อสังหาฯรายเล็ก ยกธงขาว
วันที่ : 26 เมษายน 2563
โควิด -19 กระทบ อสังหาฯ รายเล็ก ยกธงขาว
อสังหาฯรายเล็กยกธงขาวหากโควิดไม่จบ ปิดกิจการระนาว เผยในพื้นที่อีสานมี 400 โครงการ สมาคมอสังหาฯขอนแก่นเสนอ ผู้ประกอบการรายใหญ่ หยุดสร้างซัพพลาย หันมาช้อนซื้อโครงการพื้นที่
มีผู้ประกอบการรายเล็กในภูมิภาค กังวลว่าหากสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา หรือโควิด-19 ยังไม่ยุติลงใน 3-6 เดือน ประเมินว่าหลายบริษัทอาจถึงขั้นปิดกิจการ โครงการสร้างค้างเพราะไม่มีคนซื้อ จากความไม่เชื่อมั่นในเศรษฐกิจ ขณะดอกเบี้ยเงินกู้ยังเดินตลอดเวลา
นายชาญณรงค์ บุริสตระกูล นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์จังหวัดขอนแก่น เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ผู้ประกอบการภาคอีสาน ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 กำลังซื้อหายไปจากตลาด ขณะผู้ประกอบการหลายราย อาจขาดสภาพคล่องหากสถานการณ์ยังไม่คลี่คลายในเร็ววัน ขณะโครงการรายเล็ก สถาบันการเงินไม่ปล่อยกู้ ส่งผลให้โครงการใหญ่จึงเกิดขึ้นน้อยมาก
อย่างไรก็ตาม เสนอผู้ประกอบการรายใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ ชะลอการมองหาที่ดินขึ้นโครงการใหม่ แล้วหันมาซื้อโครงการของผู้ประกอบการรายเล็กแทนต่อยอดธุรกิจ เพราะมองว่าแต่ละค่ายสำหรับอสังหาฯรายเล็กสายป่านไม่ยาวเหมือนค่ายใหญ่
จากการสำรวจโครงการบ้านจัดสรร และคอนโดมิเนียมในภาคอีสาน มีมากถึง 300-400 โครงการ เฉลี่ย 50-100 หน่วย ที่อยู่ระหว่างเปิดขายท่ามกลางวิกฤติโคโรนา โดยในจังหวัดขอนแก่นมีสต๊อกโครงการที่ต้องระบายกว่า 1,000 หน่วย
นายนิพันทฐ์ สัจจะไพบูลย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท กนก สุนิสิ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด บริษัทพัฒนาที่ดินแบรนด์บ้านพฤกษา จังหวัดอุดรธานี เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่าผู้ประกอบการท้องถิ่นนอกจากได้รับผลกระทบจากค่ายใหญ่จากส่วนกลางเข้าพื้นที่แล้ว ยังได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ลูกค้าต่างเบรกซื้อโครงการ โดยมองว่าไม่มีความมั่นคงในชีวิตขณะโครงการในอุดรที่เปิดขาย 20 โครงการ ต่างได้รับผลกระทบเพราะส่วนใหญ่กู้ไฟแนนซ์ ดอกเบี้ยสูงกว่าสถาบันการเงิน หากขายไม่ได้ และโควิดยังอยู่ 6 เดือน คาดว่าทุกค่ายอาจล้มตายปิดกิจการเพราะแบกดอกเบี้ยไม่ไหว ขณะที่บริษัทค่อนข้างโชคดี และไม่ขยายโครงการเพิ่มการลงทุนในทุนส่วนตัวจึงไม่มีปัญหามากนัก
นายกฤช หิรัญกิจ ประธานที่ปรึกษา และนายกกิตติมศักดิ์ สมาคมอสังหาริมทรัพย์จังหวัดนครราชสีมา ระบุว่า โคราชมีสต๊อกที่อยู่อาศัยรอระบายกว่า1,000 หน่วย อย่างไรก็ตามในสถานการณ์โควิด-19 ระบาด หลายค่ายต่างเจ็บตัวจากการขายไม่ออก ส่วนบริษัทชะลอการพัฒนาออกไปปี 2565 เพื่อลดผลกระทบไม่สร้างหนี้เพิ่ม
ขณะที่อสังหาริมทรัพย์โซน เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี นายมีศักดิ์ ชุนหรักษ์โชติ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ชลบุรี เปิดเผยว่า อสังหาฯ ชลบุรี มีกำลังซื้อมาจากผู้ประกอบการและแรงงานในนิคมอุตสาหกรรมของจังหวัด และโซนรอยต่อจังหวัดระยองเป็นหลัก สัดส่วนประมาณ 60% โดยเฉพาะในกลุ่มที่อยู่อาศัยแนวราบ ซึ่งการชะลอการจ้างงานการเลิกจ้างจากวิกฤติโควิด-19 ทำให้ยอดขายกลุ่มดังกล่าวลดลงอย่างต่อเนื่อง น่าห่วงสุดคือโปรดักต์ราคาระดับล่าง เช่น ทาวน์เฮาส์ ราคา 1.5 -2 ล้านบาท
