อสังหาฯปรับแผนลดต้นทุนการเงิน แห่ออกหุ้นกู้ลุยโปรเจกต์ปี 64 เหตุแบงก์เข้มสินเชื่อโครงการ-กำลังซื้อยังซบ
Loading

อสังหาฯปรับแผนลดต้นทุนการเงิน แห่ออกหุ้นกู้ลุยโปรเจกต์ปี 64 เหตุแบงก์เข้มสินเชื่อโครงการ-กำลังซื้อยังซบ

วันที่ : 5 มีนาคม 2564
โควิด-19 กระทบ ศก.ชะลอตัว อสังหาฯ เร่งปรับเเผนลดต้นทุนดอกเบี้ยจากเงินกู้
          ท่ามกลางภาวะการแข่งขันที่รุนแรงในตลาดอสังหาริมทรัพย์ การปรับตัวของผู้ประกอบการเป็นสิ่งจำเปนอย่างเร่งด่วนโดยเฉพาะในภาวะที่มีปัจจัยลบรอบด้านไม่ว่าจะเป็นปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ปัญหาการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ปัญหาการชะลอตัวของกำลังซื้อของผู้บริโภค ที่สำคัญคือปัญหาการเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งไม่ได้ครอบคลุมเฉพาะการปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยรายย่อยแต่ยังครอบคลุมไปถึงการเข้มงวดการพิจารณาปล่อยสินเชื่อเพื่อพัฒนาโครงการของผู้ประกอบการอสังหาฯ

          ในภาวะที่มีการแข่งขันที่รุนแรง โดยเฉพาะการแข่งขันด้วยกลยุทธ์ด้านราคา โดยหวังจะระบายสต๊อกสินค้าในมือออกไปให้มากที่สุด และเพื่อรักษากระแสเงินสด หรือเงินหมุนเวียนในบริษัท ลดต้นทุนดอกเบี้ยจากเงินกู้ เพื่อพัฒนาโครงการซึ่งจะช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้กับฐานะทางการเงินของแต่ละบริษัทให้มีมากขึ้น

          ต้นทุนทางการเงินที่ต่ำ ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญ โดยเฉพาะบริษัทที่มีการขยายการลงทุนและสร้างการเติบโตทางด้านรายได้อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่ผู้ประกอบการอสังหาฯ ต้องประเชิญอยู่ในขณะนี้คือการเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อโครงการของสถาบันการเงินทำให้หลาย บริษัทโดยเฉพาะบริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หันไปออกหุ้นกู้เพื่อระดมทุนมาใช้ในการพัฒนาโครงการใหม่ ซึ่งจุดนี้ถือว่าเป็นข้อได้เปรียบบริษัทอสังหาฯ ขนาดกลางและขนาดเล็ก ที่ไม่ได้จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ

          ทั้งนี้ จากการรวบรวมข้อมูลบริษัทอสังหาฯ ที่มีการออกหุ้นกู้และหุ้นเพิ่มทุนเพื่อระดมทุนในการพัฒนาโครงการใหม่ในช่วงต้นปี 64 พบว่ามีหลายๆ ราย ทยอยออกหุ้นกู้เพื่อระดมทุนในการรองรับการขยายการพัฒนาโครงการใหม่ในปีนี้ประกอบด้วย บริษัท เอพี(ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) ออกหุ้นกู้อายุ 3-5 ปี มูลค่า 3,000 ล้านบาท ในอัตราดอกเบี้ย 2.77-3.51 บริษัท โนเบิล ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด(มหาชน) ออกหุ้นกู้อายุสามปีมูลค่า 1,800 ล้านบาทให้อัตราดอกเบี้ย 4.5%

          ขณะที่ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) มีการออกหุ้นกู้อายุ 3 ปี 8 เดือน วงเงิน 4,500 ล้านบาทโดยให้อัตราดอกเบี้ย 4.20% บริษัท เมเจอร์ ดีเวลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) นี่การออกหุ้นกู้อายุ 2 ปี 6 เดือน อัตราดอกเบี้ย 6.8% วงเงิน 2,000 ล้านบาท บริษัท อนันดา ดีเวลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) รอายุ 1 ปี 9 เดือนและ 3 ปีอัตรา ดอกเบี้ย 3.90-4.50% ในวงเงิน 2,500 ล้านบาท บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) ออกหุ้นกู้อายุ 2 ปี 9 เดือน ในอัตราดอกเบี้ย 6.80% วงเงิน 1,200 ล้านบาท

