แบงก์กรุงเทพ ชะลอปล่อยกู้คอนโด
Loading

แบงก์กรุงเทพ ชะลอปล่อยกู้คอนโด

วันที่ : 26 กันยายน 2562
"ธนาคารกรุงเทพ" ชะลอปล่อยกู้ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ ตลาดคอนโดมิเนียม ห่วงดีมานด์ทั้ง ในประเทศและจีนหดตัว ผลเศรษฐกิจชะลอ-มาตรการแอลทีวี พร้อมติดตาม สถานการณ์กลุ่มเกษตรใกล้ชิด ยอมรับ ภาพรวมเอ็นพีแอลขยับขึ้น ธุรกิจได้รับ ผลกระทบส่งออกติดลบ
เอ็นพีแอลเริ่มขยับ  เกาะติดกลุ่มเกษตร  รับผลกระทบน้ำท่วม
            "ธนาคารกรุงเทพ" ชะลอปล่อยกู้ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ ตลาดคอนโดมิเนียม ห่วงดีมานด์ทั้ง ในประเทศและจีนหดตัว ผลเศรษฐกิจชะลอ-มาตรการแอลทีวี พร้อมติดตาม สถานการณ์กลุ่มเกษตรใกล้ชิด ยอมรับ ภาพรวมเอ็นพีแอลขยับขึ้น ธุรกิจได้รับ ผลกระทบส่งออกติดลบ
            นายเดชา  ตุลานันท์  ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ  จำกัด (มหาชน)(BBL) เปิดเผยว่า ธนาคารยังติดตามสถานการณ์กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ใกล้ชิดเนื่องจากความต้องการซื้อ (ดีมานด์) จาก ลูกค้าจีนได้รับผลกระทบ จากกรณีรัฐบาลจีน ได้จำกัดการโอนเงินออกนอกประเทศ เพราะยอดขายอสังหาฯในไทยส่วนหนึ่งมาจากนักท่องเที่ยวจีน เมื่อจีนไม่เข้ามา ยอดขายก็ลดลง โดยเฉพาะในตลาดคอนโดมิเนียม อีกทั้งกำลังซื้อในประเทศยังได้รับผลกระทบ จากเศรษฐกิจชะลอ และเกณฑ์กำกับ สินเชื่อที่อยู่อาศัย (แอลทีวี) ธนาคารจึงยังคง ชะลอปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการ อสังหาฯต่อไป
            "เราชะลอปล่อยกู้ให้ผู้ประกอบการ อสังหาฯ ตั้งแต่พ.ย ปีที่แล้ว จนถึงตอนนี้ ยังไม่ได้ผ่อนเกณฑ์ดังกล่าว เพราะวันนี้ ผลกระทบมีมากขึ้น คอนโดขายยากขึ้น จีนเข้ามาซื้อน้อยลง ดังนั้นต้องระวัง ส่วนจะเริ่มกลับมาปล่อยกู้อีกเมื่อไหร่ อันนี้ต้องดูแนวโน้มต่อไปสักระยะ  ส่วนการ ให้กู้ผู้ประกอบการอสังหาฯแนวราบหรืออื่นๆ ก็ยังปล่อยปกติ"
            ทั้งนี้  อีกกลุ่มที่ต้องติดตามใกล้ชิด คือภาคเกษตร หลังได้รับผลกระทบจากราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ และผลกระทบจากน้ำท่วม ซึ่งกลุ่มเกษตรถือเป็นกลุ่มใหญ่ ของประเทศ เกินกว่า 30-40% ของประชากรทั้งประเทศ แม้ว่าธนาคารจะมีลูกค้าในกลุ่ม เกษตรไม่มาก ส่วนใหญ่เราเน้นปล่อยกู้ กลุ่มเกษตรก้าวหน้าเป็นหลัก
            สำหรับภาพรวมหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของธนาคารปรับตัวเพิ่มขึ้น หากเทียบกับช่วงกลางปี 2562 ที่เอ็นพีแอล อยู่ที่ระดับ 3.4% หลังได้รับผลกระทบ จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในปัจจุบัน ประกอบการมีบางธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ จากภาคการส่งออกที่ชะลอตัว ทำให้เห็นเอ็นพีแอลขยับเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่ม เอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบมากกว่าทุกกลุ่ม
            ส่วนภาพรวมสินเชื่อปีนี้ ธนาคาร ยังคงเป้าการเติบโตที่ 3-4% แม้ว่าในช่วงครึ่งปีแรกสินเชื่อจะหดตัว เนื่องจากธุรกิจ รายใหญ่มีการชำระคืนเงินกู้ แต่เชื่อว่า ในช่วงที่เหลือของปีนี้ โดยเฉพาะไตรมาส 4  สินเชื่อจะกลับมาเติบโตดีขึ้น เพราะเป็นช่วงไฮซีซันของการขยายตัวของสินเชื่อ อีกทั้งลูกค้ายังมีแผนขอสินเชื่อเพื่อใช้ในการลงทุน หรือใช้ในการดำเนินกิจการอยู่
            เขากล่าวอีกว่า ส่วนการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)  จะมีการประกาศใช้ มาตรฐานบัญชีใหม่ (TFRS9) วันที่ 1 ม.ค.2563 และให้มีการนำสำรองส่วนเกิน มาบันทึกเป็นกำไรได้นั้น ขณะนี้ธนาคาร อยู่ระหว่างการทบทวนว่าจะดึงสำรองดังกล่าว กลับมาเป็นรายได้หรือกำไรหรือไม่ เพราะในระยะข้างหน้ามีความไม่แน่นอนสูง จากภาวะเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ
            หากดูการตั้งสำรองของธนาคาร ในปัจจุบันอยู่ในระดับสูงอยู่แล้ว โดย coverage ratio อยู่ที่ระดับ 186% สูงกว่าระบบที่อยู่ 145% ส่วนแนวโน้ม การตั้งสำรองในไตรมาส 3 และไตรมาส 4 ปีนี้ คาดว่าจะอยู่ในระดับปกติ และไม่จำเป็นต้องสำรองเพิ่มขึ้นเหมือนในอดีตแล้ว
            ส่วนการปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารลงในช่วงที่ผ่านมา ตามคณะกรรมการ นโยบายการเงิน (กนง.) ยอมรับก็มีผลกระทบ ดังนั้นธนาคารต้องเร่งหารายได้อื่นๆ เข้ามา ทดแทน เช่น การขายประกันผ่านแบงก์ (แบงก์แอสชัวรันส์) การขายกองทุน ซึ่ง ต้นปีหน้าจะมีการปรับแผนธุรกิจด้านเหล่านี้ ให้เห็นมากขึ้น
 
ข่าวนโยบายการเงิน-การคลัง อื่นๆ