เลี่ยงผลกระทบ แอลทีวี ดึงสินเชื่อใหม่แผ่ว แบงก์รุก รีไฟแนนซ์ บ้าน
Loading

เลี่ยงผลกระทบ แอลทีวี ดึงสินเชื่อใหม่แผ่ว แบงก์รุก รีไฟแนนซ์ บ้าน

วันที่ : 29 เมษายน 2562
"แบงก์ชาติ" เกาะติดมาตรการ "แอลทีวี" หลังเริ่มใช้มาแล้ว1 เดือน พบมีลูกค้าบางส่วนทิ้งดาวน์ ย้ำคาดการณ์ไว้อยู่แล้ว เหตุมาตรการนี้ช่วยสกัดดีมานด์เทียม ด้าน "นายแบงก์" ยอมรับสินเชื่อเม.ย.เริ่มแผ่ว หลังลูกค้าเร่งโอนในช่วงก่อนหน้า เตรียมปรับกลยุทธ์เจาะตลาดรีไฟแนนซ์แทน ภายหลังมาตรการการให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน (LTV) เริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 เม.ย.ที่ผ่านมา พบว่า ยอดการปล่อยสินเชื่อใหม่ ที่อยู่อาศัยชะลอตัวลงชัดเจน ขณะเดียวกันยังพบว่าเริ่มมีลูกค้าที่ซื้ออสังหาริมทรัพย์ บางส่วนที่ทิ้งดาวน์โดยคาดว่าเป็นกลุ่มที่ซื้อเพื่อการลงทุนหรือเก็งกำไร
          ธปท.พบเริ่มมีทิ้งดาวน์ ย้ำเป็นไป ตามคาดจากดีมานด์เทียม

          "แบงก์ชาติ" เกาะติดมาตรการ "แอลทีวี" หลังเริ่มใช้มาแล้ว1 เดือน พบมีลูกค้าบางส่วนทิ้งดาวน์ ย้ำคาดการณ์ไว้อยู่แล้ว เหตุมาตรการนี้ช่วยสกัดดีมานด์เทียม ด้าน "นายแบงก์" ยอมรับสินเชื่อเม.ย.เริ่มแผ่ว หลังลูกค้าเร่งโอนในช่วงก่อนหน้า เตรียมปรับกลยุทธ์เจาะตลาดรีไฟแนนซ์แทน ภายหลังมาตรการการให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน (LTV) เริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 เม.ย.ที่ผ่านมา พบว่า ยอดการปล่อยสินเชื่อใหม่ ที่อยู่อาศัยชะลอตัวลงชัดเจน ขณะเดียวกันยังพบว่าเริ่มมีลูกค้าที่ซื้ออสังหาริมทรัพย์ บางส่วนที่ทิ้งดาวน์โดยคาดว่าเป็นกลุ่มที่ซื้อเพื่อการลงทุนหรือเก็งกำไร

          นายดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายเศรษฐกิจมหาภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวว่า เริ่มเห็นลูกค้าบางส่วนที่ทิ้งดาวน์มากขึ้น ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากมาตรการ LTV ของ ธปท. แต่ทั้งนี้ต้องถือว่าเป็นไปตามที่ ธปท. ได้คาดการณ์ไว้อยู่แล้ว เนื่องจากมาตรการ LTV มีวัตถุประสงค์ เพื่อขจัดดีมานด์เทียม อย่างไรก็ตามภายหลังการใช้มาตรการดังกล่าว ยังมีประเด็นที่ต้องติดตามใกล้ชิดว่า มาตรการเหล่านี้จะส่งผลกระทบมากน้อยเพียงใดโดยเชื่อว่าช่วง 3 เดือนแรก ที่มาตรการมีผลบังคับใช้ ยังมีผลของการบิดเบือน ในตลาดอสังหาริมทรัพย์พอสมควร เพราะก่อนมาตรการจะเริ่มใช้ จะเกิดการเร่งโอน กันมากดังนั้นก็ต้องติดตามดีมานด์และ ผลกระทบในระยะถัดไป เพื่อประเมินภาพรวม ของมาตรการดังกล่าวอีกครั้งในระยะข้างหน้า

          นายวีรวัฒน์ ปัณฑวังกูร รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส สายงานบริหารกลยุทธ์และวิเคราะห์ข้อมูล Strategy and Analytics Division (STA) ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ภายหลังมาตรการ LTV มีผลบังคับใช้ ก็เริ่ม เห็นดีมานด์ในภาคอสังหาริมทรัพย์ชะลอลง ส่วนหนึ่งอาจเพราะก่อนหน้านี้มีการเร่งการโอนกันค่อนข้างมาก จึงคาดว่าช่วงไตรมาส 2 ยอดการปล่อยสินเชื่อเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ น่าจะเติบโตชะลอลง เมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมา

