REIC ชงรัฐบาลใหม่บูมอสังหา ขยายฐานต่างชาติอัพยอด
วันที่ : 30 สิงหาคม 2566
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ หรือ REIC ชี้ 6 เดือน แรกภาคอสังหายังเผชิญปัจจัยลบหลายด้าน หวังนโยบายรัฐบาลใหม่ กระตุ้นภาคอสังหา และหันมาให้ความสำคัญการซื้อของต่างชาติ
พร้อมเผยมุมมองปี 2566 ภาพรวมทุกภาคส่วนติดลบและคาดว่าจะกลับมาฟื้นตัวเป็นบวกปี 2567 จับตาครึ่งหลังปี 2566 ยอดโอนต่างชาติขยายตัว ขณะที่ยอดขายอาจชะลอตัวลงหลังเศรษฐกิจจีนยังมีแนวโน้มหดตัว
ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ หรือ REIC เปิดเผยว่า ภาคอสังหาริมทรัพย์ไทยช่วง 6 เดือนแรกของปี 2566 มองว่ายังอยู่กับปัจจัยลบหลายด้าน ทั้งการฟื้นตัวของภาพรวมเศรษฐกิจที่ยังไม่เต็มที่ และภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นที่จะทำให้ความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัยของประชาชนปรับตัวลง บวกกับภาวะอัตราส่วนหนี้ครัวเรือนที่สูงกว่า 90% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) และราคาที่อยู่อาศัยที่ปรับตัวสูงขึ้น
หวังมาตรการกระตุ้น
จากปัจจัยข้างต้นส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนของอุปสงค์ และอุปทานในตลาดที่อยู่อาศัย โดยอุปสงค์มีการปรับตัวลดลงของหน่วยการโอนกรรมสิทธิ์ และยอดขายใหม่ที่ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน สะท้อนให้เห็นถึงกำลังซื้อที่อยู่อาศัยที่ยังไม่แข็งแรงเท่าที่ควร และยังต้องการมาตรการกระตุ้นที่สำคัญ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ ที่มีความชัดเจนและตรงจุด และยังถือเป็นความท้าทายของรัฐบาลใหม่ในการกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจ และภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งต้องชัดเจน และตรงจุด
โดยในปี 2566 คาดว่าจะมีการออกใบอนุญาตจัดสรรทั่วประเทศ 80,643 หน่วย ลดลง 12.1% จากปี 2565 ที่ 91,692 หน่วย และ ปี 2567 จะเพิ่มขึ้น 3% ที่ 83,062 หน่วย เพิ่มขึ้น 3.0% หรืออยู่ในช่วง -7.3% ถึง +13.3% หรือมีจำนวนพื้นที่การออกใบอนุญาตก่อสร้าง 34.09 ล้านตารางเมตร (ตร.ม.) ลดลง 12.6% และปี 2567 จะเพิ่มขึ้น 1.9% เป็น 34.75 ล้านตร.ม.
ขณะเดียวกันใน ปี 2566 จะมีที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จจดทะเบียน 82,144 หน่วย ลดลง 14.4% และปี 2567 จะกลับมาเพิ่มขึ้น 4.6% เป็น 85,929 หน่วย สอดคล้องปี 2566 จะมีหน่วยโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย 336,062 หน่วย ลดลง 14.5% และปี 2567 จะเพิ่มขึ้น 4.1% เป็น 349,910 หน่วย ด้วยมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ ปี 2566 ที่ 977,593 ล้านบาท ลดลง 8.2% และปี 2567 จะเพิ่มขึ้น 4.6% เป็น 1,022,730 ล้านบาท
ต่างชาติโอนเพิ่ม
สำหรับแนวโน้มการกลับมาเข้าลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ไทยของต่างชาตินั้น มองว่าในครึ่งหลังปี 2566 มีการฟื้นตัวในทิศทางที่ดีขึ้น โดยกลุ่มหลักๆ ยังคงเป็นสหรัฐ อังกฤษ ยุโรป รัสเซีย ญี่ปุ่น จีน และกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน ด้วยภาคอสังหาไทยยังไม่ได้มีการวางกฎเกณฑ์บวกเพิ่ม On Top จากค่าธรรมเนียมปกติเหมือนเช่นประเทศ อื่นๆ ทำให้ต่างชาติมีความสนใจเข้ามาซื้ออสังหาไทย
ทั้งนี้ คาดว่ายอดการโอนกรรมสิทธิ์ของชาวต่างชาติในครึ่งหลังปี 2566 นี้ จะมีการขยายตัวที่เพิ่มขึ้นค่อนข้างชัดเจน ในขณะที่ยอดขายใหม่อาจไม่ได้เติบโตมากนัก ด้วยสภาพเศรษฐกิจของตลาดใหญ่อย่างประเทศจีนยังมีการชะลอตัวอยู่
อย่างไรก็ตาม ยังมีข่าวดีรับ 9 เดือน 9 ตลาดนัดบ้านมือสองเปิดให้ประชาชนขายบ้านฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย โดย REIC ได้มอบหมายจากคณะกรรมการกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFls) ให้พัฒนาฐานข้อมูล "บ้านมือสอง" ภายใต้ระยะเวลาโครงการตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2561 ถึงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2568
