รถไฟฟ้าสีน้ำเงิน จุดพลุคอนโดฯ ฝั่งธนฯรอบ2
Loading

รถไฟฟ้าสีน้ำเงิน จุดพลุคอนโดฯ ฝั่งธนฯรอบ2

วันที่ : 24 มิถุนายน 2562
ตลาดอสังหาริมทรัพย์ใน 2 ไตรมาสแรกของปี 62 ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมสินเชื่อ ที่อยู่อาศัยใหม่ (LTV)เริ่มคึกคักอีกรอบ โดยเฉพาะตลาดคอนโดมิเนียมแนวรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เมื่อข่าวการ เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการถูกกำหนดให้เปิดทดลองเดินรถเสมือนจริง เมื่อวันที่ 12-13 ม.ย. ก่อนจะเปิดทดลองวิ่งเพื่อให้ประชาชนได้ใช้บริการโดยไม่เก็บค่าโดยสาร 1 เดือน ซึ่งจะเริ่มต้นในเดือน ก.ค.นี้ ก่อนจะมีการเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในวันที่ 12 ส.ค. 62
          อสังหาฯชี้ห้องชุดคึกคัก-ซัปพลายระบายเร็วขึ้น

          อสังหาริมทรัพย์

          ตลาดอสังหาริมทรัพย์ใน 2 ไตรมาสแรกของปี 62 ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมสินเชื่อ ที่อยู่อาศัยใหม่ (LTV)เริ่มคึกคักอีกรอบ โดยเฉพาะตลาดคอนโดมิเนียมแนวรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เมื่อข่าวการ เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการถูกกำหนดให้เปิดทดลองเดินรถเสมือนจริง เมื่อวันที่ 12-13 ม.ย. ก่อนจะเปิดทดลองวิ่งเพื่อให้ประชาชนได้ใช้บริการโดยไม่เก็บค่าโดยสาร 1 เดือน ซึ่งจะเริ่มต้นในเดือน ก.ค.นี้ ก่อนจะมีการเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในวันที่ 12 ส.ค. 62

          ทั้งนี้ ภาวะตลาดที่อยู่อาศัยแนวสูงที่มีการ ขยายตัวร้อนแรงตลอด 5 ปีก่อนหน้าเริ่มชะลอตัวลง เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาแสดงความกังวลเกี่ยวกับซัปพลายที่ขยายตัวสูง จนอาจเกิดภาวะ โอเวอร์ซัปพลายในช่วง 2 ปีก่อนนี้ และยิ่งชะลอตัวหนักในช่วงปลายปี 61 ต่อเนื่องมาถึงครึ่งแรกของปี 62 นี้ จากการบังคับใช้มาตรการ LTV เมื่อวันที่ 1 เม.ย.ที่ผ่านมา

          เปิดใช้สายน้ำ เงินหนุนตลาดห้องชุดฝั่งธนฯ คึกคักเชื่อเพิ่มอัตราการระบายออกซัปพลายในพื้นที่

          ล่าสุดหลังข่าวการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ได้กลับมาสร้างความคึกคัก ให้แก่โครงการ คอนโดฯ ในแนวรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินอีกครั้ง โดย ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เสนา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ SENA กล่าวว่า การเปิดใช้รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน แน่นอนว่า จะส่งผลดีต่อตลาดอสังหาฯ โดยเฉพาะตลาดคอนโดฯ เพราะสายสีน้ำเงินแม้จะเปิดหน้าดิน หรือทำเลใหม่ๆ ไม่มาก เพราะสายสีน้ำเงินนี้ มีการเปิดหน้าดินไปแล้วตั้งแต่ช่วงที่มีข่าวการลงทุนก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน แต่จะมีผลดีต่อการระบายซัปพลายในพื้นที่มากกว่า เนื่องจากสายสีน้ำเงินช่วงหัวลำโพง-บางแคนี้ วิ่งผ่าน เมืองเก่า ชุมชนเก่า เช่น ถนนอิสระภาพ ถนนพรานนก ซึ่งยังไม่เคยมีรถไฟฟ้าวิ่งผ่าน จึงมั่นใจว่าจะช่วยกระตุ้นตลาดคอนโดฯ กลับมาอีกรอบหนึ่ง ผลที่ตามมาคือ การขายจะง่ายขึ้น

