อสังหาฯภาคเหนือ คึกรับท่องเที่ยวฟื้น โลโคแบรนด์กางแผนโปรเจ็กต์ใหม่เจาะต่างชาติ
วันที่ : 21 มีนาคม 2566
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) เผยว่า สำหรับทิศทางตลาดที่อยู่อาศัยที่อยู่ระหว่างขายภาคเหนือ พบว่าในช่วงครึ่งหลังปี 65 มีการลงทุนพัฒนาโครงการใหม่ที่เป็นบ้านจัดสรรเกิดขึ้นเฉพาะในพื้นที่เชียงใหม่ และนครสวรรค์ และอาคารชุดเฉพาะในเชียงใหม่เท่านั้น
ศูนย์ข้อมูล อสังหาฯ เผยตลาดอสังหาฯ 5 จังหวัดภาคเหนือครึ่งหลังปี 65 อยู่ในช่วงดีมานด์และซัปพลายปรับตัวสู่สมดุล หลังซัปพลายใหม่เข้าตลาดลดลง สวนทางยอดขายที่ปรับตัวดีขึ้น ส่งผลหน่วยเหลือขายลดลง -1.2% และมีผลต่ออัตราดูดซับตลาดลดลงลง 1.7% ต่ำสุดในรอบ 5 ปี ด้านอสังหาฯในพื้นที่ระบุยอดจองห้องพักโรงแรมพุ่งกว่า 90% ดีมานด์คอนโดจากต่างชาติขยายตัวสูง หลังจีนเปิดประเทศ ยุโรปแห่เที่ยวไทย "อรสิรินโฮลดิ้ง" สบช่องปูพรมผุดโปรเจกต์ใหม่ 2 ปี 10 โครงการมูลค่ากว่า 5,000 ล้านบาท
ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) กล่าวว่า ผลการสำรวจโครงการที่อยู่อาศัยภาคเหนือ 5 จังหวัด ครึ่งหลังปี 65 พบว่ามีซับพลายพร้อมขาย 16,724 หน่วย มูลค่า 66,298 ล้านบาท แบ่งเป็นโครงการอาคารชุด 1,818 หน่วย มูลค่า 4,966 ล้านบาทโครงการบ้านจัดสรร 14,906 หน่วย มูลค่า 61,332 ล้านบาท ขณะเดียวกันมีโครงการใหม่เข้าสู่ตลาด 867 หน่วย มูลค่า 4,148 ล้านบาท โดยมีโครงการขายได้ใหม่ 1,742 หน่วย มูลค่า 6,263 ล้านบาท ส่งผลให้ในตลาดรวมมีหน่วยเหลือขาย 14,982 หน่วย มูลค่า 60,035 ล้านบาท
สำหรับทิศทางตลาดที่อยู่อาศัยที่อยู่ระหว่างขายภาคเหนือ พบว่าในช่วงครึ่งหลังปี 65 มีการลงทุนพัฒนาโครงการใหม่ที่เป็นบ้านจัดสรรเกิดขึ้นเฉพาะในพื้นที่เชียงใหม่ และนครสวรรค์ และอาคารชุดเฉพาะในเชียงใหม่เท่านั้น ในขณะที่จังหวัดเชียงราย ลำพูน พิษณุโลก เป็นการขายโครงการเก่าที่เปิดขายมาตั้งแต่ช่วงก่อนหน้าในทุกประเภทที่อยู่อาศัย เพื่อลดจำนวนหน่วยเหลือขายและเพิ่มอัตราดูดซับในตลาด โดยใน 5 จังหวัดภาคเหนือ จังหวัดลำพูนมีอัตราดูดซับบ้านจัดสรรสูงสุด 4.8% และเชียงใหม่มีอัตราดูดซับอาคารชุดสูงสุด 3.3% แต่ก็ถือว่าเป็นอัตราการดูดซับที่ต่ำกว่าช่วงก่อนหน้า เนื่องจากยอดขายที่ลดลง
ทั้งนี้ ซัปพลายรวมในครึ่งหลังปี 65 มีที่อยู่อาศัยเสนอขายทั้งหมด 16,724 หน่วย มูลค่า 66,298 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน -6.0% และมูลค่าลดลง -0.7% เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งแรก จำนวนหน่วยลดลง -15.9% คิดเป็นมูลค่าลดลง -13.6 % โดยเป็นโครงการใหม่เข้าสู่ตลาด 867 หน่วย มูลค่า 4,148 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน -50.6% และ-39.9% ตามลำดับ
