ทรัพย์สินจุฬาฯงัดที่ 300ไร่ ปรับ ย่านเก่า สู่สมาร์ทซิตี้
Loading

ทรัพย์สินจุฬาฯงัดที่ 300ไร่ ปรับ ย่านเก่า สู่สมาร์ทซิตี้

วันที่ : 18 กุมภาพันธ์ 2562
สำนักงานจัดการ ทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย(PMCU) เป็นอีกหน่วยงานที่ถือครองที่ดินทำเลทอง ในย่านปทุมวัน ใจกลางธุรกิจการค้า มากถึง 1,153 ไร่ พื้นที่ทิศเหนือจรดถนนพระราม 1 ทิศใต้ จรดถนนพระราม 4 ทิศตะวันออกจรดถนนอังรีดูนังต์ และทิศตะวันตก จรดถนนบรรทัดทอง ที่ล้วนเต็มไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งห้างค้าปลีกชั้นนำ อาคารสำนักงานเกรดเอ คอนโดมิเนียม ระดับไฮเอนด์ ทำให้ที่ดินดังกล่าวมี "มูลค่า" สูงขึ้นเรื่อยๆ
          สำนักงานจัดการ ทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย(PMCU) เป็นอีกหน่วยงานที่ถือครองที่ดินทำเลทอง ในย่านปทุมวัน ใจกลางธุรกิจการค้า มากถึง 1,153 ไร่ พื้นที่ทิศเหนือจรดถนนพระราม 1 ทิศใต้ จรดถนนพระราม 4 ทิศตะวันออกจรดถนนอังรีดูนังต์ และทิศตะวันตก จรดถนนบรรทัดทอง ที่ล้วนเต็มไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งห้างค้าปลีกชั้นนำ อาคารสำนักงานเกรดเอ คอนโดมิเนียม ระดับไฮเอนด์ ทำให้ที่ดินดังกล่าวมี "มูลค่า" สูงขึ้นเรื่อยๆ

          อย่างไรก็ตาม แม้สำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาฯ จะมีที่ดินจำนวนมาก แต่การแบ่งการใช้ประโยชน์ใช้สอย "มากกว่าครึ่ง"หรือราว 637 ไร่ ถูกใช้เป็น "สถานศึกษา" ที่เหลือจัดสรรเป็นพื้นที่ เชิงพาณิชย์ 385 ไร่ และพื้นที่ส่วนราชการในรูปแบบยืมและเช่าใช้ 131 ไร่ โดยปล่อยเช่า ให้เอกชนหลายรายสร้างรายได้ปีละประมาณ 5,000-6,000 ล้านบาท

          ขณะที่ย่านปทุมวันถูกจัดให้เป็น 1 ใน 10 "ย่านนวัตกรรม" สำนักงาน จัดการทรัพย์สินจุฬาฯ จึงมีแผนพัฒนา ที่ดินให้สอดคล้องกับนโยบายดังกล่าว ผ่านโครงการ "จุฬาฯสมาร์ทซิตี้"(CHULA Smart City)

          วิศณุ ทรัพย์สมพล  รองอธิการบดี ด้านการจัดการทรัพย์สิน และนวัตกรรม กำกับดูแลสำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยว่า แนวคิดในการพัฒนาจุฬาฯ สมาร์ทซิตี้ คือการสร้างเมืองอัจฉริยะต้นแบบยกระดับพื้นที่ให้เป็นย่านนวัตกรรมที่สร้างสรรค์คุณค่าแก่ชุมชนและสังคมโดยรอบ เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่แก่ผู้คนในสังคม

          ทั้งนี้ การจะเป็นสมาร์ทซิตี้ได้ จะต้องมีองค์ประกอบความชาญฉลาด หรือสมาร์ท 5 ด้าน ได้แก่ สมาร์ท โมบิลิตี้ หรือการสัญจรอัจฉริยะ โดยจะพัฒนาระบบการขนส่งในพื้นที่ให้มีความหลากหลายเพื่อ เชื่อมต่อการเดินทางของผู้คนในย่านให้ครบวงจร และสะดวกสบาย มากขึ้น รวมถึงจะนำเทคโนโลยีมาใช้ กับระบบการสัญจร เช่น อินเทอร์เน็ต (Internet of Things : IoT) ส่วนตัวอย่างความหลากหลายของการสัญจร เช่น โครงการแบ่งปัน จักรยาน หรือไบค์แชร์ริ่ง โดยไม่ต้องมีช่องจอด มีแอพพลิเคชั่นสำหรับปลดล็อคจักรยาน ทดลองใช้แล้ว 40 คัน เป็นต้น

          นอกจากนี้ ยังจะบริหารจัดการพลังงานอัจฉริยะ (สมาร์ท เอ็นเนอร์ยี) ผ่านระบบโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยีอัจฉริยะ เพื่อการบริการจัดการการผลิต การจัดเก็บ และการส่งจ่ายพลังงาน ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด กระบวนการผลิตไฟฟ้าจะเน้นไปที่การผลิตพลังงานหมุนเวียน เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม

          ชุมชนอัจฉริยะ หรือสมาร์ท คอมมูนิตี้ โดยสร้างเครือข่ายเชื่อมโยง กับฐานข้อมูล ตอบสนอง และสนับสนุนผู้อยู่อาศัยและผู้ใช้งานให้เกิดการสื่อสารและการมีส่วนร่วม กันผ่านช่องทางที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ มีแอพพลิเคชั่น PMCU ให้ผู้อยู่อาศัย และผู้ใช้งาน ทั้งนิสิต อาจารย์ บุคลากร ตลอดจนผู้ประกอบการร้านค้า ผู้เช่าอาศัย และผู้ที่เข้ามาใช้บริการในพื้นที่ เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ เสนอความคิดเห็น รายงานปัญหา ตลอดจนการแจ้งเตือนกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในพื้นที่