          ส่วนในเรื่องราคาที่ดินแนวรถไฟฟ้าหลังการ เปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินนั้น เชื่อว่าจะยังไม่ปรับตัวขึ้นเพราะในช่วงก่อนหน้านี้ราคาที่ดินมีการปรับตัวติดต่อกันมาค่อนข้างมาก ในขณะเดียวกันราคาที่ดิน ก็ไม่น่าจะปรับตัวลง ส่วนราคาขายคอนโดฯ ในแนวรถไฟฟ้าดังกล่าว ทั้งโครงการเดิมที่มีการเปิดขาย ไปแล้ว หรือโครงการใหม่ๆ ที่จะเข้าไปเปิดตัวน่าจะยัง ไม่ปรับตัวขึ้น เนื่องจากภาวะตลาดปัจจุบันไม่เอื้อต่อ การปรับตัวของราคาขายห้องชุด ซึ่งแน่นอนว่าส่วนหนึ่งเกิดจากผู้พัฒนาโครงการยังระมัดระวังในการทำตลาด

          สำหรับจุดที่น่าจะมีการเปิดตัวโครงการหนา แน่นนั้น เชื่อว่าปัจจุบันการเลือกทำเลพัฒนาโครงการ ของผู้ประกอบการจะไม่กระจุกที่ใดที่หนึ่งเช่นเดียวกับ ช่วงแรกที่มีข่าวการลงทุนก่อสร้างรถไฟฟ้า แต่ผู้พัฒนา จะพิจารณาถึงปัจจัยแวดล้อมของแต่ละทำเลว่า มีสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต ของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเพียงพอหรือไม่ เช่น มีห้าง สรรพสินค้า มีโรงพยาบาล มีร้านค้า ร้านอาหาร และมี สวนสาธารณะ ในพื้นที่ที่จะเข้าไปพัฒนามากน้อยอย่างไร

          "ปัจจัยด้านสิ่งอำนวยความสะดวกมากกว่า ที่จะเป็นตัวดึงดูด หรือปัจจัยที่ทำให้ผู้พัฒนาโครงการ ตัดสินใจเข้าไปลงทุนพัฒนาโครงการใหม่ในแต่ละทำเล เพราะแม้ว่าคอนโดฯ ที่เปิดตัวอยู่ติดกับสถานีรถไฟฟ้า แต่เมื่อพิจารณาดูแล้วต้องยอมรับว่าในบางโครงการ ที่เปิดตัวติดสถานีรถไฟฟ้าเหมือนกัน แต่ก็ไม่ขายดี เท่ากัน เพราะสิ่งอำนวยความสะดวกแตกต่างกัน และ อีกปัจจัยที่จะทำให้ขายดีหรือไม่ดีคือราคาขายและ สิ่งที่โครงการให้ เมื่อเทียบกับโครงการในพื้นที่เดียวกัน"

          ซัปพลายสะสมสายสีน้ำ เงินกว่า 48,384 ยูนิต

          ด้านนายสุรเชษฐ กองชีพ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟีนิกซ์ พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลล็อปเม้นท์ แอนด์ คอนซัลแทนซี่ จำกัด ผู้ให้บริการข้อมูลวิจัยและที่ปรึกษาโครงการตลาดอสังหาฯ กล่าวว่า รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย มีจุดเริ่มต้น 2 จุด คือ สถานีเตาปูนมาตามถนนประชาราษฎร์สาย 2 ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแล้วลงมาตามแนวถนนจรัญสนิทวงศ์มาสิ้นสุดที่สถานีท่าพระ อีกจุดคือ สถานีหัวลำโพงแล้วผ่านมาทางใต้ดินตามแนวถนนเจริญกรุงและลอดผ่านแม่น้ำเจ้าพระยา จากนั้นมาขึ้นสู่เส้นทางลอยฟ้า ย่านถนนอิสรภาพและมาบรรจบกับเส้นทางที่มาจากสถานีเตาปูนที่สถานีท่าพระ จากนั้น เลยไปตามถนนเพชรเกษมสิ้นสุดที่สถานีบางแค โดย เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่มาจากหัวลำโพง จะเปิด ให้บริการอย่างเป็นทางการในวันที่ 12 ส.ค. 62 และ ในปี 63 เส้นทางสายสีน้ำเงินจากเตาปูนจะเปิดให้บริการ

          สำหรับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินมีระยะทาง 27 กิโลเมตร 19 สถานี ซึ่งยาวมาก ดังนั้น พื้นที่ตามแนว เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินจึงมีพื้นที่ให้พัฒนาเยอะมาก แม้ว่าพื้นที่ส่วนหนึ่งจะอยู่ในเขตที่มีข้อจำกัดในการ พัฒนาค่อนข้างมาก เช่น พื้นที่ตามแนวถนนเจริญกรุง พื้นที่แนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน จึงเป็นพื้นที่ที่มี คอนโดฯ เปิดขายสะสมมากที่สุด เมื่อเทียบกับพื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าที่กำลังก่อสร้างอื่นๆ โดย ณ ปัจจุบันมีคอนโดฯ สะสมในตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินประมาณ 48,384 ยูนิต ซึ่งเริ่มเปิดขายตั้งแต่ปี 52 เพราะทั้งเส้นทางมีความชัดเจนมากก่อสร้างแล้ว ผู้ประกอบการ จึงเลือกพื้นที่ตามแนว ถนนเพชรเกษม จรัญสนิทวงศ์ และประชาราษฎร์ สาย 2 เพื่อพัฒนาคอนโดฯ โดยในช่วงปี 52-53 คอนโดฯ ที่เปิดขายมีราคาเฉลี่ย 71,000 บาทต่อตารางเมตร (ตร.ม.) แต่ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา เปิดขายกัน ในราคาเฉลี่ย 88,000 บาทต่อ ตร.ม.แต่ก็มีหลายโครงการมีอัตราการขายสูง หรือปิดการขายไปในช่วงที่ผ่านมา มีเพียงโครงการที่ เปิดขายในระดับราคามากกว่า 90,000 บาทต่อ ตร.ม. ที่ยังเหลือขายในปัจจุบัน

          แนวถนนเพชรเกษมแชมป์คอนโดฯ เปิดขายมากสุด 94%

          นายสุรเชษฐ กล่าวว่า สำหรับแนวทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ จะมีจำนวนคอนโดฯสะสมมากกว่า แนวเส้นทางรถไฟฟ้า หัวลำโพง-บางแค อย่างชัดเจน เพราะแนวเส้นทางช่วงบางซื่อ-ท่าพระ มีหลายโครงการที่เปิดขายก่อนหน้ามีการก่อสร้าง โดยเฉพาะพื้นที่แนวถนนจรัญสนิทวงศ์ ซึ่งมีผู้ประกอบการ เข้ามาซื้อที่ดินและเปิดขายคอนโดฯนานกว่า 10 ปีแล้ว พื้นที่ตามแนวถนนประชาราษฎร์สาย 2 เป็นอีกพื้นที่ที่ มีคอนโดฯ เปิดขายจำนวนมากในช่วงก่อนปี 55 ในขณะที่แนวเส้นทางช่วงหัวลำโพง-หลักสอง มีบางพื้นที่ที่หาที่ดินเพื่อพัฒนาคอนโดฯ ได้ยาก เช่น แนวถนนเจริญกรุง หรือช่วงที่ลอดผ่านแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นต้น โดยตามแนว เส้นทางช่วงบางซื่อ-ท่าพระ มีคอนโดฯ สะสมประมาณ 32,452 ยูนิต ส่วนพื้นที่ตามเส้นทางรถไฟฟ้าช่วงหัวลำโพงบางแคประมาณ 15,886 ยูนิต

          ขณะที่ เลียบถนนจรัญสนิทวงศ์ เป็นพื้นที่ที่ยังพอมีที่ดินเหลือให้พัฒนาอยู่มากกว่า แต่มีอุปสรรคสำคัญ คือพื้นที่ตลอดแนวถนนจรัญสนิทวงศ์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมายาวนานหลายปีก่อนหน้าแล้ว และพื้นที่ทั้งสองฝั่งก็เป็นอาคารพาณิชย์เกือบทั้งหมด แต่ก็ยังพอมีที่ดินเหลือให้พัฒนาคอนโดฯ อยู่บ้าง อีกทั้งเป็นถนนที่ขนานแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นจุดขายที่สำคัญ สำหรับตลาด คอนโดฯ อีกทั้งพื้นที่ตามแนวถนนประชาราษฎร์สาย 2 และจรัญสนิทวงศ์เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพอยู่แล้วมีโครงการพื้นที่ค้าปลีก โรงพยาบาล สถานศึกษา และโครงการ ขนาดใหญ่ที่กำลังจะพัฒนาอยู่ในพื้นที่ ซึ่งเป็นปัจจัย ดึงดูดกลุ่มผู้ซื้อ ขณะที่พื้นที่แนวเส้นทางหัวลำโพง- บางแค แม้จะมีโรงพยาบาลขนาดใหญ่ หรือศูนย์การค้า แต่ก็มีบางพื้นที่ที่ไม่สามารถหาที่ดินได้ มีเพียงพื้นที่ตามแนวถนนเพชรเกษมเท่านั้น ที่ยังมีที่ดินเหมาะกับการพัฒนา คอนโดฯ และเป็นพื้นที่สิ่งอำนวยความสะดวกรองรับ ผู้อยู่อาศัย อีกทั้งการเชื่อมต่อการเดินทางกับเส้นทางอื่นๆ ก็สะดวก ไม่ต่างจากพื้นที่ตามแนวถนนจรัญสนิทวงศ์

