แบงก์ชาติแนะนโยบายคลัง!
Loading

แบงก์ชาติแนะนโยบายคลัง!

วันที่ : 24 สิงหาคม 2563
ยืดหยุ่นรับวิกฤติเศรษฐกิจ - เบรกรัฐบาลจ่ายงบมือเติบ
     
          "แบงก์ชาติ" แจงนโยบายการคลังต้องยืดหยุ่นช่วงวิกฤติ ไม่น่ากังวลหากหนี้ประเทศทะยานใกล้เพดาน เพื่อประคองเศรษฐกิจหวั่นไหลลงลึกเกินคาด แนะวางแผนหารายได้ระยะยาว ลดใช้จ่ายงบแบบมือเติบ

          บางขุนพรหม * "แบงก์ชาติ" แจงนโยบายการคลังต้องยืดหยุ่นช่วงวิกฤติ ไม่น่ากังวลหากหนี้ประเทศทะยานใกล้เพดาน เพื่อประคองเศรษฐกิจหวั่นไหลลงลึกเกินคาด แนะวางแผนหารายได้ระยะยาว ลดใช้จ่ายงบแบบมือเติบ

          นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ในภาวะวิกฤติคนที่มีความสามารถในการกระตุ้น เศรษฐกิจ คือ ภาครัฐ ดังนั้นสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีที่ใกล้ระดับ 60% ไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวล ถ้าการใช้จ่ายเงินกู้นำไปใช้กับโครงการที่ดี ประสิทธิผลต่อการกระตุ้นจ้างงาน ส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานสอดคล้องวิถี ชีวิตใหม่ และเป็นโครงการที่ ช่วยให้ภาคธุรกิจขยายตัว เพราะ ในสถานการณ์วิกฤติโควิด-19 ที่ภาคเศรษฐกิจได้รับผลกระทบ บทบาทของภาคการคลังก็ยังสามารถทำงานเพิ่มขึ้นได้อีก เพื่อรักษาระดับการเติบโตไม่ให้เศรษฐกิจไหลลงแรงกว่านี้

          ทั้งนี้ มีประเด็นที่ต้องคิดอย่างจริงจังถึงเรื่องความสามารถ ในการหารายได้ในอนาคต ซึ่งหลายเรื่องที่ทำได้ เช่น ฐานภาษี ทรัพย์สิน ซึ่งปัจจุบันเก็บน้อยมาก การเพิ่มประสิทธิภาพฐานภาษี ที่หลายประเทศหารายได้จากทรัพย์สินของภาครัฐ ดังนั้น เมื่อถึงเวลาที่ต้องใช้ภาคการคลังเพิ่มขึ้น ก็ต้องทำควบคู่กับแผนการหารายได้ และความสามารถในการชำระหนี้ในอนาคต อีกทั้งบทบาทภาคการคลังใน ระยะยาว ต้องมีแผนปรับลด รายจ่ายบางประเภทลงให้เหมาะ สม ส่วนมาตรการที่เกิดขึ้นช่วงโควิด-19 ควรเป็นมาตรการชั่ว คราว เมื่อสถานการณ์ปกติก็ต้องมีกลไกในการปรับลดลงทัน ที ต้องไม่สร้างผลต่อเนื่อง ไม่มีผลต่อภาระการคลัง

          ขณะที่กระทรวงการคลัง ได้ออกหนังสือชี้แจงกรณีการ ขออนุมัติกรอบการกู้เงินกรณีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ในปีงบ 2563 วงเงิน 2.14 แสนล้านบาท ว่า เพื่อเตรียมการรองรับ การใช้จ่ายของรัฐบาลในช่วง ต้นปีงบ 2564 และเพื่อให้การดำเนินมาตรการกระตุ้นและฟื้น ฟูเศรษฐกิจดำเนินได้ต่อเนื่อง ซึ่งจะกู้เงินตามความจำเป็น โดย ระดับเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือน ก.ค.2563 อยู่ที่ 2.82 แสนล้าน บาท และคาดว่า ณ สิ้นปีงบ 2563 เงินคงคลังจะอยู่ในระดับเพียงพอที่จะรองรับการเบิกจ่าย ของภาครัฐ และดำเนินมาตรการ ที่จำเป็นในการฟื้นฟูเศรษฐกิจในระยะต่อไป

          อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 21 ส.ค.2563 ธปท.ได้ร่วมกับสมาคม ธนาคารไทย สมาคมธนาคารนานาชาติ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ จัดทำ "โครง การ DR BIZ การเงินร่วมใจ ธุรกิจไทยมั่นคง" (โครงการดีอาร์บิส) เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ธุรกิจที่มีเจ้าหนี้สถาบันการเงินหลายรายเริ่มดำเนินการวันที่ 1 ก.ย.นี้ ระยะ 2 ปี เน้นกลุ่มลูกหนี้ธุรกิจที่มีเจ้าหนี้สถาบันการเงินหลายราย วงเงินรวม 50-500 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันมี 8.4 พันราย มูลหนี้ 1.2 ล้านล้านบาท และต้องเป็นลูกหนี้ธุรกิจที่มีสถานะหนี้ปกติ หรือเป็นหนี้เสีย (เอ็นพีแอล) กับธนาคารบางแห่ง ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2562 เว้นแต่พิสูจน์ได้ว่าได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจและสถานการณ์โควิด-19 และต้องไม่ถูกฟ้องคดี ยกเว้นเจ้าหน้าที่ถอนฟ้อง
ข่าวนโยบายการเงิน-การคลัง อื่นๆ