อสังหาฯเสนอปลดล็อก39อาชีพเปิดทางคนต่างด้าวทำงานถูกกม.
Loading

อสังหาฯเสนอปลดล็อก39อาชีพเปิดทางคนต่างด้าวทำงานถูกกม.

วันที่ : 24 กรกฎาคม 2560
อสังหาฯเสนอปลดล็อก39อาชีพเปิดทางคนต่างด้าวทำงานถูกกม.
"อสังหาฯ

เอกชนวอนรัฐบาลแก้ปัญหาแรงงานให้ถูกจุด อนุโลมภาคก่อสร้างเคลื่อนย้ายแรงงานได้  ปลดล็อก 39 อาชีพให้แรงงานต่างด้าวทำงานได้ถูกต้องตามกฎหมาย แนะตั้งโต๊ะรับสมัครแรงงานตามแนวชายแดนช่วยแรงงานเสียค่าใช้จ่ายน้อย

นายอิสระ บุญยัง กรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัทกานดา พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด และนายกกิตติมศักดิ์ สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวถึงปัญหาแรงงานต่างด้าวว่า ต้องยอมรับว่าประเทศไทยยังต้องพึ่งพิงแรงงานจากต่างประเทศ โดยเฉพาะในอาชีพที่ต้องใช้แรงงานหนัก สกปรกและอันตราย ซึ่งงานเหล่านี้คนไทยไม่ทำ การออก พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560  จึงส่งผลกระทบต่อทุกอุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งพิงแรงงานต่างด้าว ในอดีตปัญหาขาดแคลนแรงงานมักจะเกิดในฤดูเก็บเกี่ยวที่แรงงานส่วนใหญ่จะกลับบ้านในต่างจังหวัดเพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร

แต่ในปัจจุบันเศรษฐกิจในภูมิภาคเติบโตขึ้น แรงงานจึงกลับไปทำงานใกล้บ้าน ทำงานอุตสาหกรรมต้องพึ่งพิงแรงงานต่างด้าว

อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าไทยมีแรงงานต่างด้าวเข้าเมืองแบบผิดกฎหมาย แรงงานเหล่านี้หลั่งไหลเข้ามานานนับ 10 ปี ทำให้ไทยมีแรงงานตางด้าวผิดกฎหมายจำนวนมาก แม้ว่าที่ผ่านมารัฐบาลจะออกกฎระเบียบข้อบังคับ เพื่อให้มีการจ้างงานอย่างถูกกฎหมาย แต่ ในทางปฏิบัติทำได้อยาก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมก่อสร้าง และยังมีปัญหาการย้ายงานของแรงงานต่างด้าว

ทั้งที่นายจ้างต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการขึ้นทะเบียนแรงงาน แต่เมื่อขึ้นเสร็จแรงงานคนดังกล่าวกลับย้ายไปทำงานที่อื่น ทำให้นายจ้างไม่อยากขึ้นทะเบียนแรงงาน

สำหรับปัญหาแรงงานในภาคอุตสาหกรรมก่อสร้าง ที่ต้องการให้รัฐบาลช่วยแก้ไข คือการอนุญาตให้แรงงานสามารถเคลื่อนย้ายสถานที่และเขตทำงานได้ เนื่องจากงานก่อสร้างจะต้องเคลื่อนย้ายอยู่ตลอดเวลา ในบางพื้นที่แค่ข้ามถนนก็คนละเขตพื้นที่ ทำให้นายจ้างต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการแจ้งย้ายสถานที่ทำงาน และยังเป็นช่องว่างให้เจ้าหน้าที่บางรายเรียกรับผลประโยชน์อีกด้วย