          ส่วนพื้นที่แนวรถไฟฟ้าช่วงหัวลำโพง-บางแค ที่จะทดลองเดินรถไฟฟ้าวิ่งในเดือน ก.ค. เป็นพื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่มีคอนโดฯ อยู่ประมาณ 15,886 ยูนิต หรือ 33% ของคอนโดฯ ทั้งหมดที่เปิดขายในพื้นที่ตามแนวรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินทั้ง 2 ช่วง โดย เป็นโครงการที่เปิดขายในช่วงปี 60 มากที่สุด เพราะมี คอนโดฯมากกว่า 5,230 ยูนิตเปิดขายในปีนี้ และพื้นที่ตามแนวถนนเพชรเกษมเป็นพื้นที่ที่มีคอนโดฯ เปิดขายมากที่สุด เนื่องจากตั้งแต่อดีตถึงเดือน พ.ค.62 มี คอนโดฯเปิดขายมาแล้วกว่า 18,640 ยูนิต หรือประมาณ 94% เนื่องจากพื้นที่อื่นๆ ตามแนวรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงหัวลำโพง-บางแค ไม่มีพื้นที่ในการพัฒนาคอนโดฯ หรือสามารถพัฒนาได้เฉพาะคอนโดฯ ขนาดเล็กเท่านั้น

          ห้องชุด "บางซื่อ-ท่าพระ" เกิน 3 ล้านขายยาก

          อัตราการขายเฉลี่ยของโครงการคอนโดมิเนียมที่เปิดขายในพื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงหัวลำโพง-บางแคอยู่ที่มากกว่า 85% แต่ยังคงมีคอนโดฯเหลือขายอยู่ไม่น้อย ในปัจจุบันราคาขายเฉลี่ยคอนโดฯในพื้นที่นี้อยู่ที่ประมาณ 82,000 บาทต่อตร.ม. หรือไม่เกิน 3 ล้านบาทต่ออยู่นิต (1 ห้องนอนขนาด 30-35 ตร.ม.) ซึ่งเป็นระดับราคาและขนาดยอดนิยมของตลาดคอนโดฯกรุงเทพฯ ส่วนโครงการที่ขายราคาสูงกว่านี้จะขายได้ยากและยังคงเหลือขายอยู่ในปัจจุบันแม้ว่าจะเปิดขายมามากกว่า 2 ปีแล้วก็ตาม ส่วนพื้นที่ตามแนวรถไฟฟ้าช่วงบางซื่อ-ท่าพระ มีอัตราการขายเฉลี่ยที่ต่ำกว่าชัดเจน เพราะมีคอนโดฯ มากกว่าและมีหลายโครงการที่มีอัตราการขายต่ำมาก เนื่องจากราคาขายบางโครงการที่สูงกว่า ค่าเฉลี่ยและเป็นราคาที่ผู้ซื้อฝั่งธนบุรีคิดว่าสูงเกินไป

          คาดปี62 คอนโดฯ ฝั่งธนบุรีเปิดใหม่ 3,000 ยูนิตราคาที่ดินจรัญฯ แตะ 300,000 บาทต่อ ตร.ว.

