกรรมการผู้จัดการ บริษัท แลนด์แอนด์เฮาส์ จำกัด (มหาชน) และผู้ก่อตั้งหลักสูตรThe NEXT Real ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อสร้างระบบ นิเวศภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (Ecosystem) ซึ่งเปิดตัวหลักสูตรรุ่นที่ 7 และ 8 วานนี้ (8 ม.ค.) เปิดเผยมุมมองอสังหาริมทรัพย์ในงานเสวนา "กลยุทธ์การรับมืออสังหาฯ ชะลอตัวปี 2562" ว่า ทิศทางในปีนี้เข้าสู่วัฎจักรชะลอตัวหลังจากช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมามีการขยายโครงการและมีการกู้เงินจำนวนมาก ส่งผลทำให้ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่สูง ทำให้ทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาตรการคุมเข้มด้านการ ปล่อยสินเชื่อ ใช้เดือนเม.ย.ปีนี้ ทำให้ ผู้ประกอบการหลายรายอาจจะ ประสบปัญหาทางการเงินตึงตัว

          สิ่งที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิดคือ การออกตราสารหนี้(บอนด์) หรือหุ้นกู้ในรูปแบบต่างๆ อัตราหนี้เริ่มสูงขึ้น เกิดจากกำไรคงที่หรือลดลง เพราะซัพพลายล้นยังไม่ถูกระบายออกจากตลาด

          นายอนันต์ ยังกล่าวว่า ปัจจัย ที่ส่งผลให้ภาคอสังหาฯชะลอตัว เพราะอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ(GDP) ชะลอตัว รวมถึง การลงทุนจากต่างประเทศยังไม่ชัดเจน ตลอดจนมีการส่งสัญญาณการขึ้นดอกเบี้ย แต่เหตุการณ์ยังไม่รุนแรงเหมือนเมื่อครั้งเกิดวิกฤติฟองสบู่ปี 2540 เนื่องจากธนาคารยังมีสภาพคล่อง และมีกำไร ขณะอัตราดอกเบี้ยยังอยู่ระดับต่ำ 4-5% สำหรับอัตราดอกเบี้ยรายใหญ่ และรายเล็กอยู่ที่ 7-8% เมื่อเทียบกับปี 2540 ที่ดอกเบี้ยอยู่ที่ 14-15%

          นอกจากนี้เขายังเห็นว่า หากมีการเลือกตั้งได้อย่างรวดเร็วจะทำให้เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวชัดขึ้น "ภาคอสังหาฯเป็นช่วงซอฟท์แลนด์ดิ้ง โครงการลงทุนส่วนใหญ่มาจากภาครัฐเป็นหลัก ส่วนภาคเอกชนส่วนใหญ่ที่เติบโตเพราะ ต้องแข่งกันเอง บางรายหายในตลาด รายใหญ่เข้าแทนที่ กลุ่มที่มีปัญหา หนี้สูงส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs)ซึ่งควรเข้าไปหารือกับธนาคารตั้งแต่เริ่มเกิดปัญหาแทนรอให้เกิดวิกฤติ เพื่อขอความช่วยเหลือและวางแผนร่วมกัน"

          เขายังกล่าวอีกว่า มีแนวโน้ม ที่กลุ่มอสังหาฯเริ่มมีพนักงานเกิน กว่ากำลังการผลิต เพราะได้ขยายธุรกิจในช่วงที่ภาคอสังหาฯขาขึ้น 4-5 ปีที่ผ่านมา แต่ปีนี้กำลังการผลิต ลดลงคนเท่าเดิม จึงต้องเริ่มมี การลดจำนวนพนักงาน รวมไปถึง บางรายที่เริ่มหันจากตลาดคอนโด มิเนียมไปสู่การพัฒนาบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ อาจจะมีผู้รับเหมาใน ตลาดไม่เพียงพอและไม่มีประสบการณ์ เพราะส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดเล็ก ที่อาจจะทิ้งงานกลางคันได้ ทั้งนี้อาจจะ มีการแก้ไขปัญหาการเงินด้วยการเข้าสู่การลดราคา หรือบางรายอาจจะ ยอมขายขาดทุนเพื่อที่จะเก็บกระแสเงินสด

          ด้านนายวิชัย จุฬาโอฬารกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม (co-ceo) บริษัท ดับเบิ้ลยู-ชินวะ จำกัด ตัวแทน The Next Real รุ่นที่ 5 กล่าวถึงกลยุทธ์การอยู่รอดท่ามกลางยุคชะลอตัวว่า ต้องพัฒนาตลาดให้ตลาดที่ต้องการซื้อบ้านเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand) แล้วออกแบบพัฒนา คุณค่าให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ลูกค้า อีกตลาดคือนักลงทุน ควรเข้าใจความต้องการของลูกค้า โดยการสร้างโปรดักท์ที่มีความ แตกต่าง เพิ่มมูลค่า จูงใจให้เกิด การปล่อยเช่าได้
 
ข่าวโครงการอสังหาฯ ภาคเอกชน อื่นๆ