มาตรการ LTV ใหม่ดีอย่างไร ใครได้ประโยชน์
สถานการณ์โควิด -19 ที่แพร่ระบาดต่อเนื่องมายาวนานหลายปี ส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจอย่างรุนแรง รวมถึงภาคอสังหาฯ เองก็ซบเซาลงไปเป็นอันมาก ซึ่งเพื่อเป็นการกระตุ้นให้เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวดีขึ้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ตัดสินใจประกาศผ่อนคลายมาตรการ LTV หรือ หลักเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่ออันเกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเป็นการชั่วคราว โดยข้อดีของการผ่อนคลายมาตรการ LTV ชั่วคราว ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ต้องการซื้อที่อยู่อาศัย อาทิ
- ที่อยู่อาศัยมูลค่าต่ำกว่า 10 ล้านบาท หลังแรก กู้ได้เต็มมูลค่าหลักประกัน 100%
- ที่อยู่อาศัยมูลค่าต่ำกว่า 10 ล้านบาท หลังที่ 2 กู้ได้เต็มมูลค่าหลักประกัน 100% เดิมสูงสุด 90%
- ที่อยู่อาศัยมูลค่าต่ำกว่า 10 ล้านบาท หลังที่ 3 ขึ้นไป กู้ได้เต็มมูลค่าหลักประกัน 100% เดิมสูงสุด 70%
- ที่อยู่อาศัยมูลค่ามากกว่า 10 ล้านบาท หลังแรก กู้ได้เต็มมูลค่าหลักประกัน 100% เดิมสูงสุด 90%
- ที่อยู่อาศัยมูลค่ามากกว่า 10 ล้านบาท หลังที่ 2 กู้ได้เต็มมูลค่าหลักประกัน 100% เดิมสูงสุด 90%
- ที่อยู่อาศัยมูลค่ามากกว่า 10 ล้านบาท หลังที่ 3 ขึ้นไป กู้ได้เต็มมูลค่าหลักประกัน 100% เดิมสูงสุด 70%
- ที่อยู่อาศัยมูลค่าต่ำกว่า 10 ล้านบาท หลังแรก กู้สินเชื่อ Top Up สำหรับใช้ในการตกแต่งซ่อมแซม ฯลฯ ได้อีก 10% ของมูลค่าหลักประกัน
- ที่อยู่อาศัยมูลค่ามากกว่า 10 ล้านบาทหลังแรก วางเงินดาวน์ขั้นต่ำ 10% เดิม 20%
- ที่อยู่อาศัยมูลค่าต่ำกว่า 10 ล้านบาทหลังที่ 2 วางดาวน์ขั้นต่ำ 10% หากผ่อนหลังแรกมาแล้ว 2 ปี เดิมต้องผ่อนหลังแรกมาแล้วอย่างน้อย 3 ปี
- ในกรณีของการกู้ร่วม หากผู้กู้ร่วมไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัย ให้ถือว่ายังไม่ได้เป็นผู้กู้ในครั้งนั้น ซึ่งแต่เดิมจะถือว่าเป็นการกู้ของทุกคน
จากข้อดีของมาตรการผ่อนคลาย LTV ชั่วคราวดังกล่าว จะส่งผลประโยชน์โดยตรงต่อผู้ที่ต้องการที่อยู่อาศัยกลุ่มต่าง ๆ ได้แก่
- กลุ่มผู้ที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยหลังที่ 2 เพราะกู้ได้วงเงินมากขึ้น และวางดาวน์น้อยลง ทั้งที่อยู่อาศัยมูลค่าต่ำกว่าและมากกว่า 10 ล้านบาท
- กลุ่มผู้กู้ร่วมที่เคยกู้ร่วมไปแล้ว แต่ไม่ได้มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยนั้น ก็จะไม่นับว่าเคยกู้ ทำให้เมื่อต้องการซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองก็จะได้สิทธิ์ตามเงื่อนไขที่อยู่อาศัยหลังแรก
การผ่อนคลายมาตรการ LTV ชั่วคราวนี้ จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2564 ไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 ซึ่งทางธนาคารแห่งประเทศไทยคาดว่า จะช่วยดึงเม็ดเงินกลับเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจผ่านภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ได้ ซึ่งสำหรับผู้ที่มีความพร้อมทางด้านการเงิน และมีความต้องการที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับความต้องการที่อยู่อาศัยหลังที่ 2 เป็นต้นไป เพื่อตอบโจทย์วิถีชีวิตการปรับตัวใหม่ภายใต้สถานการณ์โควิด -19 ก็จะถือว่าเป็นโอกาสอันดีที่จะได้บรรลุเป้าหมายที่หวังไว้ได้โดยใช้งบประมาณที่น้อยลงกว่าเดิม
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
สมัครเป็นสมาชิกเว็บ REIC
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์
รู้ข้อมูลอสังหาฯ ก่อนใคร
สมัครได้ฟรี ไม่มีเงื่อนไข
เพื่อให้การซื้อ-ลงทุนที่อยู่อาศัย
เป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องแม่นยำที่สุด
.
.
สมัครเลยที่
https://www.reic.or.th/Member/RegisterGeneral
.
.
------------------------
ติดตามศูนย์ข้อมูลฯ เพิ่มเติมได้ที่
Website : www.reic.or.th
Twitter : www.twitter.com/REICFan
Youtube : www.youtube.com/user/REICPR
Line : @REICFan
#ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ #REIC