อสังหาฯเฮ ครม-ลดภาษีโอน,จดจำนองแนะเร่งบังคับใช้หวั่นคนรอมาตรการทำตลาดชะงักงัน
Loading

อสังหาฯเฮ ครม-ลดภาษีโอน,จดจำนองแนะเร่งบังคับใช้หวั่นคนรอมาตรการทำตลาดชะงักงัน

วันที่ : 24 ตุลาคม 2562
อสังหาริมทรัพย์อสังหาฯ เฮ หลัง ครม.มีอนุมัติมาตรการกระตุ้น อสังหาฯ สำหรับบ้านราคาไม่เกิน 3 ล้านบาทลดภาระภาษีค่าโอน-จดจำนอง เหลือ 0.01% เพื่อที่อยู่อาศัย พร้อมไฟเขียว ธอส.ปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำ วงเงิน 50,000 ล้านบาท
          อสังหาริมทรัพย์อสังหาฯ เฮ หลัง ครม.มีอนุมัติมาตรการกระตุ้น อสังหาฯ สำหรับบ้านราคาไม่เกิน 3 ล้านบาทลดภาระภาษีค่าโอน-จดจำนอง เหลือ 0.01% เพื่อที่อยู่อาศัย พร้อมไฟเขียว ธอส.ปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำ วงเงิน 50,000 ล้านบาท ด้านนักวิชาการแนะเร่งบังคับใช้หวั่นตลาดหยุดชะงักเหตุผู้บริโภคชะลอซื้อรอรับประโยชน์มาตรการ ขณะที่เอกชนจี้ ธปท.เลื่อนใช้ LTV ปล่อยกู้ซื้อบ้านถึงเกิดประโยชน์สูงสุด

          ภายหลังจากที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวอย่างมากจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว บวกกับมาตรการ LTV เพื่อควบคุมการปล่อยสินเชื่อของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) การชะลอตัวของตลาดอสังหาฯเริ่มเห็นผลชัด มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนทำให้ภาคเอกชนต่างออกมา เรียกร้องให้รัฐบาลออกมาตรการมากระตุ้นตลาดก่อน ที่จะสายไปกว่านี้

          กระทั้งล่าสุด ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม ที่ผ่านมามีมติอนุมัติมาตรการลด ภาระภาษีเพื่อที่อยู่อาศัย โดยลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนการโอนจากเดิมร้อยละ 2 เหลือร้อยละ 0.01 ลดค่า จดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์จากเดิมร้อยละ 1 เหลือร้อยละ 0.01 เฉพาะการซื้อขายที่อยู่อาศัยที่ดิน พร้อมอาคารหรือห้องชุด ในราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท ต่อหน่วย และการจดทะเบียนการโอน และการจดจำนองอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยต้องดำเนินการใน คราวเดียวกัน

          โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและบรรเทา ภาระให้แก่ประชาชนที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองในระดับราคาที่ไม่สูงนักเหมาะสมกับศักยภาพของประชาชนแต่ละกลุ่ม โดยรัฐบาลจะสนับสนุนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนการโอนและค่าจดทะเบียนการจำนอง สำหรับที่อยู่อาศัยใหม่สร้างเสร็จพร้อมอยู่

          มาตรการลดภาระภาษีดังกล่าวจะเริ่มวันที่ประกาศกระทรวงหาดไทยมีผลบังคับใช้

          > วันที่ 24 ธันวาคม 2563  ซึ่งคาดว่าจะทำให้รัฐสูญเสียรายได้ประมาณ 2,652.20 ล้านบาท จากการปรับลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนการโอนและค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์

          นอกจากมาตรการด้านภาษีแล้วครม.ยังเห็นชอบมาตรการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารอาคาร สงเคราะห์ ภายใต้กรอบวงเงินรวม 50,000 ล้านบาท โดยธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) จะสนับสนุนสินเชื่อ ที่อยู่อาศัยในอัตราดอกเบี้ยเงินกู้พิเศษ และเงื่อนไข ผ่อนปรน ให้แก่ประชาชนที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองในราคาซื้อขายไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อหน่วย

          โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและบรรเทาภาระให้แก่ประชาชนที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองในระดับราคาที่ไม่สูงนักเหมาะสมกับศักยภาพของประชาชนแต่ละกลุ่ม โดย ธอส. จะสนับสนุนสินเชื่อที่อยู่อาศัยในอัตราดอกเบี้ยเงินกู้พิเศษ และเงื่อนไขผ่อนปรน กลุ่ม เป้าหมายคือประชาชนทั่วไปที่มีความต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองในราคาซื้อขายไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อหน่วย ระยะเวลาโครงการนับจากคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ

          > วันที่ 24 ธันวาคม 2563  ทั้งนี้ รัฐบาลชดเชยส่วนต่างดอกเบี้ยให้แก่ ธอส. เป็นจำนวนทั้งสิ้น 1,182.18 ล้านบาท โดยให้ ธอส. ทำความตกลงในการเบิกจ่ายงบประมาณดังกล่าวตามภาระที่เกิดขึ้นจริงกับสำนักงบประมาณต่อไป

          ธอส-รับลูกคลอดสินเชื่อ ดบ-ถูก  2-5%

          ด้าน นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) กล่าวว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาริมทรัพย์เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนได้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองในระดับราคาที่เหมาะสมกับความสามารถในการผ่อนชำระโดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อยและปานกลาง วัยทำงานหรือประชาชนที่กำลังเริ่มต้นสร้างครอบครัว และกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งจะ มีส่วนช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต สร้างความมั่นคงในสถาบันครอบครัว รวมถึงกระตุ้นเศรษฐกิจในภาคอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจเกี่ยวเนื่อง

          โดย ธอส.ได้จัดทำสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษสำหรับมาตรการดังกล่าว ภายใต้กรอบวงเงินรวม 50,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยผ่อนปรน ปีที่ 1-ปีที่ 3 คงที่ 2.50% ต่อปี ปีที่ 4-ปีที่ 5 คงที่ 4.625% ต่อปี ส่วนปีที่ 6 จนถึงตลอดอายุสัญญากู้เงิน กรณีสวัสดิการ  MRR-1.00% ต่อปี กรณีรายย่อย MRR-0.75% (ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ย MRR ธอส.เท่ากับ 6.625% ต่อปี) วัตถุประสงค์ให้กู้ เพื่อซื้อที่ดินพร้อมอาคารหรือห้องชุดจากผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ทั่วประเทศที่มีราคาซื้อขายไม่เกิน 3 ล้านบาท

          มาตรการสินเชื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารอาคาร สงเคราะห์ นับเป็นนโยบายที่รัฐบาลที่ต้องการสร้างโอกาสทำให้คนไทยมีบ้านเป็นจริง เพราะกำหนดอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรกเพียง 2.50% นับเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำที่สุดในตลาด และยังช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายด้านที่อยู่อาศัยในช่วง 3 ปีแรก เช่น กรณีกู้ 1 ล้านบาท ตลอดระยะเวลา 3 ปีแรก จะผ่อนชำระเริ่มต้นเพียง 3,300 บาทต่องวดเท่านั้น หากเทียบกับเงินงวดผ่อนชำระของอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อปกติในช่วง 3 ปีแรก วงเงินกู้ 1 ล้านบาท ผู้กู้จะสามารถประหยัดเงินงวดได้จำนวน 80,400 บาท หรือหากเทียบกับการผ่อนชำระอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อปกติในช่วง 5 ปีแรก ผู้กู้สามารถประหยัดเงินงวดได้ถึง 123,600 บาท นอกจากนี้ยังได้รับการลดค่าใช้จ่ายในการซื้อที่อยู่อาศัยตามมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีซึ่งให้ลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนการโอนกรรมสิทธิ์จาก 2 % เหลือ 0.01% และลดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนจำนองจาก 1% เหลือ 0.01% อีกด้วย

          ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อยื่นคำขอกู้และ ทำนิติกรรมได้ตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2562 ถึงวันที่ 24 ธันวาคม 2563 ติดต่อขอรับคำปรึกษากับเจ้าหน้าที่สินเชื่อหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ธนาคารอาคาร สงเคราะห์ ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ (Call Center) โทร 0-2645-9000 หรือ www.ghbank.co.th และ Facebook Fanpage ธนาคารอาคาร สงเคราะห์

          แนะเร่งบังคับใช้หวั่นผู้บริโภคชะลอซื้อทำตลาดชะงัก

          ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่รัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งถือว่าออกมาในจังหวะที่เหมาะสมและไม่สายเกินไปในการ กระตุ้นตลาด อย่างไรก็ตามมาตรการดังกล่าวจะเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อมีประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งจะมีผลมาต่อตลาดหากมีผลบังคับใช้เร็วก็จะช่วยฉุดตลาดให้ฟื้นตัวขึ้นมาได้เร็ว แต่หากมีผลบังคับใช้ล่าช้าจะทำให้ตลาดเกิดสุญญากาศหรือตลาดชะงักงันได้ เพราะเชื่อว่าผู้บริโภคที่จะซื้อบ้านในช่วงนี้จะชะลอการซื้อและการโอนเพื่อรอรับประโยชน์จากมาตรการ

          จากการรวบรวมข้อมูลพบว่ามีบ้านราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2562 ทั่วประเทศมีประมาณ 140,000 หน่วย หรือมีมูลค่ารวมกว่า 210,000 ล้านบาท (ราคาเฉลี่ยที่ 1.5 ล้านบาท/หน่วย) และคาดว่าจะมีบ้านสร้างเสร็จที่จะทยอยออกสู่ตลาดในปี 2563 อีกประมาณ 40,000 หน่วย ซึ่งจะทำให้มีบ้านราคาไม่เกิน 3 ล้านบาทที่จะได้รับประโยชน์จากมาตรการจนถึงปี 2563 ประมาณ 180,000 หน่วย

          "นับเป็นโอกาสดีสำหรับคนที่ซื้อบ้านต่ำกว่า 3 ล้านบาท รวมถึงผู้ประกอบการที่พัฒนาบ้านราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท เนื่องจากเป็นกลุ่มราคาที่มีสัดส่วนมากสุดในตลาดถึง 50% ซึ่งจะเกิดประโยชน์อย่างมาก แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงนอกจากบังคับใช้เร็วแล้ว ยังห่วงเรื่องการขอ สินเชื่อของประชาชนที่ซื้อบ้านในกลุ่มราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาทจะสามารถปล่อยให้กับกลุ่มนี้ได้มากน้อยเพียงใด ต้นทางเปิดแล้วจากมาตรการภาษีแต่ปลายทางที่จะรับมาตรการ สินเชื่อยังไม่เปิดรับก็จะลำบาก อย่างไรก็ตาม ธอส.ได้มีมาตรการสินเชื่อรองรับลูกค้ากลุ่มดังกล่าววงเงิน 50,000 ล้านบาท ซึ่งคิดว่าจะสามารถกระตุ้นอสังหาฯ ได้เป็นอย่างดี" ดร.วิชัยกล่าว

          อย่างไรก็ตาม มาตรการลดภาระภาษีผู้ซื้อที่อยู่อาศัยจะช่วยให้ผู้บริโภคละภาระภาษีจากการซื้อบ้านได้เป็นอย่างมาก เช่น ผู้ที่ซื้อบ้านราคา 3 ล้านบาท เดิมต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการโอน 60,000 บาท และจ่ายค่าจดทะเบียนการจำนอง 30,000 บาท หากใช้มาตรการจะเหลือจ่ายค่าธรรมเนียมการโอน 300 บาท และค่าจดทะเบียนการจำนอง 300 บาท เท่านั้น ส่วนบ้านราคา 2 ล้านบาท จะจ่ายอย่างละ 200 บาทและบ้านราคา 1 ล้านบาท จ่าย 100 บาท

