สนข.แก้จราจรติด ชงไอเดียนำ ค่ารถไฟฟ้า มาลดหย่อนภาษี
Loading

สนข.แก้จราจรติด ชงไอเดียนำ ค่ารถไฟฟ้า มาลดหย่อนภาษี

วันที่ : 25 มีนาคม 2562
นายสราวุธ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายแผลการขนส่ง และจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า ทาง สนข.มีแนวคิดแก้จราจรติดขัดด้วยการใช้มาตรการจูงใจให้คนหันมาใช้รถไฟฟ้ามากขึ้น โดยเตรียมเสนอให้รัฐบาลพิจารณา โดยกำหนดให้นำค่ารถไฟฟ้ามาลดหย่อนภาษีหรือหักภาษีได้ อย่างเช่น กรณีที่เป็นบริษัทเอกชนหากมีค่าเดินทางรายเดือนให้พนักงานนั้นสามารถนำค่ารถไฟฟ้าในส่วนดังกล่าวมาหักภาษีได้เช่นเดียวกับพนักงานทั่วไป หรือข้าราชการต้องมีสิทธิพิเศษค่ารถไฟฟ้า
          นายสราวุธ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายแผลการขนส่ง และจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า ทาง สนข.มีแนวคิดแก้จราจรติดขัดด้วยการใช้มาตรการจูงใจให้คนหันมาใช้รถไฟฟ้ามากขึ้น โดยเตรียมเสนอให้รัฐบาลพิจารณา โดยกำหนดให้นำค่ารถไฟฟ้ามาลดหย่อนภาษีหรือหักภาษีได้ อย่างเช่น กรณีที่เป็นบริษัทเอกชนหากมีค่าเดินทางรายเดือนให้พนักงานนั้นสามารถนำค่ารถไฟฟ้าในส่วนดังกล่าวมาหักภาษีได้เช่นเดียวกับพนักงานทั่วไป หรือข้าราชการต้องมีสิทธิพิเศษค่ารถไฟฟ้า

          สำหรับโครงการรถไฟฟ้าถือเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญของการแก้ปัญหาจราจรในเมืองหลวง แต่ทว่ารูปแบบการขนส่ง ดังกล่าวมีราคาค่าบริการที่สูงมากเมื่อเทียบกับระบบขนส่งรถเมล์จนอาจเป็นภาระของประชาชน

          นอกจากนี้เชื่อว่าการควบคุมราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าเป็นสิ่งที่ทุกรัฐบาลคิดนำมาใช้ เพื่อที่จะส่งเสริมการเดินทางด้วยรถสาธารณะแต่ก็ต้องมีข้อแลกเปลี่ยน หรือสิทธิพิเศษมาเสนอเพื่อให้ประชาชนเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลหันมาใช้รถไฟฟ้า ซึ่งหากมีมาตรการส่งเสริม ดังกล่าวแล้วเชื่อว่าสัดส่วนผู้ใช้รถไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากปัจจุบันผู้ใช้บริการคิดเป็น 3-4% ของสัดส่วนทั้งหมด แต่หากโครงการรถไฟฟ้าระยะที่ 1 แล้วเสร็จจะเพิ่มผู้ใช้บริการเป็น 10% จากนั้นขยายสัดส่วนเป็น 15% รวมถึงเมื่อรถไฟฟ้า ระยะที่ 2 แล้วเสร็จ และในอนาคตจะมีพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบร่วม หรือ พ.ร.บ.ตั๋วร่วม พศ.... และมีเรื่องของกติกาการคิดค่าโดยสารร่วม (Common Fare) ของระบบตั๋วร่วมเพื่อลดภาระ ค่าใช้จ่ายเรื่องการเดินทางของประชาชน

          สำหรับแนวทางดังกล่าวถือว่าเป็นประโยชน์ แก่ทุกฝ่าย ทั้งลดภาระค่าใช้จ่ายประชาชน ส่วนรัฐบาลได้แก้ปัญหารถติด ลดจำนวนรถบนถนนและไม่เป็นภาระของภาคเอกชนอีกด้วย นอกจากนี้ในอนาคตควรคิดมาตรการส่งเสริมให้คนมาใช้โดยรัฐบาลควรสนับสนุนด้านการเงินอุดหนุน (Subsidy) เช่น การเปิดให้ทดลองใช้รถไฟฟ้าฟรีในเส้นทางที่เปิดให้บริการในช่วงแรก ตลอดจนการลดราคา 5-10 บาท เพื่อกระตุ้นยอดผู้ใช้

          ด้านแหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ปัจจุบันทางรัฐบาลได้ใช้งบประมาณ ไปกับการก่อสร้างและซ่อมแซมถนนปีละไม่น้อยกว่า 100,000 ล้านบาท แต่ยังไม่มีงบในการสนับสนุนระบบขนส่งรถไฟฟ้าเพื่อแก้ปัญหารถติดในกรุงเทพฯ ซึ่งถูกจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในลำดับต้นๆ เชื่อว่า รัฐบาลจะสามารถลดภาระงบประมาณ แผ่นดินในส่วนที่ไม่จำเป็นเพื่อมาสนับสนุนเรื่องนี้ได้

          ทั้งนี้ จากการศึกษาพบว่าค่าใช้จ่ายในการใช้ระบบขนส่งพบว่า ระบบรถไฟฟ้า มีอัตราค่าใช้จ่ายมากที่สุด คิดเป็นค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 2,500 บาทต่อเดือน รองลงมา คือรถตู้สาธารณะ มีค่าเฉลี่ยที่ 2,100 บาท ต่อเดือน ต่อมา คือเรือด่วนคลองแสนแสบ มีค่าเฉลี่ยที่ 1,700 บาทต่อเดือน ส่วนด้านรถเมล์ปรับอากาศอยู่ที่ 1,400 บาทต่อเดือน และรถเมล์ไม่ปรับอากาศ 1,200 บาทต่อเดือน รวมถึงอัตราค่าโดยสาร เรือด่วนเจ้าพระยาเฉลี่ยอยู่ที่ 1,200 บาทต่อเดือน
 
ข่าวพัฒนาสาธารณูปโภค อื่นๆ