สมคิด ผนึกจีนบูมอีอีซีปั้นอู่ตะเภาเมืองการบิน
Loading

สมคิด ผนึกจีนบูมอีอีซีปั้นอู่ตะเภาเมืองการบิน

วันที่ : 26 เมษายน 2562
นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ โฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ เปิดเผยว่า ในระหว่างวันที่ 27-29 เม.ย. 62 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมทั้ง นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) และผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) จะเดินทางไปยังเมืองเจิ้งโจว มณฑลเหอหนาน ประเทศจีน เพื่อร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือ หรือ เอ็มโอยู 2 ฉบับ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาท่าอากาศยานและเมืองการบินอู่ตะเภาในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี กับท่าอากาศยาน และมหานครการบินเจิ้งโจว
          นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ โฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ เปิดเผยว่า ในระหว่างวันที่ 27-29 เม.ย. 62 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมทั้ง นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) และผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) จะเดินทางไปยังเมืองเจิ้งโจว มณฑลเหอหนาน ประเทศจีน เพื่อร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือ หรือ เอ็มโอยู 2 ฉบับ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาท่าอากาศยานและเมืองการบินอู่ตะเภาในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี กับท่าอากาศยาน และมหานครการบินเจิ้งโจว

          สำหรับ เอ็มโอยู ทั้ง 2 ฉบับนั้น ฉบับแรก เป็นความร่วมมือระหว่าง สกพอ. กับคณะกรรมการบริหารเขตเศรษฐกิจพิเศษอากาศยานเจิ้งโจว ครอบ คลุมความร่วมมือแลกเปลี่ยนข้อมูลการวางแผนและการบริหารจัดการมหานครการบินระหว่างสองฝ่ายโดยจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมความร่วมมือในกิจกรรมการพัฒนาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบิน เช่น การท่องเที่ยว การค้า และการลงทุน

          ส่วนฉบับที่ 2 เป็นความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนการค้าและกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่าง สกพอ. กับมณฑลเหอหนาน ประเทศจีน มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการสนับสนุนการพัฒนาโครงการศูนย์การบินคู่ขนาน ระหว่างจีนตอนกลางและภูมิภาคอาเซียน เสริมสร้างความร่วมมือทางการบิน และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการบิน เช่น โลจิสติกส์การบิน การซ่อมบำรุงอากาศยาน หลักสูตรอบรมบุคลากร การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี เป็นต้น รวมทั้งยังเป็นการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันภายใต้กรอบความริเริ่มเส้นทางสายไหมใหม่ของจีนหรือเบลท์แอนด์โรด

          ทั้งนี้ จากข้อมูลการค้าการลงทุนในปี 61 ที่ผ่านมา มณฑลเหอหนาน และประเทศไทยมีมูลค่าการค้าระหว่างกันสูงถึง 874 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเหอหนานนำเข้าสินค้าจากประเทศไทย 272 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และส่งออกสินค้ามายังประเทศไทย 602 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งสองฝ่ายมีเป้าหมายร่วมกันที่จะผลักดันมูลค่าทางการค้าให้ได้ 1,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 64
 
ข่าวเขตเศรษฐกิจพิเศษ อื่นๆ