          ดร.วิชัย กล่าวต่อว่า หากมาตรการภาษีมีผลบังคับใช้ทันภายในเดือนนี้จะช่วยให้ตลาดอสังหาฯในปีนี้ฟื้นตัวขึ้นทำให้ติดลบน้อยลงมาก แต่ยังไม่ชัดเจนได้มากนักซึ่งต้องผลตอบรับจากมาตรการก่อน แต่เชื่อว่าช่วยได้ดีมาก ส่วนในปี 2563 ตลาดอสังหาฯจะกลับมาเป็นบวกได้

          นอกจากนี้เชื่อว่าจะมีผู้ประกอบการที่ขายคอนโดมิเนียมราคา 3 ล้านบาทต้นๆลดราคาลงมาต่ำกว่า 3 ล้านบาท และในบางพื้นที่ ในบางทำเลที่มีซัปพลายคงเหลือมากๆ อาจลดราคาลงมาเพื่อรับประโยชน์จากมาตรการด้วยเช่นกัน ขณะที่คอนโดฯใหม่เชื่อว่าจะสร้างเสร็จไม่ทันมาตรการ เพราะใช้เวลาก่อสร้างนานกว่า 12 เดือน ส่วนโครงการแนวราบผู้ประกอบการสามารถเร่งสร้างทันเพราะใช้เวลาสร้างไม่นาน แต่เชื่อว่าจะไม่เกิดการก่อสร้างออกมาจำนวนมากจนล้นตลาด เพราะภาวะเศรษฐกิจไม่ได้ดีมากนัก

          จี้แบงก์ชาติปลดล็อก FNP ให้ผู้บริโภคซื้อบ้านได้

          นายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจพฤกษาเรียลเอสเตท-พรีเมียม บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) และนายกกิตติมศักดิ์ สมาคมอาคาร ชุดไทย กล่าวว่า นับว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่รัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ด้วยการลดภาษีค่าธรรมเนียมการโอนและค่า จดทะเบียนจดจำนอง ซึ่งถือ เป็นยาแรงที่สุดแล้ว ซึ่งเป็น การส่งสัญญาณไปถึง ธปท.ว่าตลาดอสังหาฯได้รับผลกระทบอย่างมากจากมาตรการ LTV ที่ออกมาผิดเวลา

          ที่ผ่านมาตลาดอสังหาฯชะลอตัวอย่างมาก โดยในไตรมาส 3/2562 ยอดขายในกรุงเทพฯ และปริมณฑลยอดขายติดลบมากถึง 35% เมื่อเทียบกับไตรมาส 3/2561 ขณะที่ตัวเลขยอดขาย 9 เดือนของปีนี้ติดลบ 22% เมื่อเทียบ กับ 9 เดือนของปี 2561 ซึ่งตัวเลขดังกล่าวจะเป็นตัวชี้วัดยอดโอนในไตรมาส 4 ของปีหน้าลดลงอย่างมาก ตัวเลขยอดขายถือเป็นตัวเลขชีวัดของตลาดในปัจจุบัน ใน ขณะที่ ธปท.ถือตัวเลขสินเชื่อปล่อยใหม่ที่ยังเป็นบวก 2% เนื่องจากเป็นสัญญาจะซื้อจะขายก่อนที่จะมี ธปท.จะประกาศว่าจะใช้มาตรการ LTV ในเดือนตุลาคม 2561 ซึ่ง ธปท.จะเห็นยอดสินเชื่อใหม่ที่ติดลบในไตรมาส 4/2562 เป็นต้นไป เพราะต้องใช้เวลาก่อสร้างหากเป็นอาคาร โลว์ไลต์จะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 12 เดือน ตึกสูงใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 24-30 เดือนขึ้นไป
          "มาตรการกระตุ้นอสังหาฯด้านภาษีถือเป็นมาตรการที่สุดทางแล้วในการออกมากระตุ้นภาคอสังหาฯ แต่การตบมือข้างเดียวไม่ดัง ต้องปรบมือสองข้าง แม้ว่ารัฐบาลจะออกมาตรการภาษี และผู้ประกอบการยังลดราคาบ้านออกแคมเป็นเพื่อให้ผู้บริโภคมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น แต่การทำมาทั้งหมดทั้งจากรัฐบาลและผู้ประกอบการจะไม่เป็นผลเลยหากผู้บริโภคไม่สามารถขอสินเชื่อมาซื้อบ้านได้เพราะถือเป็นต้นน้ำ นโยบายการเงินและนโยบายการคลังต้องไปด้วยกันถึงจะช่วยฟื้นเศรษฐกิจได้ รัฐบาลยื่นมือออกมาปรบแล้ว แต่แบงก์ชาติเอามือล้วงกระเป๋าอยู่ปรบมือข้างเดียวมันก็ไม่ดังอยู่ดี" นายประเสริฐกล่าว