          นอกจากนี้ยังมี บริษัท อารียา พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) ซึ่งออกหุ้นกู้อายุ 2 ปี 6 เดือนในอัตราดอกเบี้ย 7 วงเงิน 1,500 ล้านบาท บริษัท ชีวาทัย จำกัด (มหาชน) ออกหุ้นกู้อายุ 2 ปี 6 เดือนในอัตราดอกเบี้ย 7.25% วงเงิน 700 ล้านบาท และบริษัท ชาญอิสสระ ดีเวลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ออกหุ้นกู้อายุ 2 ปี 11 เดือน โดยให้อัตราผลตอบแทน 6.70% วงเงิน 950 ล้านบาท

          การระดมทุน โดยการออกหุ้นกู้ของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ ทำให้บริษัทผู้ออกหุ้นกู้ สามารถนำเงินสดเพื่อไปใช้ในการพัฒนาโครงการหรือขยายการลงทุนใหม่ โดยมีต้นทุนดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าการขอสินเชื่อพัฒนาโครงการจากสถาบันการเงิน ขณะเดียวกันการตอบรับของนักลงทุนผู้ซื้อหุ้นก็ค่อนข้างดีเนื่องจากในปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของสถาบันการเงินต่าง อยู่ในระดับต่ำมาก ดังนั้นการลงทุนในหุ้นกู้จงถือว่ามีผลตอบแทนที่ดีกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก

          อย่างไรก็ตาม แม้ว่าในช่วงที่ผ่าน มา บริษัท อสังหาฯ หลายราย ทยอยกันออกหุ้นกู้เพื่อระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ อย่างต่อเนื่อง แต่โดยมากแล้วหุ้นกู้ที่ออกมาต่างก็ได้รับการตอบรับที่ดีจากนักลงทุน ซึ่งจุดนี้ทำให้ยังคงมีอีกหลาย ค่ายอสังหาฯที่มีแผนจะออกหุ้นกู้เพื่อระดมทุนพัฒนาโครงการในปนี้อย่างต่อเนื่อง

          นายสุรเชษ์ กองชีพ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟนิกซ์ พร็อพเพอร์ตี้ดีเวลอปเม้นท์แอนคอนซัลแทนซี่ จำกัด กล่าวว่า การะดมทุนจากการออกหุ้นกู้หรือหุ้นเพิ่มทุนในตลาดหลักทรัพย์ คือช่องทางที่ได้เปรียบของผู้ประกอบการรายใหญ่ ซึ่งทำได้ง่ายและรวดเร็วกว่าบริษัทที่อยู่นอกตลาดฯ

          เมื่อเทียบกับผู้ประกอบการรายกลาง รายเล็กหรือผู้ที่ไม่ได้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์เพราะการออกหุ้นกู้ในตลาดหลักทรัพย์นั้นสามารถทำได้ในเวลาไม่นาน ซึ่งบริษัทในตลาดหลักทรัพย์นิยมใช้กันมาต่อเนื่อง

          แม้ว่าจะต้องเสียผลตอบแทนให้กับผู้ที่ซื้อหุ้นกู้ไปซึ่งอาจจะสูงกว่าดอกเบี้ยธนาคารโดยความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ก็ขึ้นอยู่กับการจัดอันดับของบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือในประเทศ ซึ่งในไทยมีอยู่ 2 แห่งคือ บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด (TRIS Rating) และ บริษัท ฟิทช์เรทติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด (Fitc Rating Thailand)

          หุ้นกู้ที่มีความน่าเชื่อถือสูงก็อาจจะได้รับความสนใจจากนักลงทุนมาก ขายได้รวดเร็วกว่า หุ้นกู้ที่มีความน่าเชื่อถือไม่มากก็อาจจะต้องมีดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนที่สูงกว่าเพื่อสร้างความน่าสนใจให้กับนักลงทุน สำหรับการออกหุ้นกู้ของบริษัทอสังหาฯ ในตลาดหลักทรัพย์เป็นเรื่องที่ทำกันมาต่อเนื่องอยู่แล้ว

          ที่น่าสนใจคือ ณ สิ้นป 63 บริษัทต่าง ในธุรกิจอสังหาฯ จำนวน 23 ราย มีหุ้นกู้คงเหลือทั้งหมดประมาณ 2.7 แสนล้านบาท โดยคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 63 ของหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยทั้งหมดของพวกเขา และหุ้นกู้มูลค่าประมาณ 9.55 หมื่นล้านบาทจะครบกำหนดชำระภายในป 64 ซึ่งเป็นอีกปที่ตลาดอสังหาฯ ยังอยู่ในช่วงชะลอตัว.
ข่าวโครงการอสังหาฯ ภาคเอกชน อื่นๆ