โดย 5 ทำเล ที่มีจำนวนหน่วยเหลือขายมากที่สุดใน 5 จังหวัดภาคเหนือ คือ 1 ทำเลสนามบิน-แม่ฟ้าหลวง จำนวน 1,429 หน่วย มูลค่า 5,024 ล้านบาท อันดับ 2 ทำเลสันทราย จำนวน 1,345 หน่วย มูลค่า 4,191 ล้านบาท อันดับ 3 ทำเลสารภี จำนวน 1,321 หน่วย มูลค่า 4,802 ล้านบาท ว อันดับ 4 ทำเลในเมืองเชียงราย จำนวน 1,163 หน่วย มูลค่า 5,346 ล้านบาท อันดับ 5 ทำเลแม่โจ้ จำนวน 1,143 หน่วย โดยระดับราคาที่มีหน่วยเหลือขายมากที่สุดคือ 3.01-5.00 ล้านบาท มีจำนวนถึง 5,592 หน่วย มูลค่า 3,947 ล้านบาท
สำหรับดีมานด์โดยรวมพบว่าในช่วงครึ่งหลังปี65 มีที่อยู่อาศัยขายได้ใหม่ 1,742 หน่วย มูลค่า 6,263 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นโครงการบ้านจัดสรร 1,418 หน่วย มูลค่า 5,432 ล้านบาท และอาคารชุดเพียง 324 หน่วย มูลค่า 831 ล้านบาท ซึ่งทำเลที่มีหน่วยขายได้สูงสุด 5 อันดับแรกคือ อันดับ 1 สันทราย จำนวน 170 หน่วย มูลค่า 595.2 ล้านบาท อันดับ 2 ดรีมแลนด์ จำนวน 163 หน่วย มูลค่า 745.8 ล้านบาท อันดับ 3 แม่โจ้ จำนวน 139 หน่วย มูลค่า 405.4 ล้านบาท อันดับ 4 หางดงตอนบน จำนวน 129 หน่วย มูลค่า 326.5 ล้านบาท และอันดับ 5 ม.พายัพ จำนวน หน่วย 127 มูลค่า 498.8 ล้านบาท
นายสรนันท์ เศรษฐี นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์เชียงใหม่ กล่าวว่า ภาพรวมการค้นหาที่อยู่อาศัยจังหวัดเชียงใหม่ ในปี 65 พบว่ามีผู้ค้นหาที่อยู่อาศัยทั้งสิ้น 419,411 ราย เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 22% โดยดีมานด์หลักมาจาก 2 ส่วน คือ ดีมานด์ในพื้นที่เชียงใหม่มี38.76% และดีมานด์จากกรุงเทพฯ 37.65% ส่วนที่เหลือมาจากจังหวัดรอบๆ เช่น เชียงราย2% ลำปาง 1.81% โดยที่อยู่อาศัยในเชียงใหม่ยังคงเป็นตลาดบ้านหลังที่ 2 ของ และตลาดเพื่อลงทุนลูกค้าจากกรุงเทพฯ โดยกลุ่มที่มีการค้นหาที่อยู่อาศัยในเชียงใหม่ส่วนใหญ่เป็นลูกค้าเพศหญิง 67% โดยลูกค้าหลักมีช่วงอายุอยู่ระหว่า 25-30 ปี ประมาณ 44%
นายปรีดิกร บูรณุปกรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อรสิรินโฮลดิ้ง จำกัด กล่าวว่า ภาพรวมตลาดอสังหาฯ เชียงใหม่หลังสถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ค่อนข้างดีทั้งในส่วนของการขยายตัวฝั่งดีมาน์ และยอดขาย ทั้งกลุ่มที่อยู่อาศัยแนวราบและคอนโดฯ ทำให้ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นต่อตลาดอสังหาฯ เชียงใหม่อย่างมาก โดยเฉพาะ หลังมีการพูดคุยกับเอเยนซี ต่างชาติ ซึ่งส่วนใหญ่ยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่าดีมานด์ที่อยู่อาศัยในเชียงใหม่ในตลาดต่างชาติขยายตัวสูงมาก ทั้งดีมานด์จากกลุ่มประเทศยุโรป และเอเชียโดยเฉพาะหลังการเปิดประเทศของจีน ซึ่งจากทิศทางดังกล่าวทำให้บริษัทตัดสินใจขยายการลงทุนโครงการใหม่ในช่วง 2 ปีนี้เพิ่มอีก 10 โครงการมูลค่าการลงทุนประมาณ 5,000 ล้านบาทเศษ เพื่อรองรับดีมานด์ที่กำลังจะเข้ามาในปี 66 นี้
"หลังจีนประกาศเปิดประเทศแค่ระยะเวลาไม่ถึง1ชั่วโมง ยอดจองห้องพักจากคนจีนพุ่งขึ้นกว่า90% ทำให้อัตราการเข้าพักในโรแรงเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 70% จากปกติอยู่ที่ 40% นอกจากลูกค้าจีนแล้ว ลูกค้าจากประเทศอื่นๆ ก็เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แนวโน้มดังกล่าวทำให้คาดการณ์ได้ว่าตลาดคอนโดฯ จะกลับมาคึกคักแน่นอน สังเกตได้จากยอดจองซื้อและขายคอนโดของบริษัท ซึ่งขณะนี้ในส่วนของโควตาของชาวต่างชาตินั้นแทบจะเต็มหมดในทุกโครงการ"
นายชินะ สุทธาธนโชติ เลขาธิการสมาคมอสังหาริมทรัพย์เชียงราย กล่าวว่า ภาพรวมอสังหาฯ เชียงรายมีความสอดคล้องไปกับสถานการณ์ตลาดโดยรวมซึ่งยังชะลอตัวอยู่ โดยในส่วนของกลุ่มที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดนั้นยังมีซัปพลายสะสมในพื้นที่พอสมควรในช่วง 1-2 ปีนี้ คอนโดจะยังไม่กลับมาขยายตัว ส่วนกลุ่มบ้านแฝดที่ปรับตัวดีขึ้น คาดว่าจะเป็นผลมาจากกำลังซื้อผู้บริโภคยังไม่ฟื้นตัว ดังนั้นแม้ว่าจะมีความต้องการซื้อบ้านเดี่ยวแต่ข้อจำกัดด้านกำลังซื้อทำให้ต้องเลือกซื้อที่อยู่อาศัยที่มีราคาย่อมเยาลงมาซึ่งก็คือกลุ่มบ้านแฝดและทาวน์โฮม
ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) กล่าวว่า ผลการสำรวจโครงการที่อยู่อาศัยภาคเหนือ 5 จังหวัด ครึ่งหลังปี 65 พบว่ามีซับพลายพร้อมขาย 16,724 หน่วย มูลค่า 66,298 ล้านบาท แบ่งเป็นโครงการอาคารชุด 1,818 หน่วย มูลค่า 4,966 ล้านบาทโครงการบ้านจัดสรร 14,906 หน่วย มูลค่า 61,332 ล้านบาท ขณะเดียวกันมีโครงการใหม่เข้าสู่ตลาด 867 หน่วย มูลค่า 4,148 ล้านบาท โดยมีโครงการขายได้ใหม่ 1,742 หน่วย มูลค่า 6,263 ล้านบาท ส่งผลให้ในตลาดรวมมีหน่วยเหลือขาย 14,982 หน่วย มูลค่า 60,035 ล้านบาท
