ที่อยู่อาศัยแนวราบน่าสนใจ
บริษัทหลักทรัพย์(บล.)ทิสโก้
นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ทิสโก้ ได้ไปนำเสนอข้อมูล (โรดโชว์) ที่สิงคโปร์และในไทย นักลงทุนให้ความสนใจกับโครงการที่อยู่อาศัยแนวราบ แม้ตลาดที่อยู่อาศัยยังไม่น่าสนใจนักก็ตาม โดยนักลงทุนมองว่าอุตสาหกรรมมีการเติบโตที่จำกัด และผลประกอบการที่เพิ่มขึ้นมาจากราคาขายโครงการที่แพงขึ้นมากกว่าปริมาณ โดยสำหรับปี 2561 คาดว่ายอดจองที่ชะลอตัวลงต่อจากปีก่อนหน้า โดยมีสัดส่วนโครงการแบบแนวราบราว 60% และคาดผลประกอบการโต 4% จากปี 2560 จากฐานที่ต่ำในปีก่อน
LH ยังน่าสนใจบริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ (LH) ยังคงเป็นหุ้นหลักที่มีคนสนใจและไม่พบว่ามีนักลงทุนมอง บริษัท ควอลิตี้เฮ้าส์ (QH) ในเชิงลบเหมือนตอนราคา 2 บาท แนวโน้มการดำเนินงานของ LH จะดีขึ้นจากการเปิดตัวโครงการแนวราบ และการเปิดตัว Terminal 21 ที่พัทยาในครึ่งหลังปี 2561 และนักลงทุนยังติดตามแผนการเติบโตของตลาดที่อยู่อาศัยหลังจากที่โครงการเน้นขายโครงการเก่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ในขณะที่ QH มีแผนที่จะโอน Q สุขุมวิท ซึ่งจะช่วยหนุนยอดจองเพิ่มขึ้นตอนก่อสร้างเสร็จ
PSH และ CPN มีคนสนใจน้อย
นักลงทุนให้ความสนใจต่อ บริษัท พฤกษาโฮลดิ้ง (PSH) ต่ำแม้ว่า บล.ทิสโก้ จะแนะนำ "ซื้อ" โดยชอบ PSH เนื่องจาก 1) การดำเนินงานที่ดีขึ้นจาก ค่าใช้จ่ายการบริหารและการขายที่ลดลง 2) แนวโน้มการพัฒนาโรงแรมที่ดีขึ้น (มีแผนในการร่วมลงทุน (JV) ธุรกิจโรงพยาบาล)
สำหรับบริษัท ศุภาลัย (SPALI) นักลงทุนกังวลในโครงการที่ก่อสร้างบนสถานทูตออสเตรเลียเดิมที่ถนนสาทร จากข้อจำกัดด้านแบรนด์ และความสูงอาคาร ด้านบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา (CPN) นักลงทุนกว่าครึ่งมองว่าราคาแพงเกินไปแล้ว สอดคล้องกับที่แนะนำให้ถือโดยยังขาดปัจจัยบวกใหม่
เน้นโครงการแนวราบ
หุ้นแนะนำให้ "ซื้อ" LH, QH, PSH และบริษัท เอพี (ไทยแลนด์) หรือ AP มูลค่าที่เหมาะสม 13.10, 4.50, 27 และ 9.60 บาท ตามลำดับ ได้เน้นโครงการแบบแนวราบและแนะนำให้ซื้อ จากแผนการเปิดตัวที่ดีขึ้นในปี 2561 และใช้สัดส่วนราคาต่อกำไร (พี/อี) เฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี ในการประเมินมูลค่าที่เหมาะสม
ความเสี่ยงสำคัญคือการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น ยอดจองที่อ่อนแอ การขึ้นดอกเบี้ย การลงทุนที่กระทบกระแสเงินสด และส่วนลดที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ ปัจจัยบวกคือความต้องการที่เพิ่มขึ้น การก่อสร้างระบบขนส่งมวลชน ความล่าช้าในการขึ้นดอกเบี้ยและการแข่งขันในตลาดที่ลดลง
นักวิเคราะห์ บล.ทิสโก้ ได้พบ ผู้บริหารของบริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ (ORI ) บริษัทมีตัวเลขประมาณการที่แน่นอนจากผลกระทบในการทำสัญหรือที่เรียกว่าการปันส่วนราคาซื้อ (PPA) ที่จะกระทบอัตรากำไรขั้นต้นของบริษัทจากการเข้าซื้อโครงการ Park 24 ที่จะต้องมีการประเมินค่าตัดจำหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้มาจากการรวมธุรกิจ โดยมีการตีมูลค่าสินทรัพย์ที่ใช้ PPA มีการปรับลดอัตรากำไรขั้นต้น และกำไรสุทธิลงของปี 2561-2562 ได้ราคาเป้าหมายใหม่ที่ 23.25 บาท และยังคงแนะนำ "ซื้อ"
ปรับประมาณการอัตรากำไรขั้นต้น ลงอยู่ที่ 32% และ 34% จาก 38% และ 36% ในปี 2561-2562 มีการปรับอัตรากำไรขั้นต้นลงอยู่ที่ 32% และ 34% จาก 38% และ 36% ในปี 2561-2562 จากผลกระทบข้างต้นซึ่งระมัดระวังกว่าที่บริษัทประมาณการ อัตรากำไรขั้นต้นไว้ที่ 36% ในปี 2560 อัตรากำไรขั้นต้น ของ Park 24 (หลัง PPA) อยู่ที่ 15% การที่บริษัทตั้งเป้าอัตรากำไรขั้นต้นรวมไว้ที่ 36% แสดงว่าอัตรากำไรขั้นต้น Park 24 จะต้องอยู่ที่ 25% แต่คาดไว้ที่ 15% เท่าเดิม
ปรับกำไรสุทธิลง 13% และ 17% ในปี 2561-2562 อยู่ที่ 1,600 ล้านบาท และ 2,300 ล้านบาท ในปี 2561-2562 ตามลำดับ หากไม่รวมกำไรจาก Premium Shares ที่ได้จากการร่วมลงทุนกับ NRED หรือ โนมูระ เรียลเอสเตท ดีเวลลอป เมนท์ ในปี 2560 คาดว่าบริษัทจะมีอัตราการเติบโตของกำไรสุทธิที่ 17% จากปี 2560 คาดว่าอัตราส่วนค่าใช้จ่ายการขายและการบริหารต่อรายได้จะลดลงอยู่ที่ 13.5% ในปี 2561 จาก 16.6% ในปี 2560 และเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 14.3% ในปี 2562
ราคาเป้าหมายใหม่อยู่ที่ 23.25 บาท อ้างอิงพี/อีที่ 25.3 เท่าสำหรับปี 2561ที่ 25.3 เท่า คิดเป็น พี/อีที่เติบโตที่ 1 เท่าของการเติบโต 3 ปี โดยคาดว่าการเติบโตของกำไรต่อหุ้นจะสูงกว่าคู่แข่ง เช่น AP บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ (LPN)SPALI และ PSH ในปี 2560-2561 จากงานในมือที่สูง และสัดส่วนของโครงการคอนโดมิเนียมที่เพิ่มขึ้น มีความเสี่ยงสำคัญคือยอดจองและโอนที่ต่ำกว่าคาด การยกเลิกการจอง ความเสี่ยงจากรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) และการพึ่งพาโครงการประเภทคอนโดมิเนียม