มีผู้ประกอบการรายเล็กในภูมิภาค กังวลว่าหากสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา หรือโควิด-19 ยังไม่ยุติลงใน 3-6 เดือน ประเมินว่าหลายบริษัทอาจถึงขั้นปิดกิจการ โครงการสร้างค้างเพราะไม่มีคนซื้อ จากความไม่เชื่อมั่นในเศรษฐกิจ ขณะดอกเบี้ยเงินกู้ยังเดินตลอดเวลา
นายชาญณรงค์ บุริสตระกูล นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์จังหวัดขอนแก่น เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ผู้ประกอบการภาคอีสาน ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 กำลังซื้อหายไปจากตลาด ขณะผู้ประกอบการหลายราย อาจขาดสภาพคล่องหากสถานการณ์ยังไม่คลี่คลายในเร็ววัน ขณะโครงการรายเล็ก สถาบันการเงินไม่ปล่อยกู้ ส่งผลให้โครงการใหญ่จึงเกิดขึ้นน้อยมาก
อย่างไรก็ตาม เสนอผู้ประกอบการรายใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ ชะลอการมองหาที่ดินขึ้นโครงการใหม่ แล้วหันมาซื้อโครงการของผู้ประกอบการรายเล็กแทนต่อยอดธุรกิจ เพราะมองว่าแต่ละค่ายสำหรับอสังหาฯรายเล็กสายป่านไม่ยาวเหมือนค่ายใหญ่
จากการสำรวจโครงการบ้านจัดสรร และคอนโดมิเนียมในภาคอีสาน มีมากถึง 300-400 โครงการ เฉลี่ย 50-100 หน่วย ที่อยู่ระหว่างเปิดขายท่ามกลางวิกฤติโคโรนา โดยในจังหวัดขอนแก่นมีสต๊อกโครงการที่ต้องระบายกว่า 1,000 หน่วย
นายนิพันทฐ์ สัจจะไพบูลย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท กนก สุนิสิ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด บริษัทพัฒนาที่ดินแบรนด์บ้านพฤกษา จังหวัดอุดรธานี เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่าผู้ประกอบการท้องถิ่นนอกจากได้รับผลกระทบจากค่ายใหญ่จากส่วนกลางเข้าพื้นที่แล้ว ยังได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ลูกค้าต่างเบรกซื้อโครงการ โดยมองว่าไม่มีความมั่นคงในชีวิตขณะโครงการในอุดรที่เปิดขาย 20 โครงการ ต่างได้รับผลกระทบเพราะส่วนใหญ่กู้ไฟแนนซ์ ดอกเบี้ยสูงกว่าสถาบันการเงิน หากขายไม่ได้ และโควิดยังอยู่ 6 เดือน คาดว่าทุกค่ายอาจล้มตายปิดกิจการเพราะแบกดอกเบี้ยไม่ไหว ขณะที่บริษัทค่อนข้างโชคดี และไม่ขยายโครงการเพิ่มการลงทุนในทุนส่วนตัวจึงไม่มีปัญหามากนัก
นายกฤช หิรัญกิจ ประธานที่ปรึกษา และนายกกิตติมศักดิ์ สมาคมอสังหาริมทรัพย์จังหวัดนครราชสีมา ระบุว่า โคราชมีสต๊อกที่อยู่อาศัยรอระบายกว่า1,000 หน่วย อย่างไรก็ตามในสถานการณ์โควิด-19 ระบาด หลายค่ายต่างเจ็บตัวจากการขายไม่ออก ส่วนบริษัทชะลอการพัฒนาออกไปปี 2565 เพื่อลดผลกระทบไม่สร้างหนี้เพิ่ม
ขณะที่อสังหาริมทรัพย์โซน เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี นายมีศักดิ์ ชุนหรักษ์โชติ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ชลบุรี เปิดเผยว่า อสังหาฯ ชลบุรี มีกำลังซื้อมาจากผู้ประกอบการและแรงงานในนิคมอุตสาหกรรมของจังหวัด และโซนรอยต่อจังหวัดระยองเป็นหลัก สัดส่วนประมาณ 60% โดยเฉพาะในกลุ่มที่อยู่อาศัยแนวราบ ซึ่งการชะลอการจ้างงานการเลิกจ้างจากวิกฤติโควิด-19 ทำให้ยอดขายกลุ่มดังกล่าวลดลงอย่างต่อเนื่อง น่าห่วงสุดคือโปรดักต์ราคาระดับล่าง เช่น ทาวน์เฮาส์ ราคา 1.5 -2 ล้านบาท
ข่าวอสังหาริมทรัพย์ภูมิภาค อื่นๆ