          ส่วนผลของมาตรการ LTV หลักๆแล้ว คงมีผลต่อผู้ซื้อบ้านใหม่ ดังนั้นธนาคารเตรียมปรับกลยุทธ์ โดยหันไปเร่งการเติบโตในด้านอื่นๆ เช่น การเติบโตจากสินเชื่อรีไฟแนนซ์มากขึ้น เพื่อหนุนให้ยอดการเติบโตของ สินเชื่อบ้านปีนี้ ยังเติบโตตามเป้าหมาย ที่เกินระดับ 10% 
          นายวีรวัฒน์ กล่าวว่า จากนี้ไปน่าจะ เห็นการแข่งขันในธุรกิจรีไฟแนนซ์ค่อนข้างร้อนแรงมากขึ้น ในส่วนของธนาคารกสิกรไทย ก็เตรียมออกแคมเปญใหม่ๆ เพื่อมากระตุ้นตลาดรีไฟแนนซ์

          "ดีมานด์เริ่มชะลอตัว ตั้งแต่เม.ย.เป็นต้นมา ซึ่งเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้อยู่แล้ว เพราะโดยปกติก่อนที่มาตรการอะไรจะมีผลบังคับใช้ ก็จะมีการเร่งก่อนหน้านั้น ดังนั้นก็คาดว่าไตรมาส 2 ยอดสินเชื่อ หรือดีมานด์การขอสินเชื่อก็น่าจะน้อยลง จากไตรมาสแรก ที่สินเชื่อบ้านเติบโตราว 4% ซึ่งถือว่าเติบโตค่อนข้างมาก หากเทียบกับสินเชื่อคงค้างสิ้นปีก่อน และปีนี้เราก็ยังคาดว่า สินเชื่อบ้าน น่าจะทำได้ตามเป้าหมาย ที่คาดพอร์ตคงค้างอยู่ที่ 2.8 แสนล้านบาท เราก็ยังไม่ปรับเป้า แต่เราก็คงต้องไปรุกตัวรีไฟแนนซ์มากขึ้น ชดเชยดีมานด์ บ้านใหม่ที่ลดลง"

          ด้านนายณัฐพล ลือพร้อมชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานสินเชื่อที่อยู่อาศัย ธนาคาร กรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า ภาพรวมสินเชื่อบ้าน ไตรมาส2 คงชะลอตัว จากการเร่งโอน ก่อนที่มาตรการจะมีผลบังคับใช้ ดังนั้น ต้องติดตามดีมานด์ในระยะถัดไป ว่า ผลกระทบกระทบมากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะยอดการทิ้งดาวน์ ที่ขณะนี้ยังไม่ชัดเจน เพราะยังมีเอฟเฟคท์จากมาตรการกำกับสินเชื่ออยู่ ดังนั้นต้องใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 1ไตรมาส หรือราวไตรมาส 3 ถึงจะเห็นภาพดีมานด์ หรือการโอนที่ชัดเจน

          อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าที่มีผลต่อ ความเชื่อมั่นของผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ รอบนี้ ส่วนหนึ่งมาจากการรอความชัดเจนจากมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาฯ ของภาครัฐด้วยว่าจะมีหรือไม่ หลังมีกระแสข่าวว่าก่อนหน้า จะมีการมารตการลดค่าธรรมเนียมการโอน การจดจำนอง อสังหาฯต่างๆทำให้ผู้ซื้อตัดสินใจชะลอการซื้อ และการโอนในระยะนี้ออกไปด้วย "ความกังวลจากภาวะเศรษฐกิจมีสูง จากความไม่แน่นอนต่างๆ และคนบางส่วน ก็รอดูมาตรการของภาครัฐรอบใหม่ ที่มีการพูดถึงก่อนหน้านี้ว่า จะมีมาตรการลดค่าธรรมเนียม ค่าจดจำนองต่างๆ ดังนั้นผู้โอนใหม่ ที่จะโอนในขณะนี้ ก็ชะลอออกไป ซึ่งเชื่อว่าอันนี้มีผลมากกว่ามาตรการของธปท.ดังนั้นสิ่งที่ทำให้คือรอความชัดเจนต่อไป"นายณัฐพลกล่าว

          นางศศิธร พงศธร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) หรือ LHBANK กล่าวว่า ทิศทางสินเชื่อบ้าน ของธนาคารในปีนี้ ยังคงประคองตัวไม่ให้ ยอดสินเชื่อบ้านลดจากปีก่อนที่มียอด สินเชื่อบ้านคงค้างอยู่ที่ประมาณ 2 หมื่นล้านบาท เติบโต10% ขณะที่สินเชื่อภาพรวม เติบโต 6-8% โดยหันมาเน้นการแข่งขันตลาดสินเชื่อรีไฟแนนซ์ เลี่ยงการปล่อย สินเชื่อบ้านใหม่