          นายสุรเชษฐกล่าวต่อว่า แม้ว่าตลาดคอนโดฯ ในพื้นที่ฝั่งธนบุรีจะเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อไม่มากและ ราคาขายต่ำกว่าฝั่งพระนคร แต่ก็ยังเป็นพื้นที่ที่ผู้ประกอบการให้ความสนใจในการเข้ามาเปิดขายโครงการใหม่ โดยในปี 62 คาดว่าจะมีคอนโดฯอีกประมาณ 2,500-3,000 ยูนิตเปิดขายใหม่โดยเป็นโครงการที่อยู่ตามแนวถนนเพชรเกษมและคาดว่าจะมีอีกเมื่อเส้นทางรถไฟฟ้าเปิดให้บริการแบบครบวงจรในอนาคต แต่ผู้ประกอบการต้องคำนึงถึงราคาขายของคอนโดมิเนียมในพื้นที่นี้ด้วยว่า ไม่ควรสูงเกินไป เพราะในพื้นที่ที่ไกลออกไปยังคงหา ทาวน์เฮาส์หรือบ้านพร้อมที่ดินในราคาที่ไม่เกิน 4 ล้านบาทต่อยูนิตได้อยู่และเป็นข้อเปรียบเทียบสำคัญที่มีผลให้คอนโดมิเนียมที่เปิดขายในราคาประมาณ 3 ล้านบาท ต่อยูนิตขึ้นไปขายได้ช้าในพื้นที่ฝั่งธนบุรี แม้ว่าจะเป็นโครงการที่อยู่ไม่ไกลจากสถานีรถไฟฟ้าก็ตาม

          ราคาที่ดินของพื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินทั้ง 2 ช่วงปรับเพิ่มขึ้นมากกว่า 10% ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา เพราะเมื่อการก่อสร้างของเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเริ่มเดินหน้าเป็นรูปธรรมในปี 55 เพราะแม้จะเริ่มก่อสร้างจริงในปี 53 แต่อุปสรรคหลายอย่างและปัญหาน้ำท่วมในปี 54 มีผลให้การก่อสร้างหยุดชะงักมาโดยตลอด โดยราคาที่ดินในช่วงปี 55-56 อยู่ที่ประมาณ 100,0000-300,000 บาทต่อตารางวา (ตร.ว.) ในพื้นที่ตามแนวถนนจรัญสนิทวงศ์อาจจะมีมากกว่า 300,000 บาท ต่อ ตร.ว.แต่ก็เพียงแค่บางพื้นที่ หรือไม่เกิน 200,000 บาทในพื้นที่ตามแนวถนนเพชรเกษม แต่เมื่อการก่อสร้างเดินหน้าชัดเจนและกำหนดเปิดให้บริการใกล้เข้ามาแล้ว ราคาที่ดินในปี พ.ศ.2562 อยู่ที่มากกว่า 200,000 บาทต่อตารางวาขึ้นไปตลอดพื้นที่ทั้ง 2 ช่วง อาจจะมีต่ำ กว่านี้ก็เป็นในบางพื้นที่ โดยที่ดินที่อยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้าส่วนใหญ่มีราคาขายมากกว่า 300,000 บาต่อตารางวา ขึ้นไป และคงมากกว่านี้ขึ้นไปอีกในอนาคต

          นอกจากเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินจะเป็น เส้นทางที่ต่อขยายจากเส้นทางรถไฟฟ้าสีน้ำเงินเดิมแล้วยังเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าที่มีการเชื่อมต่อกับเส้นทางรถไฟฟ้าอื่นๆ ด้วยในอนาคต เช่น สถานีเตาปูน ซึ่งเป็นสถานีร่วมกับเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วง ซึ่งตอนนี้เป็นพื้นที่ที่มีโครงการคอนโดฯ หนาแน่นพื้นที่ที่หนึ่งและเป็นพื้นที่ที่มี การเปลี่ยนแปลงมากแห่งหนึ่งของ กทม.ในรอบ 10 ปี สถานีรถไฟฟ้าสิรินธรที่เป็นสถานีรถไฟฟ้าร่วมทางรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อนซึ่งเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้วเพียงแต่ยังไม่เต็มระบบ ซึ่งคาดว่าต้องรอให้สถานีกลางบางซื่อเปิดให้บริการแบบสมบูรณ์ก่อนจึงจะสามารถเปิดให้บริการแบบเต็มรูปแบบได้ อีกทั้งจะมีการต่อขยายเส้นทางนี้ออกไปทางตะวันตกถึงศาลายาในอนาคต  3. สถานีรถไฟฟ้าบางขุนนนท์ซึ่งในอนาคตเมื่อเส้นทางรถไฟฟ้าสายส้มตะวันตกเสร็จสมบูรณ์จะเป็นสถานีร่วมอีก 1 สถานีที่มีความน่าสนใจ เนื่องจากเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าที่วิ่งผ่านใจกลางกรุงเทพมหานครจากตะวันตกไปตะวันออกซึ่งเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าเส้นทางเดียวที่มีเส้นทางในลักษณะนี้ ดังนั้น สถานีรถไฟฟ้าบางขุนนนท์เป็นอีกสถานีที่มีความน่าสนใจในอนาคต

