อัพเดท 9 รถไฟฟ้าสายใหม่ เริ่มใช้เมื่อใด
Loading

อัพเดท 9 รถไฟฟ้าสายใหม่ เริ่มใช้เมื่อใด

วันที่ : 3 กันยายน 2563
อัพเดท 9 รถไฟฟ้าสายใหม่
           รัฐบาลเร่งรัดลงทุนโครงข่ายรถไฟฟ้าสายใหม่เชื่อมโยงการเดินทางให้ครอบคลุมพื้นที่เขต กรุงเทพมหานคร-ปริมณฑล เช่นเดียวกับการกระชับฝั่งธุนบุรี กับฝั่งพระนครให้ไปมาหาสู่กันง่ายขึ้น เริ่มจาก รถไฟฟ้าสายสีทอง ระยะแรก ที่เวลานี้มีประชาชนคนฝั่งธนฯ พูดถึงไม่ขาดปากว่าภายในเดือนตุลาคมนี้จะได้ใช้บริการอย่างเป็นทางการวิ่งไปตามแนวถนนเจริญนคร เขตคลองสาน นำพาการพัฒนาเข้าสู่พื้นที่ กระทรวงหมดไทย  ปลูกที่ดินริมน้ำย่านคลองสาน ขึ้นตึกสูงบนที่ดินที่ราชพัสดุ เนื้อที่ 23 ไร่ ในอนาคตอันใกล้จะมีข้าราชการจำนวนมากข้ามฝั่งมาทำงาน ใช้ชีวิต ณ จุดนี้ ตามรอยห้างยักษ์ไอคอนสยาม ซึ่งพาความเจริญข้ามมาก่อนหน้านี้ สร้างความฮือฮา เพิ่มมูลค่ากลายเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ริมน้ำเจ้าพระยาอีกแห่งรองรับความเจริญ  ที่ต่อขยายมาจาก ย่าน ใจกลางเมือง อย่างสาทร-สีลม โดยรถไฟฟ้า

          สำหรับรถไฟฟ้าสายสีทอง พล.อ.อัศวิน ขวัญเมืองผู้ว่า กทม. ระบุว่า เส้นทางระยะที่ 1 สถานีกรุงธนบุรี - สำนักงานเขตคลองสาน ระยะทาง 1.7 กิโลเมตร รวม 3 สถานี ได้แก่ สถานีกรุงธนบุรี (G1) สถานีเจริญนคร (G2) และสถานีสำนักงานเขตคลอง สาน (G3) ซึ่งเป็นเส้นทางเดินรถตามแนวถนนเจริญนคร เขตคลองสาน ซึ่งถือเป็นย่านเศรษฐกิจฝั่งธนบุรี และมีสถานที่สำคัญที่ประชาชนไปใช้บริการจำนวนมาก เช่น โรงพยาบาลตากสิน โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา ล้ง 1919 ไอคอนสยาม รวมถึงสวนลอยฟ้าเจ้าพระยา และยังเชื่อมต่อกับย่านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมริมแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งจะช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับคนในพื้นที่ได้มากขึ้นอีกด้วย

          ขณะเดียวกันยังเป็นระบบขนส่งมวลชนทางรางระบบรอง ทำหน้าที่เป็น Feeder ส่งต่อประชาชนในย่านชุมชนฝั่งธนบุรีไปยังระบบขนส่งมวลชนระบบหลัก ล้อ ราง เรือ ได้โดยไม่ใช้รถส่วนตัว ทั้งรถโดยสารประจำทาง เรือโดยสารแม่น้ำเจ้าพระยา และรถไฟฟ้าบีทีเอส 3 เส้นทาง ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายสายสีลม รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงหัวลำโพง-บางบอน-มหาชัย และรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ

          สำหรับความพิเศษของขบวนรถไฟฟ้าสายสีทอง คือ เป็นรถไฟฟ้าแบบไร้คนขับ โดยใช้รางนำทาง มีล้อและทางวิ่งเป็นยาง ซึ่งจะทำให้เกิดความนุ่มนวลและก่อให้เกิดเสียงรบกวนต่ำ ลดฝุ่นและมลพิษ ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยขบวนรถที่ใช้ในระบบนี้มีทั้งหมด 3 ขบวน ขบวนละ 2 ตู้ รองรับผู้โดยสารได้ 4,000 -12,000 คน/ชั่วโมง/ทิศทาง ขณะการก่อสร้าง คืบหน้าแล้วกว่า 95% และอยู่ระหว่างการทดสอบระบบการเดินรถ โดยคาดว่าจะพร้อมให้บริการเดินรถแก่ประชาชนในเดือนตุลาคม 2563

