ราคาที่ดินใจกลางกรุงสูงทะลุเพดาน! โจทย์ใหญ่ดีเวลลอปเปอร์
วันที่ : 6 มีนาคม 2568
คอลลิเออร์ส กล่าวว่า แนวโน้มการซื้อขายที่ดินในพื้นที่ใจกลางกรุงเทพฯ ว่า แม้ว่าราคาที่ดินจะสูงขึ้นทุกปี แต่ยังคงมีดีเวลลอปเปอร์จำนวนมากที่มองเห็น ”โอกาส” ในการพัฒนาที่ดินเหล่านี้ เนื่องจากทำเลเหล่านี้ยังคงมีศักยภาพในการทำกำไรสูงในระยะยาว แม้จะต้องใช้เวลาในการพิจารณาการตัดสินใจซื้อขาย
ราคาที่ดินใจกลางกรุงยังคงปรับตัวสูงต่อเนื่อง โดยเฉพาะทำเลใจกลางเมือง สุขุมวิท สาทร เป็นที่จับตามองของดีเวลลอปเปอร์ที่มองเห็น ”โอกาส” ในการพัฒนาโครงการ
ภัทรชัย ทวีวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและการสื่อสาร คอลลิเออร์ส ประเทศไทย กล่าวว่า แนวโน้มการซื้อขายที่ดินในพื้นที่ใจกลางกรุงเทพฯ ว่า แม้ว่าราคาที่ดินจะสูงขึ้นทุกปี แต่ยังคงมีดีเวลลอปเปอร์จำนวนมากที่มองเห็น ”โอกาส” ในการพัฒนาที่ดินเหล่านี้ เนื่องจากทำเลเหล่านี้ยังคงมีศักยภาพในการทำกำไรสูงในระยะยาว แม้จะต้องใช้เวลาในการพิจารณาการตัดสินใจซื้อขาย
ในปีที่ผ่านมา เราเห็นการซื้อขายที่ดินหลายแปลงในพื้นที่สำคัญเช่น ถนนสารสิน ที่บริษัท แสนสิริ เข้าซื้อที่ดินในราคา 3.9 ล้านบาทต่อตารางวา ซึ่งถือเป็นดีลการซื้อที่ดินที่แพงที่สุดในประวัติศาสตร์ของโครงการอสังหาริมทรัพย์ไทย นอกจากนี้ยังมีการซื้อที่ดินที่ติดถนน รัชดาภิเษก โดย AIA ที่มีราคาตารางวาละ 1.1 ล้านบาท แม้จะมีราคาสูง แต่กลุ่มนักลงทุนและผู้พัฒนาอสังหาฯ ยังคงมองเห็นโอกาสในระยะยาว
แม้ว่าในภาพรวมของมูลค่าการซื้อขายที่ดินทั่วประเทศจะลดลงถึง 25% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา แต่ราคาที่ดินในย่าน ศูนย์กลางธุรกิจ (CBD) ยังมีการเสนอขายในราคาที่สูงถึง4 ล้านบาทต่อตารางวา !ซึ่งบ่งบอกถึงความต้องการที่ยังคงมีอยู่ในทำเลเหล่านี้ เนื่องจากที่ดินในพื้นที่เหล่านี้ยังคงมีศักยภาพในการพัฒนาในอนาคต โดยเฉพาะในย่าน สีลม สาทร และ สุขุมวิท ที่มีอัตราการเติบโตของราคาที่ดินสูงมาก!
ทำไมที่ดินในทำเลใจกลางเมืองถึงมีราคาแพง?
คำตอบคือ “ทำเลทอง” นั่นเอง ที่ดินในพื้นที่ CBD เป็นที่ต้องการสูงจากทั้งผู้พัฒนาอสังหาฯ และนักลงทุน เนื่องจากความสะดวกในการเดินทาง การเข้าถึงแหล่งธุรกิจ และความเป็นที่นิยมของผู้พักอาศัยในพื้นที่เหล่านี้ ซึ่งจะทำให้โครงการที่พัฒนาขึ้นสามารถสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนได้ในระยะยาว แม้จะต้องเผชิญกับต้นทุนที่สูงในช่วงเริ่มต้น
การปรับราคาที่ดินในปีที่ผ่านมาอาจดูเหมือนเป็นการพุ่งสูงขึ้นจนเกินไปสำหรับผู้ซื้อบางราย แต่สำหรับผู้พัฒนารายใหญ่ที่มองภาพระยะยาวแล้ว ราคานี้ยังคงถือว่าเป็นการลงทุนที่”คุ้มค่า” การพัฒนาโครงการในทำเลนี้ยังคงมีความ”เสี่ยงต่ำ”ในแง่ของผลตอบแทนจากการขายหรือการเช่าในอนาคต
ข้อมูลจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่า ราคาซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในปีนี้ยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในทำเลที่เป็นศูนย์กลางธุรกิจ ราคาที่ดินในปี 2567 ย่านวิทยุ-เพลินจิต-ชิดลม อยู่ในช่วง 3-4 ล้านบาทต่อตารางวา ขณะที่ สุขุมวิทตอนต้น มีราคาตารางวาละ 2.5-2.9 ล้านบาท และ สีลม-สาทร ในช่วง 2-2.5 ล้านบาทต่อตารางวา
