ส.บ้านจัดสรรชง 3 แนวทางฟื้นตลาด
วันที่ : 2 พฤษภาคม 2568
สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร เปิดเผยว่า ภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2568 ยังไม่ดีขึ้น สะท้อนจากยอดโอนกรรมสิทธิ์ในช่วง 2 เดือนแรก (ม.ค.-ก.พ.) ของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) พบว่ายอดโอนลดลงทุกระดับราคา
ถกบสย.ค้ำสินเชื่อรายย่อย 2 หมื่นล. แก้เกมกู้ไม่ผ่าน-ลูกค้าชะลอโอน
ตลาดอสังหาฯ 2 เดือนแรกหดตัวแรง ยอดโอนลดทั้งหน่วยและมูลค่า พิษแผ่นดินไหว ภาษีทรัมป์ฉุดเชื่อมั่น ลูกค้าชะลอโอนคอนโดพุ่ง 2-6 เดือน สมาคมบ้านจัดสรรชง 3 ข้อฝ่าวิกฤต จ่อถก บสย.ค้ำประกัน สินเชื่อรายย่อย ชี้กนง.ลดดอกเบี้ยส่งสัญญาณดี
นายสุนทร สถาพร นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร เปิดเผยว่า ภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2568 ยังไม่ดีขึ้น สะท้อนจากยอดโอนกรรมสิทธิ์ในช่วง 2 เดือนแรก (ม.ค.-ก.พ.) ของ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) พบว่ายอดโอนลดลงทุกระดับราคา มีจำนวน 38,842 หน่วย ลดลง 13% และมูลค่า 103,557 ล้านบาท ลดลง 14.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2567 พร้อมทั้งปรับมุมมองตลาดเป็นสถานการณ์ไม่ดี หรือ Worst Case โดยคาดการณ์ทั้งปีหน่วยโอนติดลบ 3.5% และมูลค่าโอนติดลบ 3.7% ด้านการเปิดตัวโครงการใหม่ในไตรมาสแรกก็ลดลงเช่นกัน โดยเฉพาะกรุงเทพฯและปริมณฑลมีหน่วยเปิดขายใหม่อยู่ที่ 13,867 หน่วย ลดลง 15.6% และมูลค่า 83,905 ล้านบาท ลดลง 30%
อย่างไรก็ตามแม้จะมีมาตรการรัฐที่ออกมากระตุ้นถึง 2 มาตรการ คือ ลดค่าโอนและจำนองเหลือ 0.01% สำหรับที่อยู่อาศัยไม่เกิน 7 ล้านบาท มีผลเมื่อวันที่ 22 เมษายนที่ผ่านมา และมาตรการผ่อนคลายเกณฑ์ LTV จากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีผลวันที่ 1 พฤษภาคมถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2569 แต่ยังไม่สามารถทำให้ตลาดฟื้นได้ ยังติดเรื่องการขออนุมัติสินเชื่อจากธนาคารที่ยังไม่ปล่อยกู้ได้ง่าย ส่งผลต่อยอดถูกปฏิเสธสินเชื่อหรือรีเจ็กต์เรตยังสูง 45% ซึ่งเรื่องกู้ไม่ผ่านเป็นปัญหาใหญ่ของตลาดอสังหาฯในขณะนี้
"หลังมีเหตุการณ์แผ่นดินไหว และความไม่เชื่อมั่นต่อภาพรวมเศรษฐกิจ ทำให้ลูกค้ามีการชะลอโอนอยู่มากพอสมควร แม้จะลดค่าโอนและจำนองให้แล้วก็ตาม โดยเฉพาะคอนโดพบว่าลูกค้าขอชะลอโอนออกไปประมาณ 2-6 เดือน ขึ้นอยู่กับขนาดโครงการ ซึ่งผู้ประกอบการก็ต้องยืดเวลาให้ เพื่อมีเวลาเก็บรายละเอียดความเสียหายจากแผ่นดินไหว" นายสุนทรกล่าว
นายสุนทรกล่าวว่า ทั้งนี้จากการประชุมผู้ประกอบการในสมาคม ได้มีการรวบรวมข้อมูลเพื่อเป็นข้อเสนอต่อภาครัฐในการแก้ปัญหากำลังซื้อและกู้แบงก์ไม่ผ่าน โดยมี 3 เรื่องหลัก ประกอบด้วย 1.ลดค่าโอนและจำนอง 0.01% ทุกระดับราคา โดยรัฐสูญรายได้ส่วนนี้ประมาณ 18,000 ล้านบาท 2.ฟรีดอกเบี้ย 0% สำหรับที่อยู่อาศัยไม่เกิน 7 ล้านบาท เป็นเวลา 1 ปี วงเงิน 10,000 ล้านบาท และ 3.จะหารือกับบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เพื่อให้ช่วยค้ำประกันสินเชื่อที่อยู่อาศัยรายย่อย อัตราดอกเบี้ย 4.5% ต่อปี ใน 3 ปีแรก คาดใช้วงเงิน 20,000 ล้านบาท และถ้าลูกค้าไปต่อไม่ไหวผู้ประกอบการพร้อมที่จะสนับสนุน โดยแนวทางที่ 3 มีแนวโน้มที่จะเป็นไปได้มากที่สุด ซึ่งสมาคมมีแผนจะหารือกับ บสย.ภายในต้นเดือนพฤษภาคมนี้
"กรณีธนาคารโลกปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2568 โต 1.6% ชะลอลงจากที่ประเมินจะโต 2.9% สร้างความกังวลใจ ต่อภาคเอกชนอย่างมาก และถือเป็นเรื่องดีที่คณะกรรมการนโยบายการเงินหรือ กนง.ลดดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% เพราะการลดดอกเบี้ยมีผลต่อการฟื้นเศรษฐกิจ ความเชื่อมั่น ลดภาระของผู้ลงทุนและผู้ซื้อบ้าน" นายสุนทรกล่าว
ตลาดอสังหาฯ 2 เดือนแรกหดตัวแรง ยอดโอนลดทั้งหน่วยและมูลค่า พิษแผ่นดินไหว ภาษีทรัมป์ฉุดเชื่อมั่น ลูกค้าชะลอโอนคอนโดพุ่ง 2-6 เดือน สมาคมบ้านจัดสรรชง 3 ข้อฝ่าวิกฤต จ่อถก บสย.ค้ำประกัน สินเชื่อรายย่อย ชี้กนง.ลดดอกเบี้ยส่งสัญญาณดี
นายสุนทร สถาพร นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร เปิดเผยว่า ภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2568 ยังไม่ดีขึ้น สะท้อนจากยอดโอนกรรมสิทธิ์ในช่วง 2 เดือนแรก (ม.ค.-ก.พ.) ของ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) พบว่ายอดโอนลดลงทุกระดับราคา มีจำนวน 38,842 หน่วย ลดลง 13% และมูลค่า 103,557 ล้านบาท ลดลง 14.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2567 พร้อมทั้งปรับมุมมองตลาดเป็นสถานการณ์ไม่ดี หรือ Worst Case โดยคาดการณ์ทั้งปีหน่วยโอนติดลบ 3.5% และมูลค่าโอนติดลบ 3.7% ด้านการเปิดตัวโครงการใหม่ในไตรมาสแรกก็ลดลงเช่นกัน โดยเฉพาะกรุงเทพฯและปริมณฑลมีหน่วยเปิดขายใหม่อยู่ที่ 13,867 หน่วย ลดลง 15.6% และมูลค่า 83,905 ล้านบาท ลดลง 30%
อย่างไรก็ตามแม้จะมีมาตรการรัฐที่ออกมากระตุ้นถึง 2 มาตรการ คือ ลดค่าโอนและจำนองเหลือ 0.01% สำหรับที่อยู่อาศัยไม่เกิน 7 ล้านบาท มีผลเมื่อวันที่ 22 เมษายนที่ผ่านมา และมาตรการผ่อนคลายเกณฑ์ LTV จากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีผลวันที่ 1 พฤษภาคมถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2569 แต่ยังไม่สามารถทำให้ตลาดฟื้นได้ ยังติดเรื่องการขออนุมัติสินเชื่อจากธนาคารที่ยังไม่ปล่อยกู้ได้ง่าย ส่งผลต่อยอดถูกปฏิเสธสินเชื่อหรือรีเจ็กต์เรตยังสูง 45% ซึ่งเรื่องกู้ไม่ผ่านเป็นปัญหาใหญ่ของตลาดอสังหาฯในขณะนี้
"หลังมีเหตุการณ์แผ่นดินไหว และความไม่เชื่อมั่นต่อภาพรวมเศรษฐกิจ ทำให้ลูกค้ามีการชะลอโอนอยู่มากพอสมควร แม้จะลดค่าโอนและจำนองให้แล้วก็ตาม โดยเฉพาะคอนโดพบว่าลูกค้าขอชะลอโอนออกไปประมาณ 2-6 เดือน ขึ้นอยู่กับขนาดโครงการ ซึ่งผู้ประกอบการก็ต้องยืดเวลาให้ เพื่อมีเวลาเก็บรายละเอียดความเสียหายจากแผ่นดินไหว" นายสุนทรกล่าว
นายสุนทรกล่าวว่า ทั้งนี้จากการประชุมผู้ประกอบการในสมาคม ได้มีการรวบรวมข้อมูลเพื่อเป็นข้อเสนอต่อภาครัฐในการแก้ปัญหากำลังซื้อและกู้แบงก์ไม่ผ่าน โดยมี 3 เรื่องหลัก ประกอบด้วย 1.ลดค่าโอนและจำนอง 0.01% ทุกระดับราคา โดยรัฐสูญรายได้ส่วนนี้ประมาณ 18,000 ล้านบาท 2.ฟรีดอกเบี้ย 0% สำหรับที่อยู่อาศัยไม่เกิน 7 ล้านบาท เป็นเวลา 1 ปี วงเงิน 10,000 ล้านบาท และ 3.จะหารือกับบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เพื่อให้ช่วยค้ำประกันสินเชื่อที่อยู่อาศัยรายย่อย อัตราดอกเบี้ย 4.5% ต่อปี ใน 3 ปีแรก คาดใช้วงเงิน 20,000 ล้านบาท และถ้าลูกค้าไปต่อไม่ไหวผู้ประกอบการพร้อมที่จะสนับสนุน โดยแนวทางที่ 3 มีแนวโน้มที่จะเป็นไปได้มากที่สุด ซึ่งสมาคมมีแผนจะหารือกับ บสย.ภายในต้นเดือนพฤษภาคมนี้
"กรณีธนาคารโลกปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2568 โต 1.6% ชะลอลงจากที่ประเมินจะโต 2.9% สร้างความกังวลใจ ต่อภาคเอกชนอย่างมาก และถือเป็นเรื่องดีที่คณะกรรมการนโยบายการเงินหรือ กนง.ลดดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% เพราะการลดดอกเบี้ยมีผลต่อการฟื้นเศรษฐกิจ ความเชื่อมั่น ลดภาระของผู้ลงทุนและผู้ซื้อบ้าน" นายสุนทรกล่าว