CMC ลุยเปิด3โครงการ 6,768ล้าน หลังเกิดแผ่นดินไหว คนสนใจซื้อคอนโดโลว์ไรส์มากขึ้น
วันที่ : 17 เมษายน 2568
CMC เดินหน้าตามแผนเปิด 3 โครงการใหม่ มูลค่ารวม 6,768 ล้านบาท หลังเกิดแผ่นดินไหว คอนโดมิเนียมโลว์ไรส์ได้รับความสนใจมากขึ้น ตุนแบ็กล็อก 1,000 ล้านบาท ทยอยส่งมอบต่อเนื่อง ชี้ผ่อนคลายเกณฑ์ LTV และการลดค่าโอน-จดจำนอง หนุนคนตัดสินใจซื้อมากขึ้น
นางสาวอนงค์ลักษณ์ แพทยานันท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เจ้าพระยามหานคร จำกัด (มหาชน) หรือ CMC เปิดเผยกับ “ข่าวหุ้นธุรกิจ” ว่า หลังเกิดแผ่นดินไหวบริษัทได้มีการติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และยังคงดำเนินการเปิดตัว 3 โครงการใหม่ รวมมูลค่าโครงการ 6,768 ล้านบาท ตามแผนงานเดิมที่วางไว้ในปี 2568 ได้แก่ 1.โครงการ ชาโตว์ อินทาวน์ @อี 18 สเตชั่น 368 มูลค่าโครงการ 368 ล้านบาท, 2.โครงการ มนตราสี่พระยา มูลค่าโครงการ 2,200 ล้านบาท และ 3.โครงการ One Bangkok Smart City เฟส 2 มูลค่าโครงการ 4,200 ล้านบาท
ทั้งนี้ แม้จะเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว แต่ด้วยความเชื่อมั่นในคุณภาพงานก่อสร้าง และการสื่อสารกับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง บริษัทเชื่อมั่นว่าผลกระทบต่อภาพรวมธุรกิจในปี 2568 จะอยู่ในระดับต่ำ โดยจะยังคงสามารถดำเนินการตามแผนงานที่วางไว้ได้อย่างมั่นคง
สำหรับการเปิดตัวโครงการคอนโดมิเนียมในอนาคตมีหลายปัจจัยที่ต้องคำนึงถึง โดยเฉพาะด้านความปลอดภัยและความสะดวกสบายของลูกค้า ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้บริโภคให้ความสนใจมากขึ้น
โดยหลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น ทำให้คอนโดมิเนียม Low Rise สูงไม่เกิน 8 ชั้น ได้รับความสนใจมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มที่ลูกค้าให้ความสำคัญกับความแข็งแรงและความปลอดภัยของอาคาร ซึ่งจุดนี้ถือเป็นหนึ่งในจุดแข็งของ CMC ที่พัฒนาโครงการมาโดยตลอด
“โครงการคอนโดมิเนียม Low Rise เป็นจุดแข็งและจุดเด่นของ CMC ซึ่งครองใจผู้บริโภคมาอย่างยาวนาน และในอนาคต CMC ยังคงมุ่งพัฒนาคอนโดมิเนียม Low Rise ในราคาย่อมเยา ที่มีความคงทนแข็งแรง สวยงาม เพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิตของลูกค้า ในทำเลที่เดินทางสะดวก ใกล้รถไฟฟ้า อย่างต่อเนื่องด้วย” นางสาวอนงค์ลักษณ์ กล่าว
นอกจากนี้ เพื่อความสบายใจสูงสุดและเพิ่มความมั่นใจให้กับลูกค้า CMC จะเพิ่มเติมการสื่อสารเชิงรุก โดยการแจ้งข้อมูลและกระบวนการตรวจสอบโครงสร้างอาคาร พร้อมร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรม เพื่อให้แน่ใจว่าโครงการทุกโครงการสามารถตอบสนองมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุดได้
นางสาวอนงค์ลักษณ์ กล่าวอีกว่า ตั้งแต่ปี 2567 ที่ผ่านมา ด้วยสภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่ยังไม่ฟื้นตัว ทำให้ผู้บริโภคยังคงต้องเผชิญกับความท้าทายทางด้านการเงินและยังคงไม่กล้าที่จะใช้จ่าย เหตุการณ์แผ่นดินไหวล่าสุด ยิ่งส่งผลทำให้ผู้บริโภคมีความกังวลเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับตลาดอสังหาริมทรัพย์ ดังนั้น บริษัทจึงคาดว่าในช่วง 3 เดือนหลังจากนี้ (เมษายน-มิถุนายน) ยอดขายคอนโดมิเนียมโดยเฉพาะประเภท High-Rise อาจจะลดลง เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลในเรื่องความปลอดภัยและความเสี่ยงจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว แต่เชื่อว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์จะสามารถฟื้นตัวขึ้นได้ภายในสิ้นปี 2568