สำหรับทิศทางตลาดที่อยู่อาศัยที่อยู่ระหว่างขายภาคเหนือ พบว่าในช่วงครึ่งหลังปี 65 มีการลงทุนพัฒนาโครงการใหม่ที่เป็นบ้านจัดสรรเกิดขึ้นเฉพาะในพื้นที่เชียงใหม่ และนครสวรรค์ และอาคารชุดเฉพาะในเชียงใหม่เท่านั้น ในขณะที่จังหวัดเชียงราย ลำพูน พิษณุโลก เป็นการขายโครงการเก่าที่เปิดขายมาตั้งแต่ช่วงก่อนหน้าในทุกประเภทที่อยู่อาศัย เพื่อลดจำนวนหน่วยเหลือขายและเพิ่มอัตราดูดซับในตลาด โดยใน 5 จังหวัดภาคเหนือ จังหวัดลำพูนมีอัตราดูดซับบ้านจัดสรรสูงสุด 4.8% และเชียงใหม่มีอัตราดูดซับอาคารชุดสูงสุด 3.3% แต่ก็ถือว่าเป็นอัตราการดูดซับที่ต่ำกว่าช่วงก่อนหน้า เนื่องจากยอดขายที่ลดลง
ทั้งนี้ ซัปพลายรวมในครึ่งหลังปี 65 มีที่อยู่อาศัยเสนอขายทั้งหมด 16,724 หน่วย มูลค่า 66,298 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน -6.0% และมูลค่าลดลง -0.7% เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งแรก จำนวนหน่วยลดลง -15.9% คิดเป็นมูลค่าลดลง -13.6 % โดยเป็นโครงการใหม่เข้าสู่ตลาด 867 หน่วย มูลค่า 4,148 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน -50.6% และ-39.9% ตามลำดับ
โดย 5 ทำเล ที่มีจำนวนหน่วยเหลือขายมากที่สุดใน 5 จังหวัดภาคเหนือ คือ 1 ทำเลสนามบิน-แม่ฟ้าหลวง จำนวน 1,429 หน่วย มูลค่า 5,024 ล้านบาท อันดับ 2 ทำเลสันทราย จำนวน 1,345 หน่วย มูลค่า 4,191 ล้านบาท อันดับ 3 ทำเลสารภี จำนวน 1,321 หน่วย มูลค่า 4,802 ล้านบาท ว อันดับ 4 ทำเลในเมืองเชียงราย จำนวน 1,163 หน่วย มูลค่า 5,346 ล้านบาท อันดับ 5 ทำเลแม่โจ้ จำนวน 1,143 หน่วย โดยระดับราคาที่มีหน่วยเหลือขายมากที่สุดคือ 3.01-5.00 ล้านบาท มีจำนวนถึง 5,592 หน่วย มูลค่า 3,947 ล้านบาท
สำหรับดีมานด์โดยรวมพบว่าในช่วงครึ่งหลังปี65 มีที่อยู่อาศัยขายได้ใหม่ 1,742 หน่วย มูลค่า 6,263 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นโครงการบ้านจัดสรร 1,418 หน่วย มูลค่า 5,432 ล้านบาท และอาคารชุดเพียง 324 หน่วย มูลค่า 831 ล้านบาท ซึ่งทำเลที่มีหน่วยขายได้สูงสุด 5 อันดับแรกคือ อันดับ 1 สันทราย จำนวน 170 หน่วย มูลค่า 595.2 ล้านบาท อันดับ 2 ดรีมแลนด์ จำนวน 163 หน่วย มูลค่า 745.8 ล้านบาท อันดับ 3 แม่โจ้ จำนวน 139 หน่วย มูลค่า 405.4 ล้านบาท อันดับ 4 หางดงตอนบน จำนวน 129 หน่วย มูลค่า 326.5 ล้านบาท และอันดับ 5 ม.พายัพ จำนวน หน่วย 127 มูลค่า 498.8 ล้านบาท
นายสรนันท์ เศรษฐี นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์เชียงใหม่ กล่าวว่า ภาพรวมการค้นหาที่อยู่อาศัยจังหวัดเชียงใหม่ ในปี 65 พบว่ามีผู้ค้นหาที่อยู่อาศัยทั้งสิ้น 419,411 ราย เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 22% โดยดีมานด์หลักมาจาก 2 ส่วน คือ ดีมานด์ในพื้นที่เชียงใหม่มี38.76% และดีมานด์จากกรุงเทพฯ 37.65% ส่วนที่เหลือมาจากจังหวัดรอบๆ เช่น เชียงราย2% ลำปาง 1.81% โดยที่อยู่อาศัยในเชียงใหม่ยังคงเป็นตลาดบ้านหลังที่ 2 ของ และตลาดเพื่อลงทุนลูกค้าจากกรุงเทพฯ โดยกลุ่มที่มีการค้นหาที่อยู่อาศัยในเชียงใหม่ส่วนใหญ่เป็นลูกค้าเพศหญิง 67% โดยลูกค้าหลักมีช่วงอายุอยู่ระหว่า 25-30 ปี ประมาณ 44%