นอกจากนี้ รัฐบาลควรปลดล็อก 39 อาชีพที่สงวนไว้สำหรับคนไทย อาทิ 1.งานกรรมกร 2.งานกสิกรรรม งานเลี้ยงสัตว์ งานป่าไม้ หรืองานประมง ยกเว้นงานที่ใช้ความชำนาญ งานเฉพาะสาขา หรืองานควบคุมดูแลฟาร์ม 3. งานก่ออิฐ งานช่างไม้ หรืองานก่อสร้างอื่น 4. งานแกะสลักไม้ 5.งานขายของหน้าร้าน เป็นต้น ซึ่งงานเหล่านี้ในปัจจุบันคนไทยไม่อยากทำ โดยเฉพาะอาชีพ กรรมกร งานประมง งานเยงสัตว์  นั้นหมายความว่าแรงงานที่ทำงานในอุตสาหกรรมก่อสร้างทำงานอย่างผิดกฎหมายหรือไม่ ทั้งนี้กฎหมายดังกล่าวมีมาอย่างช้านาน ยุคสมัย ที่เปลี่ยนแปลง การเจริญก้าวหน้า เศรษฐกิจ ที่เปลี่ยนไป การทำงานของคนไทยจึงเปลี่ยนไป กฎหมายจึงควรปรับเปลี่ยนเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงของสังคม

นายอิสระ กล่าวต่อว่า การที่รัฐบาล คสช.ตัดสินใจใช้ ม.44 เลื่อนเวลาบังคับใช้ พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 บางมาตราที่มีผลกระทบเกี่ยวกับอัตราค่าปรับใหม่ออกไป 6 เดือน โดยให้มีผลบังคับใช้วันที่ 1 มกราคม 2561 แทน ซึ่งสุดท้ายแล้ววันที่ 1 มกราคม 2561 กฎหมายดังกล่าวย่อมมีผลบังคับใช้ การที่อัตราค่าปรับสูงเพื่อ เพื่อผลักดันให้มีการนำเข้าแรงงานอย่างถูกกฎหมายถือเป็นเรื่องที่ดี แต่ในทางปฏิบัติยังมีปัญหาตามมาอีกมาก ซึ่งรัฐบาลควรมีแนวทางเพื่อป้องกันและแก้ไข ปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมา

จากการสอบถามแรงงงานต่างด้าวพบว่า เมื่อรัฐบาลผลักดันให้แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย รวมถึงแรงงานที่ถือบัตรต่างๆแต่หมดอายุ ซึ่งแรงงานเหล่านี้เมื่อถูกผลักดันกลับประเทศแล้วต้องเวลานานหลายเดือนกว่าจะได้กลับเข้ามาทำงาน เพราะต้องกลับไปทำหนังสือหรือเอกสารถูกต้องตามกฎหมาย บางประเทศต้องเสีย เงินใต้โต๊ะจำนวนมากกว่าจะได้มาทำงาน

"การที่ต้องใช้บริษัทตัวแทนนำเข้าแรงงานหรือโบรกเกอร์เพียงไม่กี่ราย ย่อมเกิดปัญหาผูกขาดและทำให้เสียค่าใช้จ่ายสูง แม้ว่าการมาทำงานในไทยจะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 16,000 บาท แต่ในทางปฏิบัติแรงงานต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงกว่านั้นมาก บางรายต้องจำนองบ้าน ที่ดินเพื่อให้ได้เงินมาเป็นค่าใช้จ่ายในการมาทำงาน กฎหมายนี้ออกมาเหมือนทำให้เกิดการค้ามนุษย์อย่างถูกกฎหมาย" แรงงานภาคก่อสร้าง รายหนึ่งกล่าว

นายอิสระกล่าวว่า รัฐบาลควรมีมาตรการหรือ หน่วยงานที่เข้ามาช่วยเหลือแรงงานเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการเข้ามาทำงาน ในไทย เช่นส่งเจ้าหน้าที่ตั้งหน่วยรับสมัครแรงงานต่างด้าวโดยตรงตามหัวเมืองชาย แดน เพื่อให้แรงงานเหล่านั้นมาสมัครงานโดยตรงกับรัฐบาล

 
ที่มา: ผู้จัดการรายวัน 360 องศา
ข่าวกฎหมายอสังหาฯ อื่นๆ