อย่างไรก็ตาม CMC มีความเชื่อมั่นว่าในระยะยาวผลิตภัณฑ์ที่ดีและมีคุณภาพ จะสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ ด้วยจุดเด่นของ CMC ในเรื่องของคอนโดมิเนียม Low-Rise ซึ่งเป็นประเภทที่ผู้บริโภคกำลังหันมาให้ความสนใจมากขึ้น เนื่องจากมีความปลอดภัยที่สูงกว่าและสามารถตอบโจทย์ความต้องการในช่วงเวลานี้ได้ ทำให้ CMC ยังไม่มีความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของยอดขายในระยะสั้น
ทั้งนี้ ล่าสุดบริษัทมียอดขายรอโอน (Backlog) รวมมูลค่ากว่า 1,000 ล้านบาท จะทยอยส่งมอบต่อเนื่องตามแผนงานที่วางไว้ ส่วนนโยบายผ่อนคลายเกณฑ์เกณฑ์สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน (LTV) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นปัจจัยเชิงบวกในการกระตุ้นตลาดอสังหาริมทรัพย์ ถือเป็นนาทีทองของผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อและกำลังมองหาที่อยู่อาศัย ทั้งอยู่อาศัยเองและเพื่อการลงทุน การผ่อนคลายเกณฑ์ LTV นี้ จะช่วยเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคสามารถกู้เงินซื้อบ้าน หรือคอนโดมิเนียมได้ง่ายขึ้น เพราะไม่ต้องวางเงินดาวน์จำนวนมาก เหมาะสำหรับผู้ที่มีความต้องการที่อยู่อาศัยและกำลังมองหาการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ นอกจากนี้ ยังเชื่อว่าเป็นการกระตุ้นให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์กลับมาคึกคัก จากการมีการซื้อขายเพิ่มขึ้น ส่งผลดีต่อการฟื้นตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะในช่วงระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 มิถุนายน 2569 ตามระยะการใช้ในนโยบายนี้
ด้านมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนองอสังหาริมทรัพย์ที่ประกาศล่าสุด ถือเป็นแรงสนับสนุนที่ช่วยส่งเสริมการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคได้อย่างมีนัยสำคัญ สอดรับกับแนวนโยบายผ่อนคลายเกณฑ์ LTV ที่ ธปท. ได้กำหนดไว้ก่อนหน้านี้ โดยทั้งสองมาตรการเมื่อผนวกรวมกันแล้วจะช่วยลดภาระต้นทุนของผู้ซื้อ ทั้งในด้านเงินสดวันโอนและข้อจำกัดด้านการกู้สินเชื่อ เชื่อว่ามาตรการทั้งสองอย่างนี้จะสามารถทำให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์มีโอกาสกลับมาฟื้นตัวได้อีกครั้ง
ทั้งนี้ แม้จะเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว แต่ด้วยความเชื่อมั่นในคุณภาพงานก่อสร้าง และการสื่อสารกับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง บริษัทเชื่อมั่นว่าผลกระทบต่อภาพรวมธุรกิจในปี 2568 จะอยู่ในระดับต่ำ โดยจะยังคงสามารถดำเนินการตามแผนงานที่วางไว้ได้อย่างมั่นคง
สำหรับการเปิดตัวโครงการคอนโดมิเนียมในอนาคตมีหลายปัจจัยที่ต้องคำนึงถึง โดยเฉพาะด้านความปลอดภัยและความสะดวกสบายของลูกค้า ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้บริโภคให้ความสนใจมากขึ้น
โดยหลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น ทำให้คอนโดมิเนียม Low Rise สูงไม่เกิน 8 ชั้น ได้รับความสนใจมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มที่ลูกค้าให้ความสำคัญกับความแข็งแรงและความปลอดภัยของอาคาร ซึ่งจุดนี้ถือเป็นหนึ่งในจุดแข็งของ CMC ที่พัฒนาโครงการมาโดยตลอด
“โครงการคอนโดมิเนียม Low Rise เป็นจุดแข็งและจุดเด่นของ CMC ซึ่งครองใจผู้บริโภคมาอย่างยาวนาน และในอนาคต CMC ยังคงมุ่งพัฒนาคอนโดมิเนียม Low Rise ในราคาย่อมเยา ที่มีความคงทนแข็งแรง สวยงาม เพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิตของลูกค้า ในทำเลที่เดินทางสะดวก ใกล้รถไฟฟ้า อย่างต่อเนื่องด้วย” นางสาวอนงค์ลักษณ์ กล่าว