หลายคนมีคำถามว่า จะมีการปรับราคาที่ดินสูงขึ้นอีกหรือไม่? คำตอบคือ “คงสูงต่อเนื่อง” เนื่องจากที่ดินใน CBD ยังมีการเสนอขายที่ราคาสูง ซึ่งจะส่งผลต่อราคาสินค้าคอนโดมิเนียมหรือโครงการอสังหาฯ อื่นๆ ที่จะมีราคาสูงตามไปด้วย ทำให้ผู้พัฒนาอาจต้องหาทางเลือกในการจัดการต้นทุนและเพิ่มช่องทางในการสร้างรายได้จากที่ดิน เช่น การปรับใช้โมเดล เช่าหรือร่วมลงทุน (JV) แทนการขายกรรมสิทธิ์เพื่อรักษาผลตอบแทนจากการลงทุน
ในปี 2567 ราคาที่ดินในกรุงเทพมหานครยังคงสูงและน่าจับตามองอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในพื้นที่ศูนย์กลางธุรกิจ แม้ว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัว การลงทุนในที่ดินยังคงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้พัฒนาอสังหาฯ ที่มองเห็นโอกาสในระยะยาว แต่การปรับตัวของราคาที่ดินที่สูงเกินไปอาจสร้างความท้าทายให้กับผู้บริโภคและนักลงทุนที่ต้องการเข้าถึงโครงการที่อยู่อาศัยในราคาที่เหมาะสม
สำหรับราคาที่ดินในปี 2568 คาดการณ์ว่า ราคาเสนอขายที่ดินในพื้นที่ CBD ในกรุงเทพมหานครยังคงมีการปรับราคาขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากราคาที่ดินหากมีการปรับแล้วจะปรับแบบยกแผง เป็นประเด็นที่ค่อนข้างน่าจับตามองอย่างใกล้ชิดเนื่องจาก หากราคาที่ดินยังคงมีการปรับตัวสูงอย่างต่อเนื่องแบบไม่มีที่สิ้นสุด
นั้นย่อมหมายความว่า ผู้พัฒนาก็ยังคงต้องแบกรับกับปัญหาต้นทุนที่ค่อนข้างสูงซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อราคาของสินค้าที่แน่นอนว่าต้องมีการปรับตัวสูงขึ้นและผู้บริโภคต้องเจอกับราคาของสินค้าที่ราคาสูงเกินว่าจะที่ซื้อหาได้
“เราจะเห็นว่าราคาเสนอขายที่ดินในหลายทำเลราคาค่อนข้างสูง ซึ่งที่ดินหลายแปลงแม้ว่าจะตั้งอยู่ในทำเลที่มีศักยภาพสูงแต่ก็ยังไม่สามารถซื้อขายเปลี่ยนมือได้ เนื่องจากผู้ซื้อมองว่าราคาเสนอขายค่อนข้างสูง จึงต้องใช้เวลาศึกษาข้อมูลและตัดสินใจค่อนข้างนาน”
ภัทรชัย ทวีวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและการสื่อสาร คอลลิเออร์ส ประเทศไทย กล่าวว่า แนวโน้มการซื้อขายที่ดินในพื้นที่ใจกลางกรุงเทพฯ ว่า แม้ว่าราคาที่ดินจะสูงขึ้นทุกปี แต่ยังคงมีดีเวลลอปเปอร์จำนวนมากที่มองเห็น ”โอกาส” ในการพัฒนาที่ดินเหล่านี้ เนื่องจากทำเลเหล่านี้ยังคงมีศักยภาพในการทำกำไรสูงในระยะยาว แม้จะต้องใช้เวลาในการพิจารณาการตัดสินใจซื้อขาย
ในปีที่ผ่านมา เราเห็นการซื้อขายที่ดินหลายแปลงในพื้นที่สำคัญเช่น ถนนสารสิน ที่บริษัท แสนสิริ เข้าซื้อที่ดินในราคา 3.9 ล้านบาทต่อตารางวา ซึ่งถือเป็นดีลการซื้อที่ดินที่แพงที่สุดในประวัติศาสตร์ของโครงการอสังหาริมทรัพย์ไทย นอกจากนี้ยังมีการซื้อที่ดินที่ติดถนน รัชดาภิเษก โดย AIA ที่มีราคาตารางวาละ 1.1 ล้านบาท แม้จะมีราคาสูง แต่กลุ่มนักลงทุนและผู้พัฒนาอสังหาฯ ยังคงมองเห็นโอกาสในระยะยาว
แม้ว่าในภาพรวมของมูลค่าการซื้อขายที่ดินทั่วประเทศจะลดลงถึง 25% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา แต่ราคาที่ดินในย่าน ศูนย์กลางธุรกิจ (CBD) ยังมีการเสนอขายในราคาที่สูงถึง4 ล้านบาทต่อตารางวา !ซึ่งบ่งบอกถึงความต้องการที่ยังคงมีอยู่ในทำเลเหล่านี้ เนื่องจากที่ดินในพื้นที่เหล่านี้ยังคงมีศักยภาพในการพัฒนาในอนาคต โดยเฉพาะในย่าน สีลม สาทร และ สุขุมวิท ที่มีอัตราการเติบโตของราคาที่ดินสูงมาก!