          ทั้งนี้ ธปท.ควรเลื่อนมาตรการ LTV เป็นปี 2 ปีข้างหน้าค่อยนำกลับมาใช้ในช่วงที่เศรษฐกิจเติบโต ในช่วงนี้ควรช่วยพยุงเศรษฐกิจในประเทศให้ได้ก่อน เพราะเศรษฐกิจภายในประเทศได้รับผลกระทบจากการเข้าถึงสินเชื่อไม่ได้ พอมีต่างชาติเข้ามาซื้ออสังหาฯในไทย ธปท.ก็ทำค่าเงินบาทแข็งค่ามาก ผู้ซื้อต่างชาติก็หนีหมด เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน การส่งออก ท่องเที่ยวก็ได้รับผลกระทบ จากค่าเงินที่แข็งค่า เราไม่ควรเอาแบบอย่างประเทศใหญ่ที่มีการเติบโตด้านเศรษฐกิจ พฤติกรรมการซื้อบ้านของคนไทยเปลี่ยนไป หันมาซื้อคอนโดฯในเมืองเพื่อใกล้แหล่งงาน เดินทางสะดวก หนีรถติด เนื่องจากไทยพึ่งมีการเปลี่ยนระบบแมสทรานซิส ทำให้คนที่มีบ้านรอบนอกเมืองมีความจำเป็นที่จะต้องซื้อคอนโดฯในเมืองเพื่ออยู่อาศัยให้สามารถเดินทางสะดวก ใกล้แหล่งงาน ดังนั้นการบังคับใช้มาตรการ LTV ควรใช้กับคนที่ซื้อบ้านหลังที่ 3 เป็นต้นไปแทน

          วอนมหาดไทยออกประกาศด่วนก่อนผู้ซื้อชะลอโอน

          นายวิทย์ กุลธนวิภาส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แคปปิตอล วัน เรียลเอสเตท จำกัด บริษัทตัวแทนด้านอสังหาริมทรัพย์และที่ปรึกษาด้านการบริการตลาดและอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย ปัจจุบันมีพอร์ตที่บริหารทั้งในโซนสุขุมวิท และในจังหวัดชลบุรี รวมกว่า 30,000 ล้านบาท เปิดเผยถึงมติมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันอังคารที่ 22 ตุลาคม ที่ผ่านมา ได้มีมติลดภาระภาษีจากเดิมที่เคยมีมาตรการให้นำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ 200,000บาท โดยเพิ่มการปรับลดค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์จาก 2% เหลือ 0.01% และค่าจดจำนองจาก 1% ของยอดเงินจดจำนองเหลือ 0.01% และการให้เงินกู้อัตราดอกเบี้ยพิเศษจาก ธอส. ว่า ทางผู้ประกอบการและผู้ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับภาคอสังหาริมทรัพย์ มีความกังวลต่อเรื่องของการสื่อสารจากภาครัฐที่ไม่ชัดเจน ทำให้ยัง ไม่ทราบว่าทางกระทรวงมหาดไทยจะประกาศบังคับใช้ ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์และค่าจดจำนองในอัตราใหม่เมื่อไหร่ และผู้ซื้อจะชะลอการโอนกรรมสิทธิ์ ซึ่งจะมีผลทำให้เกิดช่องว่างให้ผู้ซื้อหยุดการโอนกรรมสิทธิ์ในช่วง 1-2 สัปดาห์ระหว่างที่รอการออกประกาศ