          ตามด้วยรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียวเหนือ (หมอชิต-คูคต) ปัจจุบันการก่อสร้างงานโยธาเกือบ 100% ปัจจุบันเปิดให้บริการเดินรถ ถึงสถานีวัดพระศรีมหาธาตุและปลายปีนี้ ราวเดือนธันวาคม สามารถเปิดให้บริการได้ถึงสถานีปลายทาง คูคต ลดการเดินทาง ฝ่าการจราจรที่เคยติด บริเวณสี่แยกมหาโหดได้ในหลายจุด ขณะสายสีแดง (บางชื่อ-รังสิต) ของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่เดิมทีจะเปิดให้บริการได้ในต้นปี 2564 เกิดปัญหาสถานีกลางบางซื่อล่าช้า การแก้ปัญหาภาระหนี้ ตลอดจนการหาเอกชนบริหารจัดการเดินรถ

          สำหรับรถไฟฟ้าสายสีเหลือง รถไฟรางเดียวสายแรกของเมืองไทย  (ลาดพร้าวสำโรง) ที่เชื่อมจากรถไฟฟ้าสายสีเขียวใต้ อีกเส้นทางที่วิ่งผ่านชุมชนขนาดใหญ่  สร้างความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ลดพลังงาน สร้างแหล่งงาน ย่าน ค้าขายลงทุนย่านช็อปปิ้งในอนาคตนอกจากที่อยู่อาศัย เช่นเดียวกับรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) ที่ความก้าวหน้างานโยธาไปกว่า 50% แม้สองเส้นทางนี้จะล่าช้าไปบ้าง แต่การเปิดให้บริการไม่นานเกินรอ ปี 2565 ได้ใช้แน่นอน เช่นเดียวกับรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก เส้นเชื่อมต่อกับ MRT สีน้ำเงิน ที่วันนี้ก่อสร้างคืบหน้าไปมากกว่า 60% และมีแผนเปิดให้บริการได้ ตามกำหนดเวลาปี 2567

          โดยจะวิ่งเป็นเส้นผ่าเมือง จากวันออกของกทม. ไปยังฝั่งตะวันตก ซึ่งส่วนสายสีส้มตะวันตกนี้ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) อยู่ระหว่างเปิดประมูล งานโยธาและระบบเดินรถ ครอบคลุมไปด้วยกัน จากบางขุนนนท์-มีนบุรี ระยะทางยาว 35.9กิโลเมตร  โดยเปิดให้บริการทั้งเส้นทาง ปี 2569 ส่วนสายสีม่วงใต้ ส่วนต่อขยายสายสีม่วงเหนือ ที่เปิดให้บริการปัจจุบัน มีศักยภาพสูง เชื่อม บริเวณจุดเปลี่ยนถ่ายสถานีเตาปูน ซึ่งเป็นสถานีร่วมใต้ดินสีน้ำเงินวิ่งผ่านกลางเมืองรับ รัฐสภาใหม่ บริเวณเกียกกาย

          ย่านนี้จะเป็นศูนย์รวมข้าราชการการเมือง-ข้าราช การประจำ ก่อนมุ่งหน้าเข้าย่านกรุงเก่า เชื่อมฝั่งธนบุรี ออกพระประแดง สมุทปราการ ที่จะเปิดให้บริการได้ปี 2570 ซึ่งขั้นตอนเข้าสู่การเวนคืนที่ดิน และสายสีน้ำตาล มีความพร้อมที่ขยายโครงข่ายการเดินรถเช่นเดียวกัน รวมถึงการขยายโครงข่ายไปยังหัวเมืองใหญ่จังหวัดเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ และนี่คือปรากฏการณ์พลิกโฉมเมือง ครั้งสำคัญ ด้วยรถไฟฟ้า!!

          นี่คือปรากฏการณ์พลิกโฉมเมืองครั้งสำคัญด้วยรถไฟฟ้า!!
ข่าวพัฒนาสาธารณูปโภค อื่นๆ