บทบรรณาธิการ: เร่งนโยบายฟื้นเศรษฐกิจ เรียลเซ็กเตอร์ ชะลอชัด
Loading

บทบรรณาธิการ: เร่งนโยบายฟื้นเศรษฐกิจ เรียลเซ็กเตอร์ ชะลอชัด

วันที่ : 23 กรกฎาคม 2562
ที่ผ่านมามักมีเสียงบ่นปน "ความรู้สึก" จากผู้คนหลายภาคส่วนว่าเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว จากการหารายได้ไม่คล่องเหมือนเคย ทว่าความรู้สึกนั้นอาจยังขาด"ข้อเท็จจริง" มารองรับ เพียงพอ จนเมื่อตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆซึ่งเป็น "ข้อเท็จจริง" เริ่มเผยตัวออกมายืนยันว่าความถูกต้องของความรู้สึกว่าเศรษฐกิจไทย ชะลอตัวจริง

         ที่ผ่านมามักมีเสียงบ่นปน "ความรู้สึก" จากผู้คนหลายภาคส่วนว่าเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว จากการหารายได้ไม่คล่องเหมือนเคย ทว่าความรู้สึกนั้นอาจยังขาด"ข้อเท็จจริง" มารองรับ เพียงพอ จนเมื่อตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆซึ่งเป็น "ข้อเท็จจริง" เริ่มเผยตัวออกมายืนยันว่าความถูกต้องของความรู้สึกว่าเศรษฐกิจไทย ชะลอตัวจริง

          โดยเฉพาะข้อเท็จจริงจากเรียลเซ็กเตอร์ ซึ่งเป็นภาคเศรษฐกิจ ที่แท้จริง ถือเป็นดัชนีชี้วัดสถานการณ์เศรษฐกิจที่ดี พบว่าหลายธุรกิจสำคัญของไทยออกอาการชะลอตัวของยอดขาย รายได้ เป็นผลจากกำลังซื้อในประเทศและต่างประเทศ(ส่งออก)ที่ลดลง ผสมโรงกับจังหวะการ "เปลี่ยนผ่าน"ทางธุรกิจที่มีเทคโนโลยีมาปั่นป่วน(ดิจิทัล ดิสรัปชัน) ทำให้บางธุรกิจปรับตัวไม่ทันการเปลี่ยนแปลงจนกระทบต่อความสามารถในการแข่งขัน อีกทั้งสถาบันการเงินเข้มงวดมากขึ้นในการอนุมัติสินเชื่อ เป็นวัวพันหลัก ที่มีต้นตอมาจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว

          อาทิ ในธุรกิจค้าปลีก ค้าส่งของผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อม (เอสเอ็มอี) ที่ล่าสุดศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี เผยข้อมูลว่า ปัจจุบันสถานการณ์ธุรกิจดังกล่าวอยู่ในอาการ น่าเป็นห่วง สะท้อนผ่านสินเชื่อที่สถาบันการเงินปล่อยให้กับธุรกิจดังกล่าวหดตัวต่อเนื่อง ขณะที่หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) เพิ่มขึ้น โดยในไตรมาสแรกของปีนี้ พบว่า สินเชื่อหดตัวลงราว 1.2% ขณะที่เอ็นพีแอล เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 7.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

          ขณะที่ในอุตสาหกรรมยานยนต์เป็นอีกเซ็กเตอร์ ที่เติบโตชะลอ โดยข้อมูลของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ระบุว่า ยอดการผลิตรถยนต์รวมในเดือนมิ.ย.ปีนี้อยู่ที่ 172,878 คัน ลดลง 8.52% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และลดลง 4.66% จากเดือนก่อน ขณะที่ยอดขายรถยนต์ติดลบเป็นครั้งแรกในรอบ 30 เดือน อยู่ที่ 86,048 คัน ลดลง 2.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และลดลง 2.3% จากเดือนก่อน

          ไม่นับภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ชะลอตัวชัด ในช่วง กว่า 2 เดือนหลังการบังคับใช้มาตรการคุมเข้มปล่อยสินเชื่ออสังหาฯ (แอลทีวี) เมื่อ 1 เม.ย.ที่ผ่านมา โดยข้อมูลของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ระบุว่า  ยอดโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยกรุงเทพฯ และปริมณฑล ในช่วงครึ่งแรก (ม.ค.-มิ.ย.) ของปีนี้ แยกเป็นหน่วยโอนกรรมสิทธิ์ลดลง 4.8% ขณะที่มูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ลดลง 0.8%

          ในจังหวะที่คณะรัฐมนตรี (ครม.)ใหม่  จะแถลงนโยบายต่อรัฐสภาในวันที่ 25 ก.ค.นี้ เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ต่อการ ขับเคลื่อนประเทศ ผ่านนโยบายหลัก 12 ด้าน และนโยบายเร่งด่วน 12 ด้าน นั้น หวังว่าจะไม่เป็นเพียงถ้อยแถลง เพราะประเมินจากสถานการณ์เศรษฐกิจที่เห็นและเป็นอยู่ คำว่านโยบายเร่งด่วน ควรจะเป็นเรื่องที่ "เร่งด่วน" จริงๆ เพราะประเทศช้ามามากแล้ว จากนี้จึงต้องติดสปีดเท่านั้น ซึ่งไม่รู้ว่าจะ"ทันกาล"หรือไม่
 

ข่าวโครงการอสังหาฯ ภาคเอกชน อื่นๆ