          ขณะเดียวกัน จะจัดการ สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (สมาร์ท เอ็นไวโรเมนต์) นำเทคโนโลยีมาใช้ตรวจสอบสภาพแวดล้อมไม่ว่า จะเป็นคุณภาพอากาศ อุณหภูมิ เสียง ตลอดจนสามารถพยากรณ์อากาศเบื้องต้น เพื่อแจ้งเตือนความเสี่ยงต่างๆ หากอยู่ในสภาวะที่อันตรายต่อคนในชุมชน จะได้แก้ปัญหาได้ทันท่วงที

          ส่วนการรักษาความปลอดภัยอัจฉริยะ (สมาร์ท ซีเคียวริตี้) ได้ ยกระดับการตรวจสอบและการรักษาความปลอดภัยทั้งด้านกายภาพซึ่งเป็นออฟไลน์ควบคู่กับระบบออนไลน์ รวมการควบคุมไว้ที่ศูนย์กลาง กรณีเกิดเหตุการณ์ไม่ปกติสามารถตรวจสอบและเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ เพื่อความปลอดภัยของทรัพย์สินและข้อมูลของผู้อยู่อาศัยและผู้เข้ามาใช้งานในพื้นที่

          อย่างไรก็ตาม พื้นที่สำคัญในโครงการจุฬาฯ สมาร์ทซิตี้ คือย่านสวนหลวง-สามย่าน เนื้อที่เกือบ 300 ไร่ การยกระดับเป็นเมืองอัจฉริยะ ยังพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ เช่น โครงการ บล็อก 28 อาคารสำนักงาน 3 ชั้น จำนวน 5 อาคาร มูลค่าการลงทุนราว 200 ล้านบาท เพื่อรองรับลูกค้า กลุ่มครีเอทีฟสตาร์ทอัพ และเทคโนโลยีสตาร์ทอัพ มาเช่า หากแผนทั้งหมดแล้วเสร็จคาดว่าจะช่วยพลิกภาพย่านการค้า เก่าแก่กว่า 40 ปีให้มีความน่าอยู่มากขึ้น

          นอกจากนี้ ในย่านปทุมวันยังเป็นพื้นที่ใจกลางเมืองติดศูนย์กลางธุรกิจ และพื้นที่ธุรกิจสร้างสรรค์ ถือเป็นย่านที่มีศักยภาพในการพัฒนานวัตกรรมสูงสุดไทย นำไปสู่วิสัยทัศน์การพัฒนาพื้นที่ให้เป็นศูนย์กลางการพัฒนานวัตกรรม (Central Innovation District) ที่เชื่อมโยงกับบริบทพื้นที่เดิม โดยสนับสนุนให้เกิดธุรกิจของ ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ทั้งในปัจจุบัน และอนาคต รวมถึงสนับสนุนผู้ประกอบการ และผู้ผลิตผลงานเชิงนวัตกรรมสร้างสรรค์

          "ปารีสา จาตนิลพันธุ์"ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายธุรกิจค้าปลีกบริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด เจ้าของและผู้บริหารศูนย์การค้าระดับโลกไทย บอกว่า สยามพิวรรธน์ มีประสบการณ์ยาวนาน 60 ปี ใน การดำเนินธุรกิจด้วยความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมล้ำสมัย ภายใต้แนวคิด "คิดต่าง สร้างคุณค่า" มุ่งยกระดับขีดความสามารถ และเผยแพร่ผลงานของนักออกแบบไทยให้เป็นที่รู้จักในระดับสากล จากวิสัยทัศน์ดังกล่าวจึง เปิดพื้นที่ให้ผู้คนได้แสดงศักยภาพและความคิดเห็น ค้นหาความเป็นตัวตน และสร้างเครือข่ายที่ แข็งแรงเพื่อให้เกิดการสร้างสรรค์ สิ่งใหม่ๆ ภายใต้การผนึกกำลัง ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ และ เอกชน นำองค์ความรู้ในด้านต่างๆ และความคิดสร้างสรรค์มาต่อยอดสู่การพัฒนาชีวิต และประเทศไทย

          ในความเป็นย่านนวัตกรรมปทุมวัน สยามพิวรรธน์ได้วางแนวทางขับเคลื่อนผ่านความร่วมมือ หลากหลายองค์กรภาครัฐ และเอกชน ตั้งแต่กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกันเมื่อปี 2558 ในการผลักดันผลงานของนักออกแบบไทยรุ่นใหม่ให้ ก้าวไกลสู่ตลาดโลก ผ่านการสนับสนุนด้านสถานที่เพื่อจัดกิจกรรมเผยแพร่ รวมถึงผลักดันด้านการตลาดเพื่อให้ผลงานของนักออกแบบมีช่องทางจำหน่ายเป็นต้น

          ความได้เปรียบของกลุ่มวันสยาม ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ใจกลางเมืองเป็นช่องทางขายที่สำคัญในการสร้างการรับรู้ต่อแบรนด์และเข้าถึงลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยบริษัทได้สนับสนุนพื้นที่จัดแสดงผลงานนิทรรศการในพื้นที่ของศูนย์การค้าในเครือสยามพิวรรธน์
 
ข่าวโครงการอสังหาฯ ภาคเอกชน อื่นๆ