นายปรีดิกร บูรณุปกรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อรสิรินโฮลดิ้ง จำกัด กล่าวว่า ภาพรวมตลาดอสังหาฯ เชียงใหม่หลังสถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ค่อนข้างดีทั้งในส่วนของการขยายตัวฝั่งดีมาน์ และยอดขาย ทั้งกลุ่มที่อยู่อาศัยแนวราบและคอนโดฯ ทำให้ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นต่อตลาดอสังหาฯ เชียงใหม่อย่างมาก โดยเฉพาะ หลังมีการพูดคุยกับเอเยนซี ต่างชาติ ซึ่งส่วนใหญ่ยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่าดีมานด์ที่อยู่อาศัยในเชียงใหม่ในตลาดต่างชาติขยายตัวสูงมาก ทั้งดีมานด์จากกลุ่มประเทศยุโรป และเอเชียโดยเฉพาะหลังการเปิดประเทศของจีน ซึ่งจากทิศทางดังกล่าวทำให้บริษัทตัดสินใจขยายการลงทุนโครงการใหม่ในช่วง 2 ปีนี้เพิ่มอีก 10 โครงการมูลค่าการลงทุนประมาณ 5,000 ล้านบาทเศษ เพื่อรองรับดีมานด์ที่กำลังจะเข้ามาในปี 66 นี้
"หลังจีนประกาศเปิดประเทศแค่ระยะเวลาไม่ถึง1ชั่วโมง ยอดจองห้องพักจากคนจีนพุ่งขึ้นกว่า90% ทำให้อัตราการเข้าพักในโรแรงเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 70% จากปกติอยู่ที่ 40% นอกจากลูกค้าจีนแล้ว ลูกค้าจากประเทศอื่นๆ ก็เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แนวโน้มดังกล่าวทำให้คาดการณ์ได้ว่าตลาดคอนโดฯ จะกลับมาคึกคักแน่นอน สังเกตได้จากยอดจองซื้อและขายคอนโดของบริษัท ซึ่งขณะนี้ในส่วนของโควตาของชาวต่างชาตินั้นแทบจะเต็มหมดในทุกโครงการ"
นายชินะ สุทธาธนโชติ เลขาธิการสมาคมอสังหาริมทรัพย์เชียงราย กล่าวว่า ภาพรวมอสังหาฯ เชียงรายมีความสอดคล้องไปกับสถานการณ์ตลาดโดยรวมซึ่งยังชะลอตัวอยู่ โดยในส่วนของกลุ่มที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดนั้นยังมีซัปพลายสะสมในพื้นที่พอสมควรในช่วง 1-2 ปีนี้ คอนโดจะยังไม่กลับมาขยายตัว ส่วนกลุ่มบ้านแฝดที่ปรับตัวดีขึ้น คาดว่าจะเป็นผลมาจากกำลังซื้อผู้บริโภคยังไม่ฟื้นตัว ดังนั้นแม้ว่าจะมีความต้องการซื้อบ้านเดี่ยวแต่ข้อจำกัดด้านกำลังซื้อทำให้ต้องเลือกซื้อที่อยู่อาศัยที่มีราคาย่อมเยาลงมาซึ่งก็คือกลุ่มบ้านแฝดและทาวน์โฮม
ข่าวอสังหาริมทรัพย์ภูมิภาค อื่นๆ