BTS จับมือลาดกระบัง ผุดแทรมป์2เส้น เชื่อมแอร์พอร์ตลิงก์เปิดอีก2-3ปี
Loading

BTS จับมือลาดกระบัง ผุดแทรมป์2เส้น เชื่อมแอร์พอร์ตลิงก์เปิดอีก2-3ปี

วันที่ : 11 สิงหาคม 2563
BTS ผนึก ลาดกระบัง ทำรถรางไฟฟ้า 2 เส้นทาง
          บีทีเอส กรุ๊ปฯ MOU บางกอกสมาร์ทการ์ด และ สจล. ศึกษานำรถไฟฟ้าอย่าง (Tram Bus) ให้บริการ เล็งเปิด 2 เส้นทาง "ลาดกระบัง (แอร์พอร์ตลิงก์)-หัวตะเข้" และ "สจล.-แอร์พอร์ตลิงก์" จ่ายค่าตั๋วบัตรแรบบิท แก้จราจรและลดมลพิษในพื้นที่ คาด 2-3 ปี ได้ใช้

          นายกวิน กาญจนพาสน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท บีทีเอสกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้ ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ในการพัฒนาระบบ ขนส่งมวลชนร่วมกับบริษัท บางกอก สมาร์ทการ์ด ซิสเทม จำกัดและสถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง(สจล.) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการนำระบบรถไฟฟ้าล้อยาง (Tram Bus) มาใช้เป็นครั้งแรกของประเทศไทย ซึ่งเป็นการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนสาธารณะระบบรางขนาดรอง เชื่อมต่อพื้นที่ภายในสถาบันการศึกษา กับระบบขนส่งมวลชนหลัก ได้แก่ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ที่สถานีลาดกระบัง

          รวมถึงใช้เทคโนโลยีโดยเฉพาะ ระบบ E-Payment และ Non-Payment ผ่านบัตรแรบบิท ที่ใช้ในการเดินทางและสามารถเชื่อมต่อกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้ และจะแลกเปลี่ยน ความรู้ด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับระบบขนส่งมวลชน และระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงฟังก์ชันการใช้งานด้านดิจิทัลอื่นๆ กับ สจล. ด้วย

          นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการบริหาร บริษัท บีทีเอส กรุ๊ปฯกล่าวว่า ในเบื้องต้น ได้มีการศึกษา รูปแบบ "ระบบรถรางไฟฟ้าล้อยาง" (Tram Bus) ในเส้นทางที่มีความเป็นไปได้ไว้จำนวน 2 เส้นทางเส้นทางที่1 รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ จากสถานีลาดกระบัง-หัวตะเข้ ระยะทาง 4 กิโลเมตร ประกอบด้วย 3 สถานี ได้แก่ สถานีพระ จอมเกล้า และสถานีหัวตะเข้ เส้นทางที่ 2 วิ่งรอบภายในพื้นที่ของสถาบัน และ เชื่อมต่อรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์

          โดยจะใช้รถจำนวน 4 ขบวน ในการให้บริการ เพื่อให้รองรับการเดินทางของผู้โดยสารที่ใช้บริการ ภายในสถาบันฯ และประชาชนทั่วไปได้อย่างเพียงพอ และใช้บัตรแรบบิทในการเดินทาง และเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนในปัจจุบันได้อย่างต่อเนื่อง

          สำหรับรถรางไฟฟ้าล้อยาง เป็นระบบขนส่งมวลชนสาธารณะที่ทันสมัย มีลักษณะคล้ายรถโดยสารทั่วไป มีการพ่วงตู้โดยสาร รถ 1 ขบวน มี 3 ตู้ ซึ่งจะ รองรับผู้โดยสารได้ถึง 250 คนต่อขบวน ใช้ความเร็วได้สูงสุด 75 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้ไฟฟ้าขับเคลื่อนจึงไม่มีมลพิษ

          "โครงการนี้ยังอยู่ในระหว่างการศึกษา คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2-3 ปี จะเสร็จสมบูรณ์ และเป็นระบบรถรางไฟฟ้าล้อยางแห่งแรก ที่จะวิ่งในสถาบันการศึกษาของประเทศไทยและจะเป็นต้นแบบให้กับโครงการอื่นๆ ที่จะมีต่อไปในอนาคตได้"

          ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอม เกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า การนำรถแทรมป์มาวิ่งให้บริการ นักศึกษาและประชาชน จะเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักศึกษาให้มีความสะดวกสบาย ทั้งด้านการเดินทาง การใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งปัจจุบันการเดินทางภายในบริเวณสถาบันฯ และเขต ชุมชนใกล้เคียง เป็นปัญหาอย่างมาก เนื่องจากมีทางรถไฟวิ่งผ่านกลางสถาบันฯ มีผู้โดยสารเดินทางมาขึ้น-ลงจำนวนมาก และยังมีการใช้รถส่วนตัวมาก ทำ ให้เกิดปัญหาจราจรในช่วงเวลาเร่งด่วนเช้า-เย็น ก่อให้เกิดการสะสมมลพิษ
ข่าวพัฒนาสาธารณูปโภค อื่นๆ