          "เราอยากขอให้ทางกระทรวงมหาดไทย ออกประกาศด่วนภายใน 7 วัน เพื่อตลาดอสังหาริมทรัพย์จะได้ทราบทิศทางที่แน่นอน"นายวิทย์

          นอกจากนั้น นโยบายที่ให้ระยะเวลาประมาณ 1 ปี (ไปสิ้นสุดวันที่ 24 ธ.ค. 2563) จะทำให้ในช่วงแรกไม่ได้เป็นการกระตุ้นยอดขายเท่าที่ควร สำหรับคอนโดมิเนียมและบ้านที่สร้างเสร็จแล้วที่ค้างในสต๊อก( Stock) ขาย ที่ทุกฝ่ายพยายามเปลี่ยนจากทรัพย์สินให้เป็นเม็ดเงินเข้าสู่ระบบ ให้เกิดการหมุนเวียน เพราะลูกค้ายังมีเวลารอถึงปี 2563 แต่จะทำให้ลูกค้าหันไปซื้อโครงการที่กำลังสร้างอยู่แต่กำหนดแล้วเสร็จก่อน 24 ธ.ค. 2563 ซึ่งทำให้เงินเข้าสู่ระบบจะมีจำนวนน้อย เพราะโครงการที่อยู่ในช่วงการผ่อนดาวน์ กับโครงการมีการชำระเงินค่อนข้างน้อยจึงไม่ตอบโจทย์ในการทำให้บรรลุเป้าหมาย GDP ปี 2562 รวมทั้ง จะมีโครงการใหม่ในลักษณะทาวน์โฮมเข้าสู่ตลาดมากขึ้น ในระดับราคาที่ต่ำกว่า 3 ล้าน เนื่องจากมีระยะเวลาการก่อสร้างสั้นซึ่งทันกับกำหนดปลายปีหน้า

          การปรับลดค่าธรรมเนียมในระดับราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาทซึ่งเป็นระดับราคาที่มีฐานกว้างที่สุดในตลาดมากกว่า 50% ของตลาดรวม จะมีส่วนช่วยกระตุ้นการซื้อได้บ้าง โดยคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นในฐานดังกล่าวประมาณ 10%ซึ่งดีกว่าการไม่เข้ามาแก้ปัญหา แต่การออกมาตรการดังกล่าวอาจจะช้าเกินไป เนื่องจากผลกระทบที่มีต่อการลดลงของกำลังซื้อ ปัจจุบันไม่ได้เกิดจากมาตรการสินเชื่อที่อยู่อาศัย( LTV ) อย่างเดียว ผลกระทบจากสงครามการค้าที่ทำให้ลูกค้าชาวต่างชาติน้อยลง การแข็งตัวของค่าเงินบาทที่ทำให้การส่งออกถดถอย ซึ่งGDP ประเทศไทย 70% เกิดจากการส่งออก

          "ปัจจัยที่รุมล้อมปัญหาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เป็นปัญหาระดับมหภาคที่สะท้อนให้เห็นปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างแท้จริง รัฐบาลควรตั้งเป้าหมายในการทำให้ค่าเงินบาทอ่อนลง ด้วยกลไกที่ไม่แทรกแซงค่าเงิน เช่น การลดทุนสำรองรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยน การสร้างหนี้ภาครัฐเพื่อการลงทุนโครงสร้างให้มากขึ้น ซึ่งจะทำให้ต่างชาติลดการนำเงินมาซื้อเงินบาทในรูปแบบบอนด์ และการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อให้ธนาคารอื่นลดอัตราดอกเบี้ยการปล่อยสินเชื่อ ซึ่งจะทำให้ได้ครอบคลุมในวงกว้าง นอกจากการปล่อยสินเชื่อจากธอส. และควรจะแก้ปัญหาให้ทันกับเหตุการณ์ก่อนปัญหาจะบานปลายมากกว่านี้" นายวิทย์ กล่าว บรรยายใต้ภาพ
 
ข่าวโครงการอสังหาฯ ภาคเอกชน อื่นๆ