ธุรกิจอสังหาฯอ่วมปิดแคมป์คนงานทำโครงการสะดุด
Loading

ธุรกิจอสังหาฯอ่วมปิดแคมป์คนงานทำโครงการสะดุด

วันที่ : 29 มิถุนายน 2564
ปิดแคมป์คนงานสกัดโควิด กระทบหนักอสังหาฯ หวั่นคนซื้อไม่โอน
          นายพรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย เปิดเผยถึงมาตรการประกาศล็อกดาวน์แคมป์คนงานก่อสร้าง ระยะเวลา 30 วัน เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ของโควิด-19 นั้น มีผลกระทบอย่างหนักต่อธุรกิจอสังหาฯ เพราะการก่อสร้างเดินต่อไม่ได้ กระแสเงินสดหรือแคสโฟลว์ จะติดหมดเลย ผู้รับเหมาที่ทำในแคมป์ มีหลากหลาย ไม่ใช่แค่ อิฐ หิน ปูน ทราย แต่มีธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง บางแห่งอยู่ระหว่างการเตรียมพร้อมรอโอนที่อยู่อาศัยให้กับลูกค้า แต่แทนที่โครงการจะโอนฯได้ก็ต้องมีปัญหาก็อาจจะคว่ำได้

          แคสโฟลว์ จะเป็นเรื่องใหญ่ หากผู้ประกอบการโอนไม่ได้ เป้าโอนกรรมสิทธิ์ หลุดยิ่งในภาวะแบบนี้ ลูกค้าไม่อยากจะโอนอยู่แล้ว และอาจจะขอเรื่องคืนเงินดาวน์หรือเงินจองคืน ซึ่งผู้ประกอบการก็มี วิธีการบริหารเงินเหล่านี้ ที่ได้รับจากลูกค้าไปดำเนินการพัฒนาโครงการแล้ว ซึ่งหากเกิดอาการลูกค้าลังเลในการโอนแล้ว แล้วรายได้ที่ไหนจะเข้า ซึ่งปัจจุบันโครงการจะเก็บเงินดาวน์ลูกค้าประมาณ 10-20% อีก 80% ที่ผู้ประกอบการกู้มาจากสถาบัน การเงิน จะจ่ายหนี้ธนาคารอย่างไร ของใหม่ คือ โครงการใหม่ ไม่ต้องคุยเลย เจ้าหนี้ ไม่ให้กู้แน่นอน ต้องเข้าใจว่า อสังหาฯ ดินด้วย สินเชื่อจากสถาบันการเงิน

          สำหรับในแง่ประเด็นเรื่องความ เสียหายจากการปิดแคมป์คนงานนั้น ประเมินไม่ได้ เราไม่ทราบว่า จำนวนของคนงานที่ย้ายออกจากแคมป์ มีมากแค่ไหน และเดินทางไปไหน ซึ่งเรากังวลจะมีการยกระดับยอดติดเชื้อ และความเสียหาย และหากโชคร้าย ถ้ากระจายออกไปเป็นสายพันธุ์อินเดีย จะเกิดอะไรขึ้น และสิ่งที่ต้องรับมือหลังจบ 30 วันแล้ว เรื่องแรงงาน อาจจะกลายเป็นปัญหาเรื่องแรงงานขาดแคลนอีก

          แรงงานที่ไม่ถูกต้อง ถ้ากลับมา ถามว่าเราจะกล้ารับเข้าทำงานต่อหรือไม่ ก็ไม่รู้ไปติดเชื้อมาจากที่ไหน ต้องคัดกรองเพิ่มขึ้น รัฐบาลหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ต้องเข้าใจและยอมรับปัญหา เรื่องแรงงานเถื่อน ที่อยู่ในไซต์งานก่อสร้างเกือบทุกแคมป์ แต่ถ้าเราประเมินว่า แรงงานเถื่อนมีไม่กี่แห่ง ตรงนี้ ไม่ต้องไปประเมิน เพราะข้อมูล ก็ผิดแล้ว"

          สำหรับภาพรวมอสังหาริมทรัพย์ในปี 2564 ว่า ปีนี้คงไม่เห็นการเติบโต หรือ บวกเพิ่ม เนื่องจากต้นทุนในการก่อสร้าง เหล็กขึ้นราคา ทองแดงที่ปรับสูงขึ้น ทำให้สายไฟแพงขึ้น และอื่นๆ ก็มีผลกระทบต่อต้นทุนของผู้ประกอบการ หากบริษัท อสังหาฯไม่แม่นยำในการคำนวณต้นทุน ก็ลำบาก และหากจะบวกเพิ่มเข้าไปใน ราคาขาย ในภาวะตอนนี้ "ลดราคาเกือบตาย ยังขายไม่ได้เลย"

          ก่อนหน้านี้ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ คาดการณ์ภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัยในพื้นที่กรุงเทพฯปริมณฑลในปี 2564 ยังคงมีภาวะชะลอตัว ต่อเนื่องจากปี 2563 โดยมีปัจจัยสำคัญ มาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด-19 โดยจะส่งผลกระทบต่อตลาดรวมให้มีภาวะที่หดตัวต่อประมาณ 1-4% โดยตลาดจะเริ่มฟื้นตัวครึ่งหลัง แต่ยัง ไม่ดีขึ้นมาก และสถานการณ์จะดีขึ้นใน ปี 2565-2567
ข่าวโครงการอสังหาฯ ภาคเอกชน อื่นๆ