ด้วย Go Live ระบบฐานข้อมูลบนเว็บไซต์ www.taladnudbaan.com ปัจจุบันได้จัดทำสัญญาร่วมกัน (MOU) ร่วมกับ 25 หน่วย มี ทรัพย์ประกาศขายผ่านเว็บไซต์กว่า 68,000 รายการทรัพย์ และวันที่ 9 กันยายน 2566 จะเปิดระบบให้ประชาชนฝากขายทรัพย์โดยไม่มี ค่าใช้จ่าย และปี 2566 วางเป้าหมายมีสมาชิกฝากขายไม่น้อยกว่า 3,000 ราย
ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ หรือ REIC เปิดเผยว่า ภาคอสังหาริมทรัพย์ไทยช่วง 6 เดือนแรกของปี 2566 มองว่ายังอยู่กับปัจจัยลบหลายด้าน ทั้งการฟื้นตัวของภาพรวมเศรษฐกิจที่ยังไม่เต็มที่ และภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นที่จะทำให้ความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัยของประชาชนปรับตัวลง บวกกับภาวะอัตราส่วนหนี้ครัวเรือนที่สูงกว่า 90% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) และราคาที่อยู่อาศัยที่ปรับตัวสูงขึ้น
หวังมาตรการกระตุ้น
จากปัจจัยข้างต้นส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนของอุปสงค์ และอุปทานในตลาดที่อยู่อาศัย โดยอุปสงค์มีการปรับตัวลดลงของหน่วยการโอนกรรมสิทธิ์ และยอดขายใหม่ที่ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน สะท้อนให้เห็นถึงกำลังซื้อที่อยู่อาศัยที่ยังไม่แข็งแรงเท่าที่ควร และยังต้องการมาตรการกระตุ้นที่สำคัญ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ ที่มีความชัดเจนและตรงจุด และยังถือเป็นความท้าทายของรัฐบาลใหม่ในการกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจ และภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งต้องชัดเจน และตรงจุด
โดยในปี 2566 คาดว่าจะมีการออกใบอนุญาตจัดสรรทั่วประเทศ 80,643 หน่วย ลดลง 12.1% จากปี 2565 ที่ 91,692 หน่วย และ ปี 2567 จะเพิ่มขึ้น 3% ที่ 83,062 หน่วย เพิ่มขึ้น 3.0% หรืออยู่ในช่วง -7.3% ถึง +13.3% หรือมีจำนวนพื้นที่การออกใบอนุญาตก่อสร้าง 34.09 ล้านตารางเมตร (ตร.ม.) ลดลง 12.6% และปี 2567 จะเพิ่มขึ้น 1.9% เป็น 34.75 ล้านตร.ม.
ขณะเดียวกันใน ปี 2566 จะมีที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จจดทะเบียน 82,144 หน่วย ลดลง 14.4% และปี 2567 จะกลับมาเพิ่มขึ้น 4.6% เป็น 85,929 หน่วย สอดคล้องปี 2566 จะมีหน่วยโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย 336,062 หน่วย ลดลง 14.5% และปี 2567 จะเพิ่มขึ้น 4.1% เป็น 349,910 หน่วย ด้วยมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ ปี 2566 ที่ 977,593 ล้านบาท ลดลง 8.2% และปี 2567 จะเพิ่มขึ้น 4.6% เป็น 1,022,730 ล้านบาท
ต่างชาติโอนเพิ่ม
สำหรับแนวโน้มการกลับมาเข้าลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ไทยของต่างชาตินั้น มองว่าในครึ่งหลังปี 2566 มีการฟื้นตัวในทิศทางที่ดีขึ้น โดยกลุ่มหลักๆ ยังคงเป็นสหรัฐ อังกฤษ ยุโรป รัสเซีย ญี่ปุ่น จีน และกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน ด้วยภาคอสังหาไทยยังไม่ได้มีการวางกฎเกณฑ์บวกเพิ่ม On Top จากค่าธรรมเนียมปกติเหมือนเช่นประเทศ อื่นๆ ทำให้ต่างชาติมีความสนใจเข้ามาซื้ออสังหาไทย
ทั้งนี้ คาดว่ายอดการโอนกรรมสิทธิ์ของชาวต่างชาติในครึ่งหลังปี 2566 นี้ จะมีการขยายตัวที่เพิ่มขึ้นค่อนข้างชัดเจน ในขณะที่ยอดขายใหม่อาจไม่ได้เติบโตมากนัก ด้วยสภาพเศรษฐกิจของตลาดใหญ่อย่างประเทศจีนยังมีการชะลอตัวอยู่
อย่างไรก็ตาม ยังมีข่าวดีรับ 9 เดือน 9 ตลาดนัดบ้านมือสองเปิดให้ประชาชนขายบ้านฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย โดย REIC ได้มอบหมายจากคณะกรรมการกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFls) ให้พัฒนาฐานข้อมูล "บ้านมือสอง" ภายใต้ระยะเวลาโครงการตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2561 ถึงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2568
ด้วย Go Live ระบบฐานข้อมูลบนเว็บไซต์ www.taladnudbaan.com ปัจจุบันได้จัดทำสัญญาร่วมกัน (MOU) ร่วมกับ 25 หน่วย มี ทรัพย์ประกาศขายผ่านเว็บไซต์กว่า 68,000 รายการทรัพย์ และวันที่ 9 กันยายน 2566 จะเปิดระบบให้ประชาชนฝากขายทรัพย์โดยไม่มี ค่าใช้จ่าย และปี 2566 วางเป้าหมายมีสมาชิกฝากขายไม่น้อยกว่า 3,000 ราย
ข่าว reic จากสื่อสิ่งพิมพ์ อื่นๆ