ธอส.ปล่อยสินเชื่อทะลุเป้า มีดีมานด์อสังหาปี66 โตต่อ
Loading

ธอส.ปล่อยสินเชื่อทะลุเป้า มีดีมานด์อสังหาปี66 โตต่อ

วันที่ : 4 ตุลาคม 2565
ธอส. ลงทุนพัฒนาทางด้านระบบเทคโนโลยีและบริการดิจิทัลใหม่ๆ ด้วยงบประมาณลงทุนรวมไม่เกิน 400 ล้านบาท โดยใช้ชื่อว่า End to End Process หรือการให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงบริการของธนาคารได้ตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้ายผ่านบริการด้านดิจิทัลทั้งหมด
           ธอส. มองตลาดที่อยู่อาศัย ยังไม่อิ่มตัว ปีนี้ปล่อยสินเชื่อทะลุเป้า 3 แสนล้านบาท คาดปีหน้ายอดปล่อยสินเชื่อใหม่โตต่อเนื่องถึงปี 2566 เติบโตอีก 5% ลูกค้าส่วนใหญ่ระดับราคา 2 ล้านบาท พร้อมลุยลงทุนพัฒนาระบบเทคโนโลยีรองรับบริการลูกค้าในทุกด้านทั้งด้าน Funding ด้านสินเชื่อ และ ด้านการบริหาร จัดการทรัพย์ด้อยคุณภาพ

          นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการ ผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า สำหรับผลการดำเนินงานในปัจจุบันของ ธอส. ที่ยังคงมีความแข็งแรง โดยคาดว่าจะปล่อยสินเชื่อใหม่ในปี 2565 ได้ถึง 300,000 ล้านบาท ขณะนี้หนี้ ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ถึง ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2565 เพิ่มขึ้นจาก ณ สิ้นปี 2564 ประมาณ 10,000 ล้านบาท โดยรวมอยู่ที่ 68,000 ล้านบาท คิดเป็น 4.41% ของสินเชื่อรวม 1.6 ล้านล้านบาท ขณะเดียวกันยังต้องบริหารจัดการให้ธนาคารมีกำไรตามเป้าหมายตัวชี้วัด 13,400 ล้านบาท เพื่อนำ 45% ของกำไรส่งเป็นรายได้ให้กับกระทรวงการคลังนำไปใช้จ่ายเป็นงบประมาณแผ่นดินต่อไป

          ปล่อยสินเชื่อทะลุเป้า

          อย่างไรก็ดีตลาดที่อยู่อาศัยในไทยยังไม่ถึงจุดอิ่มตัว แม้ว่าในปี 2565 ธอส. จะสามารถปล่อยสินเชื่อได้สูงถึง 300,000 ล้านบาทแล้ว เกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ ที่ 226,000 ล้านบาท และคาดว่าปี 2566 จะขยายตัวได้ 5% เพิ่มขึ้นเป็น 240,000 ล้านบาทในปี 2566 หรือปล่อยได้ไม่น้อยกว่า 250,000 ล้านบาท เพราะสังคมไทย เป็นสังคมของการแตกตัวออกจากครอบครัว ไปมีที่อยู่อาศัยใหม่ทั้งเพื่อการอยู่อาศัยและการลงทุน

          โดยกลุ่มลูกค้าของ ธอส. ส่วนใหญ่จะซื้อบ้านราคาประมาณ 2 ล้านบาท ขณะที่การปล่อยสินเชื่อเพื่อพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยจะอยู่ที่ปีละประมาณ 10,000 ล้านบาท โดยเน้นที่กลุ่มผู้ประกอบการที่เป็น Local Developer ขนาดเล็กวงเงินกู้ประมาณ 200-300 ล้านบาท เพื่อรองรับการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยและปานกลางราคาขายที่อยู่อาศัยไม่เกิน 3 ล้านบาท

          ทั้งนี้ ธอส. ลงทุนพัฒนาทางด้านระบบเทคโนโลยีและบริการดิจิทัลใหม่ๆ ด้วยงบประมาณลงทุนรวมไม่เกิน 400 ล้านบาท โดยใช้ชื่อว่า End to End Process หรือการให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงบริการของธนาคารได้ตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้ายผ่านบริการด้านดิจิทัลทั้งหมด ซึ่งช่วยให้ลูกค้าได้รับความสะดวกและลดต้นทุนการดำเนินงานของธนาคารได้ไปพร้อมกัน โดยมี 3 Module หลักประกอบด้วย 1.ด้าน Funding 2.ด้านสินเชื่อ และ 3.ด้านการบริหารจัดการทรัพย์ด้อยคุณภาพ ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ Fingers Strategy คือ ให้ประชาชนรู้จัก ธอส. เข้าถึง ใช้จริง บอกต่อ และเกิด Loyalty กับธนาคาร

          โดย Module ด้าน Funding ปัจจุบัน ธอส. มีการระดมทุนผ่านหลายช่องทาง ทั้งเงินฝากแบบปกติที่มีสมุดบัญชี เงินฝากแบบอิเล็กทรอนิกส์ สลากออมทรัพย์ พันธบัตร อนุพันธ์ (Derivatives) ซึ่งต้องดำเนินการภายใต้การบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม เช่นเดียวกับการจัดทำสลากออมทรัพย์ ธอส. ที่มีความแตกต่างจากสลากของสถาบันการเงินอื่นในตลาด

          ทุ่ม 70 ล้านบ.พัฒนาแอป

          ขณะที่ Module ด้านสินเชื่อลูกค้าสามารถรู้จักและเข้าถึง ธอส.ได้ด้วย Application GHB ALL GEN ถือเป็น Application ใหม่ที่ธนาคารได้พัฒนาขึ้นมาด้วยงบลงทุนประมาณ 70 ล้านบาท รองรับการใช้งานแทน Application GHB ALL เดิมที่ปัจจุบันมีลูกค้าสมัครและใช้บริการอยู่มากกว่า 1 ล้านคน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานให้ดียิ่งขึ้นและรองรับลูกค้าของ ธอส. ได้ทุก Generation ปัจจุบันการพัฒนาบริการเฟสที่ 1 เสร็จเรียบร้อยแล้วและเริ่มเปิดให้พนักงานของธนาคารดาวน์โหลดเพื่อทดสอบใช้งานตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน 2565 ก่อนที่จะเปิดให้ลูกค้าดาวน์โหลดใช้งานเฟสที่ 1 ได้ตั้งแต่วันที่ 26 ตุลาคม 2565 และเมื่อ GHB ALL GEN พัฒนาได้สมบูรณ์ทุกบริการแล้ว

          อีกทั้งยังมีการนำ Data Analytic ทางด้านการประเมินราคาที่อยู่อาศัยมาพัฒนาระบบ Digital Appraisal ทำให้ลูกค้าทราบราคาประเมินบ้านเบื้องต้นได้ ทันทีและลูกค้ายังสามารถเซ็นสัญญาเงินกู้ แบบอิเล็กทรอนิกส์แทนการลงนามรูปแบบ กระดาษได้ด้วย e-Contract และเมื่อได้เป็นลูกค้าของ ธอส. แล้วก็จะสามารถผ่อนชำระเงินกู้ผ่าน GHB ALL GEN ได้ทันทีโดยไม่ต้องเดินทางไปที่สาขา

          
ข่าวนโยบายการเงิน-การคลัง อื่นๆ