ทำไมที่ดินในทำเลใจกลางเมืองถึงมีราคาแพง?
คำตอบคือ “ทำเลทอง” นั่นเอง ที่ดินในพื้นที่ CBD เป็นที่ต้องการสูงจากทั้งผู้พัฒนาอสังหาฯ และนักลงทุน เนื่องจากความสะดวกในการเดินทาง การเข้าถึงแหล่งธุรกิจ และความเป็นที่นิยมของผู้พักอาศัยในพื้นที่เหล่านี้ ซึ่งจะทำให้โครงการที่พัฒนาขึ้นสามารถสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนได้ในระยะยาว แม้จะต้องเผชิญกับต้นทุนที่สูงในช่วงเริ่มต้น
การปรับราคาที่ดินในปีที่ผ่านมาอาจดูเหมือนเป็นการพุ่งสูงขึ้นจนเกินไปสำหรับผู้ซื้อบางราย แต่สำหรับผู้พัฒนารายใหญ่ที่มองภาพระยะยาวแล้ว ราคานี้ยังคงถือว่าเป็นการลงทุนที่”คุ้มค่า” การพัฒนาโครงการในทำเลนี้ยังคงมีความ”เสี่ยงต่ำ”ในแง่ของผลตอบแทนจากการขายหรือการเช่าในอนาคต
ข้อมูลจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่า ราคาซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในปีนี้ยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในทำเลที่เป็นศูนย์กลางธุรกิจ ราคาที่ดินในปี 2567 ย่านวิทยุ-เพลินจิต-ชิดลม อยู่ในช่วง 3-4 ล้านบาทต่อตารางวา ขณะที่ สุขุมวิทตอนต้น มีราคาตารางวาละ 2.5-2.9 ล้านบาท และ สีลม-สาทร ในช่วง 2-2.5 ล้านบาทต่อตารางวา
หลายคนมีคำถามว่า จะมีการปรับราคาที่ดินสูงขึ้นอีกหรือไม่? คำตอบคือ “คงสูงต่อเนื่อง” เนื่องจากที่ดินใน CBD ยังมีการเสนอขายที่ราคาสูง ซึ่งจะส่งผลต่อราคาสินค้าคอนโดมิเนียมหรือโครงการอสังหาฯ อื่นๆ ที่จะมีราคาสูงตามไปด้วย ทำให้ผู้พัฒนาอาจต้องหาทางเลือกในการจัดการต้นทุนและเพิ่มช่องทางในการสร้างรายได้จากที่ดิน เช่น การปรับใช้โมเดล เช่าหรือร่วมลงทุน (JV) แทนการขายกรรมสิทธิ์เพื่อรักษาผลตอบแทนจากการลงทุน
ในปี 2567 ราคาที่ดินในกรุงเทพมหานครยังคงสูงและน่าจับตามองอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในพื้นที่ศูนย์กลางธุรกิจ แม้ว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัว การลงทุนในที่ดินยังคงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้พัฒนาอสังหาฯ ที่มองเห็นโอกาสในระยะยาว แต่การปรับตัวของราคาที่ดินที่สูงเกินไปอาจสร้างความท้าทายให้กับผู้บริโภคและนักลงทุนที่ต้องการเข้าถึงโครงการที่อยู่อาศัยในราคาที่เหมาะสม
สำหรับราคาที่ดินในปี 2568 คาดการณ์ว่า ราคาเสนอขายที่ดินในพื้นที่ CBD ในกรุงเทพมหานครยังคงมีการปรับราคาขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากราคาที่ดินหากมีการปรับแล้วจะปรับแบบยกแผง เป็นประเด็นที่ค่อนข้างน่าจับตามองอย่างใกล้ชิดเนื่องจาก หากราคาที่ดินยังคงมีการปรับตัวสูงอย่างต่อเนื่องแบบไม่มีที่สิ้นสุด
นั้นย่อมหมายความว่า ผู้พัฒนาก็ยังคงต้องแบกรับกับปัญหาต้นทุนที่ค่อนข้างสูงซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อราคาของสินค้าที่แน่นอนว่าต้องมีการปรับตัวสูงขึ้นและผู้บริโภคต้องเจอกับราคาของสินค้าที่ราคาสูงเกินว่าจะที่ซื้อหาได้
“เราจะเห็นว่าราคาเสนอขายที่ดินในหลายทำเลราคาค่อนข้างสูง ซึ่งที่ดินหลายแปลงแม้ว่าจะตั้งอยู่ในทำเลที่มีศักยภาพสูงแต่ก็ยังไม่สามารถซื้อขายเปลี่ยนมือได้ เนื่องจากผู้ซื้อมองว่าราคาเสนอขายค่อนข้างสูง จึงต้องใช้เวลาศึกษาข้อมูลและตัดสินใจค่อนข้างนาน”
ข่าวโครงการอสังหาฯ ภาคเอกชน อื่นๆ