สถานการณ์ที่อยู่อาศัยใน EEC ไตรมาส 2 ปี 2566
Loading

สถานการณ์ที่อยู่อาศัยใน EEC ไตรมาส 2 ปี 2566

วันที่ : 4 ตุลาคม 2566
พัฒนา อีอีซี เมืองใหม่อัจฉริยะ (Smart City) Better Living, Splendid Lifestyle
วางผังเมือง เมือง/ ชุมชนในพื้นที่ อีอีซี โดยร่วมกับกรมโยธาธิการและผังเมือง (ยผ. จัดทำแผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดิน และแผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2562 (แผนผังการใช้ประโยชน์ในทีดิน อีอีซี) ให้ความสำคัญกับการพัฒนา ควบคู่กับการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แบ่งโซนการใช้ที่ดินอย่างเป็นสัดส่วน และอยู่ระหว่างจัดทำผังเมืองรวมระดับอำเภอให้มีความสอดคล้องกับแผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดิน อีอีซี ให้ครบทั้ง 30 อำเภอ คาดว่าจะเริ่มประกาศใช้ใน ปี พ.ศ. 2565 - 2567

จากรายงานเศรษฐกิจของประเทศไทยของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2 ปี 2566 มีขยายตัวของ GDP ร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนสำหรับสถานการณ์ในช่วงครึ่งแรกปี 2566  มีปัจจัยสำคัญมาจากการขยายตัวของภาคบริการ โดยเฉพาะในสาขาที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลมีมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศผ่านโครงการต่างๆ และรัฐบาลยังคงมีมารตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนเหลือร้อยละ 1 และค่าจดจำนองเหลือร้อยละ 0.01 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 3 มกราคม – 31 ธันวาคม 2566 เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยและเพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยเพื่ออยู่อาศัยจริง ประกอบกับในช่วงปลายปี 2565 มีการเร่งซื้อเร่งขายก่อนที่จะหมดมาตรการผ่อนปรน LTV ทำให้เกิดโมเมนตัมส่งผลให้อุปสงค์การโอนกรรมสิทธิ์ในพื้นที่ 3 จังหวัด EEC ในครึ่งแรก ปี 2566 มีมีจำนวนหน่วยและมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์สูงถึง 24,717 หน่วย มูลค่า 62,901 ล้านบาท โดยมีการขยายตัวทั้งจำนวนหน่วยและมูลค่า ร้อยละ 4.3 และ 14.8 เมื่อเทียบกับปีก่อน ตามลำดับ และพบว่า จังหวัดชลบุรีเป็นจังหวัดที่มีจำนวนหน่วยและมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์สูงสุดใน EEC ถึง 16,622 หน่วย มูลค่า 44,554 ล้านบาท ซึ่งประมาณร้อยละ 58.9 เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ของบ้านแนวราบ โดยพื้นที่ที่มีการโอนกรรมสิทธิ์มากจะอยู่ในอำเภอบางละมุง ศรีราชา และเมืองชลบุรี ตามลำดับ จังหวัดที่รองลงมาคือ จังหวัดระยอง มีจำนวนหน่วยและมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ 5,815 หน่วย มูลค่า 13,089 ล้านบาท ซึ่งประมาณร้อยละ 90.9 เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ของบ้านแนวราบ โดยพื้นที่ที่มีการโอนกรรมสิทธิ์มากจะอยู่ในอำเภอเมืองระยอง ปลวกแดง และนิคมพัฒนา สำหรับจังหวัดฉะเชิงเทราจะมีขนาดตลาดที่เล็กที่สุดในพื้นที่ EEC มีหน่วยและมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ 2,280 หน่วย มูลค่า 5,258 ล้านบาท ซึ่งมากกว่าร้อยละ 97.2 เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ของบ้านแนวราบโดยพื้นที่ที่มีการโอนกรรมสิทธิ์มากจะอยู่ในพื้นที่อำเภอบางปะกง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา และอำเภอแปลงยาว

สำหรับอุปทานด้านการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินในจังหวัด EEC ในช่วงครึ่งแรกปี 2566 ลดลงร้อยละ -5.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า อาจจะเป็นผลมาจากการที่ผู้ประกอบการมีการปรับตัวตามสภาพทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้า ภายใต้ปัจจัยลบหลายด้าน ทั้ง (1) การยกเลิกการผ่อนคลายมาตรการ LTV ของ ธปท. ที่กระทบต่อคนที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยเป็นบ้านสัญญาที่ 2 และ 3 (2) ภาวะหนี้ครัวเรือนที่ยังคงมีอัตราส่วนที่ยังสูงถึงเกือบร้อยละ 90 ของ GDP (3) ภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น ที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายมีโอกาสปรับสูงขึ้นถึงร้อยละ 1.0 ซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่จะทำให้ผู้ที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยมีภาระค่าใช้จ่ายมากขึ้น และความสามารถในการผ่อนชำระลดลง ผู้ประกอบการจึงหันมาพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยขนาดเล็กลงที่ไม่เข้าเกณฑ์ต้องยื่นขอใบอนุญาตจัดสรรจำนวนมากขึ้นในช่วงที่เกิด COVID-19 และความต้องการของประชาชนในการสร้างบ้านบนที่ดินตัวเองสูงขึ้น ก็เป็นอีกสาเหตุสำคัญที่ทำให้จำนวนหน่วยที่ได้รับในอนุญาตจัดสรรลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

ส่วนอุปทานการออกใบอนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัยใน 3 จังหวัดพื้นที่ EEC ในช่วงครึ่งแรกปี 2566 ลดลงร้อยละ -0.3 แต่หากพิจารณาเฉพาะไตรมาส 2 ปี 2566  พบว่าประเภทแนวราบ ลดลงร้อยละ -19.0 แต่ในส่วนของอาคารชุดเพิ่มขึ้นร้อยละ 300.3 เมื่อเทียบช่วงเวลาเดียวกันกับปีก่อนหน้า...
สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่
E-book สถานการณ์ที่อยู่อาศัยในจังหวัด EEC อื่นๆ