รฟท.ลุยไฮสปีดเฟส2 ต่อขยาย ระยอง-ตราด
Loading

รฟท.ลุยไฮสปีดเฟส2 ต่อขยาย ระยอง-ตราด

วันที่ : 16 ธันวาคม 2562
หลังจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ลงนามสัญญา ร่วมลงทุน รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) กับ บริษัทรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อม 3 สนามบิน จำกัด ที่มีกลุ่มซีพีเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่
          หลังจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ลงนามสัญญา ร่วมลงทุน รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) กับ บริษัทรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อม 3 สนามบิน จำกัด ที่มีกลุ่มซีพีเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ มีแผนที่จะสรุปการรื้อย้ายสาธารณูปโภคและกรอบวงเงินภายใน เดือน ม.ค.2563 ในขณะที่ส่วนต่อขยายเฟส 2 ระยอง-ตราด การพิจารณาส่วนต่อขยายเริ่มมีการกล่าวถึงด้วยการฟังความเห็น กลุ่มย่อย 3 จังหวัด 12 อำเภอ

          วรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก (กพอ.) กำหนดให้รีบสรุปการรื้อย้ายสาธารณูปโภคโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา)

          รวมทั้ง ร.ฟ.ท.กำลังศึกษาโครงการรถไฟสายใหม่ ช่วงศรีราชา-ระยอง-จันทบุรีตราด-คลองใหญ่ โดยก่อนหน้านี้มีการศึกษา ความเหมาะสมจะพัฒนาเป็นรถไฟทางคู่  แต่ปัจจุบันมีข้อเสนอแนะจากหลายฝ่ายให้ศึกษาความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาเป็น รถไฟความเร็วสูงด้วย เพื่อเชื่อมต่อกับ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา)

          "โครงการรถไฟสายใหม่ช่วงศรีราชา- ระยอง-จันทบุรี-ตราด-คลองใหญ่ ปัจจุบันยังอยู่ ในขั้นตอนของการศึกษารายละเอียด ซึ่งเป็น โครงการระยะยาวในอนาคต และอาจไม่ได้เป็น โครงการส่วนต่อขยายในสัญญารถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน แต่เป็นการพัฒนาต่อยอด การศึกษาจากแผนลงทุนของ ร.ฟ.ท.เอง โดย โครงการดังกล่าวจะมีความจำเป็นเร่งรัดก่อสร้างหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับนโยบายรัฐบาล"

          ส่วนโครงการรถไฟสายใหม่ช่วงศรีราชาระยอง-จันทบุรี-ตราด- คลองใหญ่ ซึ่งผล การศึกษาของ ร.ฟ.ท.ที่จะพัฒนาเป็นระบบรถไฟทางคู่ ก่อนหน้านี้มีการประเมินว่าแนวเส้นทางจะมีระยะทาง 333 กิโลเมตร เป็น รถไฟทางคู่ ขนาดรางมาตรฐาน 1 เมตร ประเมิน งบประมาณลงทุน 5-6 หมื่นล้านบาท เป้าหมาย เพื่อสนับสนุนพื้นที่พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) การขนส่งสินค้าและการท่องเที่ยว

          ทั้งนี้ ผลการศึกษาได้แบ่งการก่อสร้างเป็น 3 ช่วง คือ 1.เชื่อมนิคมอุตสาหกรรมสู่นิคมอุตสาหกรรม มีจุดเริ่มต้นเชื่อมต่อจาก สถานีชุมทางศรีราชา-สถานีระยอง 2.เชื่อมนิคมอุตสาหกรรมสู่พื้นที่ อ.เมืองระยอง มีจุดเริ่มต้นเชื่อมต่อจากสถานีมาบตาพุด ถึงอำเภอเมือง 3.เชื่อมโยงโครงการระเบียงผลไม้ ภาคตะวันออก และการท่องเที่ยวมีจุดเริ่มต้น จาก อ.เมืองระยอง ผ่าน จ.จันทบุรี และสิ้นสุด ที่ อ.คลองใหญ่ จ.ตราด

          รายงานข่าวจาก ร.ฟ.ท.ระบุว่า ร.ฟ.ท. จ้างที่ปรึกษาวิเคราะห์และศึกษาความเหมาะสม ด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ สังคม การเงินและ แนวทางการลงทุน รวมถึงงานออกแบบเบื้องต้นโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ระยะที่ 2 ส่วนต่อขยายจังหวัดระยอง-จันทบุรี- ตราด เริ่มตั้งแต่เดือน ก.ย.2562 ถึง พ.ค.2563

          ทั้งนี้ เป็นการดำเนินการตามมติ คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กนศ.) เมื่อวันที่ 22 พ.ย.2560 ซึ่งเห็นชอบให้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำคัญในอีอีซี และเห็นชอบ ให้ปรับแผนรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ให้เร็วขึ้น รวมทั้งให้ศึกษาเส้นทางและออกแบบ รถไฟความเร็วสูงระยะที่ 2 จากสนามบินอู่ตะเภา-ระยอง-จันทบุรีและตราดโดยเร็ว

          โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระยะที่ 2 ส่วนต่อขยายระยอง- จันทบุรี-ตราด เป็นโครงสร้างพื้นฐานรองรับ อีอีซี รองรับระเบียงผลไม้ภาคตะวันออก ส่งเสริมการท่องเที่ยว เชื่อมนิคมอุตสาหกรรม เชื่อมท่าเรือและสนามบินภาคตะวันออก

          รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพของการโดยสารทางรถไฟ ลดต้นทุนและเวลาเดินทาง ปลอดภัย ในการเดินทาง ประหยัดพลังงานเชื้อเพลิงที่ใช้ ในภาคการขนส่งของประเทศ ลดปัญหามลพิษ ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม และจูงใจให้ประชาชนหันมา ใช้บริการระบบขนส่งทางรางให้มากขึ้น

          ร.ฟ.ท.มีหนังสือลงวันที่ 24 ก.ย.2562 แจ้งให้ ที่ปรึกษาเริ่มปฏิบัติงานในวันที่ 1 ต.ค.ที่ผ่านมา มีเวลาดำเนินงาน 240 วัน และมีขอบเขตของงาน ดังนี้ 1.วิเคราะห์และประเมินสภาพความต้องการการขนส่งในปัจจุบันและอนาคต

          2.ทบทวนผลการศึกษาและการดำเนินงาน ของโครงการที่จำเป็นและเกี่ยวข้อง ได้แก่ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โครงการก่อสร้างทางคู่สายชุมทางศรีราชาระยอง โครงการก่อสร้างทางคู่สายมาบตาพุดระยอง-จันทบุรี-ตราด-คลองใหญ่ และศึกษา โครงการอื่นที่อาจมีผลกระทบต่อโครงการนี้ ของ ร.ฟ.ท. กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท  การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.)

          ทั้งนี้ แผนงานดังกล่าวจะสอดคล้องแผน พัฒนาอีอีซี แผนการจัดตั้งระเบียงผลไม้ ภาคตะวันออก แผนส่งเสริมการท่องเที่ยว แผนการพัฒนาระบบการจัดการสินค้าและบริการ แผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนาภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

          3.สำรวจและรวบรวมข้อมูลทางด้านการขนส่ง ปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ศึกษา โดยอย่างน้อยประกอบด้วย ข้อมูลทางด้านกายภาพและด้านปฏิบัติการที่เป็นอุปสรรคต่อจำนวนขนาดและการเดินรถในปัจจุบัน ความต้องการการขนส่ง เพื่อวิเคราะห์ต้นทาง ปลายทาง รวมทั้งพฤติกรรมการเดินทาง เส้นทางการขนส่งและเชื่อมต่อ

          4.ศึกษาวิเคราะห์ปริมาณความต้องการด้านการขนส่ง รวมทั้งศึกษาวิเคราะห์สภาพ การเดินทาง สภาพการจราจร เส้นทาง ยานพาหนะ ลักษณะและรูปแบบที่ใช้ในการขนส่ง

          5.ศึกษาเปรียบเทียบข้อมูลระบบการคมนาคมขนส่งอื่นที่เกิดขึ้นในช่วงเดียวกัน เช่น ศึกษาผลกระทบของโครงการต่อการ เดินทางทางอากาศโดยใช้สนามบินอู่ตะเภา สนามบินตราด รวมถึงผลกระทบของโครงการต่อปริมาณการจราจรที่ใช้มอเตอร์เวย์และการพัฒนาระบบรถไฟทางคู่

          6.ต้องศึกษาแนวเส้นทางที่เหมาะสม ศึกษา ตำแหน่งที่ตั้งสถานีการเชื่อมต่อกับระบบขนส่ง ที่มีอยู่และการเดินทางรูปแบบอื่น ขั้นตอน การดำเนินโครงการ ความเหมาะสมทางด้าน เศรษฐกิจ การเงิน ข้อเสนอแนะแนวทางการลงทุน และการแบ่งระยะการพัฒนาเพื่อความเหมาะสม

          ร.ฟ.ท.จะจัดรับฟังความเห็นสนทนากลุ่มย่อย 12 ครั้ง ในพื้นที่ 12 อำเภอ ของ จ.ระยอง จันทบุรี ตราด เริ่มครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 ธ.ค.ที่ผ่านมา ที่ อ.เมืองตราด และจะสิ้นสุดในวันที่ 18 ธ.ค.นี้ ที่ เทศบาลเมืองบ้านฉาง อ.บ้านฉาง จ.ระยอง

          "โครงการนี้จะถูก เร่งรัดแค่ไหนขึ้นกับนโยบายรัฐบาล"
 
ข่าวพัฒนาสาธารณูปโภค อื่นๆ