ที่ดินนิคมอุตสาหกรรมฮอต EECตัวเร่งต่างชาติลงทุนตั้งโรงงาน
Loading

ที่ดินนิคมอุตสาหกรรมฮอต EECตัวเร่งต่างชาติลงทุนตั้งโรงงาน

วันที่ : 27 มกราคม 2563
นายปฏิมา จีระแพทย์ ประธานกรรมการบริษัท ฟีนิกซ์ พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลล็อปเม้นท์ แอนด์ คอนซัลแทนซี่ จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจด้านที่ปรึกษาอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร เปิดเผยว่า การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
          นายปฏิมา จีระแพทย์ ประธานกรรมการบริษัท ฟีนิกซ์ พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลล็อปเม้นท์ แอนด์ คอนซัลแทนซี่ จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจด้านที่ปรึกษาอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร เปิดเผยว่า การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เป็นเหมือนตัวเร่งให้ภาคอุตสาหกรรมของไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดยเฉพาะหลังจาก โครงการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานต่างๆภายในพื้นที่ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง คืบหน้า เป็นรูปธรรม

          ทั้งนี้นิคมอุตสาหกรรมที่ยังมีศักยภาพหรือมีที่ดินเหลือ ต่างเร่งพัฒนาพื้นที่ภายในของตนเอง เพื่อรองรับการเข้ามาลงทุนของนักลงทุนต่างชาติกันมากขึ้น ประกอบกับความขัดแย้งทางการค้าระหว่าง 2 ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา และจีน ยิ่งเป็นอีกปัจจัยกดดันให้บริษัทที่เกี่ยวข้องกับทั้ง 2 ประเทศนี้ จำเป็นต้องหาช่องทางในการลงทุนเพื่อตั้งโรงงานผลิตสินค้าในประเทศอื่นๆ มากขึ้น แม้ไทยอาจจะไม่ใช่ประเทศเป้าหมายอันดับที่ 1 ของนักลงทุนต่างชาติ แต่ก็มีบริษัทต่างชาติจำนวนไม่น้อยเข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น โดยเฉพาะบริษัท ที่มีโรงงานที่ใช้เทคโนโลยีทันสมัยในการผลิต

          "ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ มีผลให้ตลาดนิคม อุตสาหกรรมในภาคตะวันออกขยายตัวต่อเนื่อง มีการ ขยายพื้นที่และซื้อที่ดินใหม่กันมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงก่อนที่ผังเมืองของ EEC จะมีผลบังคับใช้ เพื่อที่จะได้มีพื้นที่อุตสาหกรรมสอดคล้องกับการใช้ ประโยชน์ที่ระบุในผังเมือง EEC" นายปฏิมา กล่าว

          อย่างไรก็ตาม ไม่เพียงแต่นิคมอุตสาหกรรมเท่านั้นที่มีการขยายตัว แต่คลังสินค้าหรือโลจิสติกส์ พาร์ค ก็เปลี่ยนรูปแบบไปจากเดิม มีผู้เล่นรายใหญ่และหน้าใหม่ที่เข้ามาลงทุนธุรกิจการรับ-ส่งพัสดุในไทยมากขึ้น รวมไปถึงการขยายตัวของธุรกิจซื้อขายสินค้าออนไลน์ที่มีผลโดยตรงต่อธุรกิจรับ-ส่งพัสดุในไทย โดยมีบริษัทต่างชาติที่ให้บริการด้านรับ-ส่งพัสดุเข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น เห็นได้จากโลจิสติกส์ พาร์คสมัยใหม่ในพื้นที่ตามแนวถนนบางนา-ตราด พหลโยธิน พระราม 2 มีเกิดขึ้นให้เห็นต่อเนื่องในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา และคาดว่าจะยังคงขยายตัวต่อเนื่องไปทั่วประเทศในอนาคต ซึ่งการที่ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวมากขึ้น มีผลต่อเนื่องไปยังตลาดที่อยู่อาศัยและพื้นที่ค้าปลีกในพื้นที่โดยรอบที่ขยายตัวมากขึ้นตามไปด้วย

          สำหรับธุรกิจโรงพยาบาลก็เป็นอีกหนึ่งธุรกิจ ที่น่าจับตามองในอนาคต โดยเฉพาะกลุ่มโรงพยาบาลเอกชนที่มีการขยายตัวต่อเนื่องตลอดหลายปี ที่ผ่านมา โดยโรงพยาบาลเอกชนมีสัดส่วนประมาณ 54% ของจำนวนโรงพยาบาลทั้งหมดในไทยที่มีอยู่ 641 แห่ง ซึ่งสัดส่วนที่มากกว่าของโรงพยาบาลเอกชน แสดงให้เห็นว่าธุรกิจโรงพยาบาลเป็นหนึ่งในธุรกิจที่น่าสนใจจนภาคเอกชนที่เข้ามาลงทุน

          นอกจากนี้ยังมีการไล่ซื้อกิจการหรือ ควบรวมกิจการกันต่อเนื่องด้วย เพราะธุรกิจโรงพยาบาลยังมีช่องว่างให้สามารถขยายตัวต่อไปได้ในอนาคต ทั้งจากผู้ใช้บริการชาวไทยและชาวต่างชาติ กลุ่มโรงพยาบาลเอกชนหลายรายมีเครือข่ายหรือการบริการในต่างประเทศ โดยเฉพาะในภูมิภาคตะวันออกกลาง และอาเซียน เนื่องจากในช่วงหลายปีที่ผ่านมามีผู้ใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนในไทยส่วนหนึ่งมาจากตะวันออกกลางและอาเซียน เช่น ซาอุดีอาระเบีย กาตาร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เมียนมา และญี่ปุ่น

          อย่างไรก็ตาม แม้สัดส่วนผู้ใช้บริการชาวต่างชาติจะมีประมาณ 7% ของจำนวนผู้ใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนทั้งหมดที่มีประมาณ 62 ล้านคน และส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่มาจากกลุ่มนักท่องเที่ยวทั่วไปและนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์มากถึง 80% สร้างรายได้ประมาณ 32,000 ล้านบาท ในปี 2561 เพิ่มขึ้น 18% จากปี 2560 โดยส่วนหนึ่งที่โรงพยาบาลเอกชนในไทยได้รับความสนใจจากชาวต่างชาติ คือ โรงพยาบาลเอกชนกว่า 66 แห่งในไทย ได้รับการรับรองมาตรฐานระดับสากลจาก Joint Commission International Accreditation (JCI)
 
ข่าวเขตเศรษฐกิจพิเศษ อื่นๆ