แนะศูนย์ข้อมูลควรมีบทบาทมากกว่าแหล่งข้อมูลข่าวสาร
Loading

แนะศูนย์ข้อมูลควรมีบทบาทมากกว่าแหล่งข้อมูลข่าวสาร

วันที่ : 30 กันยายน 2562
แนะศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ควรมีบทบาทมากกว่าเป็นแหล่งข้อมูลข่าวสาร หากนำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงคาดการณ์จะมีประโยชน์ในปัจจุบัน เพราะโลกการเมืองเปลี่ยนแปลงไป ห่วงเศรษฐกิจไทย เพราะ 4 เครื่องยนต์หลักในการขับเคลื่อนประเทศดับหมด
          แนะศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ควรมีบทบาทมากกว่าเป็นแหล่งข้อมูลข่าวสาร หากนำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงคาดการณ์จะมีประโยชน์ในปัจจุบัน เพราะโลกการเมืองเปลี่ยนแปลงไป ห่วงเศรษฐกิจไทย เพราะ 4 เครื่องยนต์หลักในการขับเคลื่อนประเทศดับหมด

          นายนรินทร์ กัลยาณมิตร ประธานกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และประธานกรรมการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ กล่าวในงานสัมมนาวิชาการในวาระครบรอบ 15 ปีของการจัดตั้ง "ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์" ในเรื่อง "การพัฒนาเศรษฐกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ ท่ามกลางปัจจัยลบที่ท้าทาย" กล่าวว่า ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ ควรมีบทบาทมากกว่าเป็นแหล่งข้อมูลข่าวสาร เนื่องจากมีบิ๊กดาต้า หากสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาทำการวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ได้ จะเป็นประโยชน์ เนื่องจากในปัจจุบัน โลกการเงินเปลี่ยนแปลงไปมาก ซึ่งสุดท้ายแล้ว ก็จะมีผลต่อศูนย์ข้อมูลฯ อยู่ดี 15 ปี ศูนย์ข้อมูลฯ เป็นแค่ระดับผู้ให้บริการข้อมูล สิ่งที่อยากพัฒนา คือ เพิ่มข้อมูลการให้บริการให้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้ข้อมูลเหล่านี้ ไปใช้ประโยชน์ แม่นยำจริงๆ ซึ่งในระยะหลังมีเรื่อง LTV เรื่อง DSR ออกมาจากภาครัฐ เพื่อดูความมั่นคงของประเทศ เนื่องจากหนี้ครัวเรือนยังอยู่สูง ต้องการให้ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ สามารถชี้ได้ว่า มาตรการที่ออกมาดีหรือไม่ดี ควรทำหรือไม่ทำ มาตรการควรผ่อนปรนหรือไม่ และสามารถเตือนไปยังภาครัฐได้เลย หรือการให้คำแนะนำกับหน่วยงานอื่นๆ

          นายสุวัชชัย ใจข้อ ผู้อำนวยการสำนักสถิติเศรษฐกิจ ฝ่ายเศรษฐกิจมหาภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในเรื่อง นโยบายการเงินและการคลังกับการพัฒนาเศรษฐกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ ในภาวะวิกฤตสงครามการค้าโลก ว่า เป็นห่วงในเรื่องเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจาก 4 เครื่องยนต์หลักในการขับเคลื่อนประเทศดับลงหมด ทั้งเรื่องการส่งออก ภาคการท่องเที่ยว การบริโภคภายในประเทศ โดยเฉพาะเครื่องยนต์หลัก การลงทุนและการบริโภคภาครัฐ ขณะนี้ไม่เคลื่อนไหว โดยการพิจารณางบประมาณปี2563 ที่ล่าช้า ทำให้ไตรมาสแรกปีงบ2563 ต้องชะงักลง การเบิกจ่ายที่ช้าลง จะมีผลต่อเศรษฐกิจ ซึ่งคิดว่าอีกหลายปีที่เศรษฐกิจไทยจะเติบโตในตัวเลขสองหลัก ขณะที่เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัวไปถึงสิ้นปี 2563 อีกทั้งนักท่องเที่ยวน้อยลง ค่าเงินบาทและเศรษฐกิจของแต่ละประเทศชะลอตัวลง รายได้ภาคการเกษตรไม่ดี เจอทั้งภัยแล้ง และเหตุการณ์น้ำท่วม ส่วนแรงงานรับจ้างนอกภาคการเกษตร ก็แย่มานานแล้ว เพราะเจอเศรษฐกิจไม่ดี แรงงานยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ส่วนการลงทุนภาคเอกชน ไม่ได้เป็นความหวังต่อการกระตุ้นภาคเศรษฐกิจ มีการเติบโตเพียง 1-2% เท่านั้น ทำให้ธปท.ต้องเข้าไปดูดเงินดอลลาร์ออกจากระบบ ส่งผลเงินทุนสำรองระหว่างประเทศสุทธิเพิ่มขึ้น 5.5 %
 
ข่าวโครงการอสังหาฯ ภาคเอกชน อื่นๆ