ดัชนีราคาค่าก่อสร้างบ้านมาตรฐาน ไตรมาส 1 ปี 2567
Loading

ดัชนีราคาค่าก่อสร้างบ้านมาตรฐาน ไตรมาส 1 ปี 2567

วันที่ : 19 เมษายน 2567
ค่าดัชนีเท่ากับ 137.5 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) และ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2566 (QoQ) ซึ่งแสดงว่า ราคาค่าก่อสร้างบ้านมาตรฐาน ยังอยู่ในทิศทางที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาส 3 ปี 2566 แต่เป็นลักษณะการปรับตัวขึ้นเล็กน้อย
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (REIC) รายงานดัชนีราคาค่าก่อสร้างบ้านมาตรฐาน ไตรมาส 1 ปี 2567 มีค่าดัชนีเท่ากับ 137.5 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) และ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2566 (QoQ) ซึ่งแสดงว่า ราคาค่าก่อสร้างบ้านมาตรฐาน ยังอยู่ในทิศทางที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาส 3 ปี 2566 แต่เป็นลักษณะการปรับตัวขึ้นเล็กน้อย

ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า สำหรับปัจจัยที่ส่งผลให้ดัชนีราคาเพิ่มขึ้นนั้นมาจากค่าตอบแทนในหมวดงานออกแบบก่อสร้างและงานระบบ ที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดในหมวดงานสถาปัตยกรรมร้อยละ 4.7 ในขณะที่หมวดงานวิศวกรรมโครงสร้าง ลดลงร้อยละ -2.5 หมวดงานระบบไฟฟ้าและระบบสื่อสาร ลดลงร้อยละ -1.9 และหมวดงานระบบสุขาภิบาลลดลงร้อยละ -0.3 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY)

หมวดราคาวัสดุก่อสร้างเกือบทุกประเภทปรับลดลงเกือบทุกประเภท โดยหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กปรับตัวลดลงมากที่สุดร้อยละ -9.2 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) โดยเป็นผลมาจากราคาเหล็กในตลาดเอเชียและจีนมีแนวโน้มปรับตัวลดลง และราคาเหล็กในประเทศไทยถูกกดดันจากการไหลเข้าของเหล็กจากประเทศจีนที่ยังคงกำลังการผลิตเหล็กในระดับสูงขณะที่ความต้องการเหล็กในประเทศจีนลดลง ทำให้จีนต้องระบายเหล็กมายังภูมิภาคอาเซียนและประเทศไทย ทำให้เกิดการแข่งขันด้านราคาอย่างรุนแรง จากการที่ประเทศไทยนำเข้าเหล็กจากประเทศจีน และประเทศต่าง ๆ ส่งผลให้ราคาเหล็กโดยรวมในประเทศไทยปรับตัวลดลง

รองลงมาได้แก่หมวดสุขภัณฑ์ลดลงร้อยละ -8.9 โดยลดลงจากความต้องการใช้ในโครงการก่อสร้างของภาครัฐที่ชะลอตัวในช่วงรองบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 และโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่ชะลอตัวลงจากอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้นและความเข้มงวดของสถาบันการเงินในการอนุมัติให้สินเชื่อ ในขณะที่หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต กระเบื้อง อุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา และวัสดุก่อสร้างอื่นๆ ลดลงระหว่างร้อยละ -1.0 ถึงร้อยละ -5.2 โดยมีเพียงหมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้เท่านั้นที่ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY)

ส่วนหมวดแรงงานมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) เนื่องจากการประกาศปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม 2567 (ดูแผนภูมิที่ 1 - 2)...
สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่