นอกจากนี้ เพื่อความสบายใจสูงสุดและเพิ่มความมั่นใจให้กับลูกค้า CMC จะเพิ่มเติมการสื่อสารเชิงรุก โดยการแจ้งข้อมูลและกระบวนการตรวจสอบโครงสร้างอาคาร พร้อมร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรม เพื่อให้แน่ใจว่าโครงการทุกโครงการสามารถตอบสนองมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุดได้
นางสาวอนงค์ลักษณ์ กล่าวอีกว่า ตั้งแต่ปี 2567 ที่ผ่านมา ด้วยสภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่ยังไม่ฟื้นตัว ทำให้ผู้บริโภคยังคงต้องเผชิญกับความท้าทายทางด้านการเงินและยังคงไม่กล้าที่จะใช้จ่าย เหตุการณ์แผ่นดินไหวล่าสุด ยิ่งส่งผลทำให้ผู้บริโภคมีความกังวลเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับตลาดอสังหาริมทรัพย์ ดังนั้น บริษัทจึงคาดว่าในช่วง 3 เดือนหลังจากนี้ (เมษายน-มิถุนายน) ยอดขายคอนโดมิเนียมโดยเฉพาะประเภท High-Rise อาจจะลดลง เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลในเรื่องความปลอดภัยและความเสี่ยงจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว แต่เชื่อว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์จะสามารถฟื้นตัวขึ้นได้ภายในสิ้นปี 2568
อย่างไรก็ตาม CMC มีความเชื่อมั่นว่าในระยะยาวผลิตภัณฑ์ที่ดีและมีคุณภาพ จะสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ ด้วยจุดเด่นของ CMC ในเรื่องของคอนโดมิเนียม Low-Rise ซึ่งเป็นประเภทที่ผู้บริโภคกำลังหันมาให้ความสนใจมากขึ้น เนื่องจากมีความปลอดภัยที่สูงกว่าและสามารถตอบโจทย์ความต้องการในช่วงเวลานี้ได้ ทำให้ CMC ยังไม่มีความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของยอดขายในระยะสั้น
ทั้งนี้ ล่าสุดบริษัทมียอดขายรอโอน (Backlog) รวมมูลค่ากว่า 1,000 ล้านบาท จะทยอยส่งมอบต่อเนื่องตามแผนงานที่วางไว้ ส่วนนโยบายผ่อนคลายเกณฑ์เกณฑ์สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน (LTV) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นปัจจัยเชิงบวกในการกระตุ้นตลาดอสังหาริมทรัพย์ ถือเป็นนาทีทองของผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อและกำลังมองหาที่อยู่อาศัย ทั้งอยู่อาศัยเองและเพื่อการลงทุน การผ่อนคลายเกณฑ์ LTV นี้ จะช่วยเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคสามารถกู้เงินซื้อบ้าน หรือคอนโดมิเนียมได้ง่ายขึ้น เพราะไม่ต้องวางเงินดาวน์จำนวนมาก เหมาะสำหรับผู้ที่มีความต้องการที่อยู่อาศัยและกำลังมองหาการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ นอกจากนี้ ยังเชื่อว่าเป็นการกระตุ้นให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์กลับมาคึกคัก จากการมีการซื้อขายเพิ่มขึ้น ส่งผลดีต่อการฟื้นตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะในช่วงระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 มิถุนายน 2569 ตามระยะการใช้ในนโยบายนี้
ด้านมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนองอสังหาริมทรัพย์ที่ประกาศล่าสุด ถือเป็นแรงสนับสนุนที่ช่วยส่งเสริมการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคได้อย่างมีนัยสำคัญ สอดรับกับแนวนโยบายผ่อนคลายเกณฑ์ LTV ที่ ธปท. ได้กำหนดไว้ก่อนหน้านี้ โดยทั้งสองมาตรการเมื่อผนวกรวมกันแล้วจะช่วยลดภาระต้นทุนของผู้ซื้อ ทั้งในด้านเงินสดวันโอนและข้อจำกัดด้านการกู้สินเชื่อ เชื่อว่ามาตรการทั้งสองอย่างนี้จะสามารถทำให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์มีโอกาสกลับมาฟื้นตัวได้อีกครั้ง
ข่าวโครงการอสังหาฯ ภาคเอกชน อื่นๆ