          นายสุรเชษฐ กล่าวอีกว่า ขณะที่สถานีรถไฟฟ้าท่าพระสถานีร่วมของเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินแม้ว่าจะเป็นสถานีที่ไม่ได้ร่วมกับเส้นทางอื่น แต่ด้วยความที่เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงบางซื่อ-ท่าพระมาสิ้นสุดที่ตรงนี้นั้นจึงเป็นอีกสถานีที่น่าสนใจแน่นอน เพราะ เส้นทางช่วงบางซื่อ-ท่าพระก็เรียบเสมือนเส้นทางรถไฟฟ้าอีก 1 เส้นทางเพราะมาจากพื้นที่ที่แตกต่างกัน ส่วนสถานีรถไฟฟ้าบางหว้าสถานีร่วมของเส้นทางรถไฟฟ้าขนาดใหญ่อีก 1 สถานีเพราะเป็นสถานีที่ผู้โดยสารของสายสีน้ำเงินสามารถเข้าสู่ระบบรถไฟฟ้าเพื่อเดินทางเข้าพื้นที่ใจกลางกรุงเทพมหานครได้สมบูรณ์แบบที่สุดเพราะเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่มาสิ้นสุดที่สถานีบางหว้าเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าสายหลักของกรุงเทพมหานคร

          การเกิดจุดตัดเส้นทางเดินรถ หรือสถานีรถไฟฟ้าร่วมต่างๆ ทำเลนั้น น่าสนใจ เพราะศักยภาพของพื้นที่ อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงผังเมืองและข้อกำหนดในการพัฒนาต่างๆ ของผังเมืองกรุงเทพมหานครในบางพื้นที่ซึ่งช่วยเพิ่มศักยภาพของพื้นที่รอบๆ สถานีรถไฟฟ้า ร่วมต่างๆ แน่นอนในอนาคตซึ่งไม่เพียงแต่เพิ่มศักยภาพเท่านั้น แต่ยังมีผลโดยตรงต่อราคาที่ดินในพื้นที่เพราะเมื่อศักยภาพของที่ดินเปลี่ยนไปมากขึ้น ราคาที่ดิน ย่อมสูงขึ้นตามไปด้วย แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นการที่สถานีรถไฟฟ้าใดก็ตามจะมีศักยภาพเพิ่มขึ้นได้แบบชัดเจนต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงในด้านกฎหมาย โดยเฉพาะผังเมืองประกอบด้วย ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงก็คงไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว

          ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นอกจากแนวรถไฟฟ้า สายสีน้ำเงินช่วงจรัญสนิทวงศ์ เพชรเกษม บางแคแล้ว ทำเลย่านตลาดพลู ก็เป็นอีกหนึ่งทำเลที่ได้รับอานิสงส์ไปเต็มๆ เนื่องจากเป็นชุมชน เก่าแก่และยังมีที่ดินดิบอีกไม่น้อยที่สามารถพัฒนาคอนโดฯ ได้  ทำให้ย่านตลาดพลูกลายเป็นอีกทำเลสำคัญที่ได้รับความสนใจจาก ผู้ประกอบการอสังหาฯ โดยก่อน หน้านี้ อสังหาฯรายใหญ่อย่างเสนาฯ ก็ได้ซื้อที่ดินพร้อมเตรียมเปิดตัว คอนโดฯ ร่วมทุนโครงการ ขณะที่ ศุภาลัย เป็นอีกเจ้าที่เตรียมเปิดตัวโครงการใหม่ภายใต้ชื่อ "ศุภาลัย ลอฟท์ สถานีตลาดพลู" ล่าสุด "อัลติจูด ดีเวลลอมเม้นท์" ก็เตรียมเปิดตัวคอนโดฯ ร่วมทุนญี่ปุ่น ภายใต้ชื่อ "อัลติจูด ยูนิคอร์น สาทรท่าพระ" ซึ่งมีที่ตั้งโครงการอยู่ติดกับสถานีตลาดพลู
 
ข่าวโครงการอสังหาฯ ภาคเอกชน อื่นๆ