อสังหาฯสงขลายอดโอนกระเตื้อง20% ธปท.ผ่อนLTV
วันที่ : 22 พฤษภาคม 2568
"อสังหาริมทรัพย์สงขลา" กระเตื้อง ยอดโอนบ้านพุ่งกว่า 20% หลังแบงก์ชาติผ่อนปรนมาตรการ LTV เปิดกว้างขอสินเชื่อได้ 100% ในการซื้อบ้านและคอนโดฯได้ทุกราคา ตั้งแต่ 1 พ.ค. 68-30 มิ.ย. 69 แถมเป็นโอกาสทองคนซื้อบ้าน มีโปรโมชั่น ลด แลก แจก แถมเพียบ เผยคาดภาพรวมยอดขายทั้งปี 2568 คงไม่ดีนัก เหตุหลายคนยังติดปัญหา "หนี้ครัวเรือน" ภาพรวมเศรษฐกิจที่ยังซึมยาว
นายวรัชญ์ ปริสุทธิ์กุล นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์จังหวัดสงขลา เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า กรณีที่รัฐบาลมีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2568 ต่ออายุมาตรการลดค่าโอน-จดจำนอง จาก 3% เหลือ 0.01% หรือค่าใช้จ่ายจากล้านละ 30,000 บาท ลดเหลือล้านละ 300 บาท รวมทั้งธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประกาศผ่อนปรนมาตรการ LTV-Loan to Value สามารถขอสินเชื่อได้ 100% ในการซื้อบ้านและคอนโดฯได้ทุกราคา มีผล 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2568-30 มิถุนายน 2569 ทำให้ธุรกิจอสังหาฯคลี่คลายไปได้มาก ลูกค้ามีการทยอยโอนบ้านประมาณกว่า 20% จากที่ชะลอไว้ตั้งแต่ปี 2567 ต่อเนื่องถึงต้นปี 2568
"การผ่อนปรนมาตรการของแบงก์ชาติถือเป็นการเปิดกว้างมากขึ้น ส่งผลให้คนที่ต้องการอยากมีบ้านจำนวนมากมีโอกาสมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ร่วมซื้อบ้านหรือผู้ที่เคยเข้าร่วมค้ำประกันซื้อบ้านมาก่อนได้มีโอกาสสูงมาก แต่มีสิ่งที่ผู้ประกอบการอสังหาฯยังมีความกังวลเกี่ยวกับภาพรวมของภาวะเศรษฐกิจ แม้ว่า จ.สงขลาที่เป็นหัวเมืองทางการค้า การท่องเที่ยว เศรษฐกิจถือว่าดีเมื่อเทียบกับหัวเมืองอื่น ๆ แล้ว แต่มีประเด็นสำคัญคือ ปัญหาหนี้ครัวเรือน และเศรษฐกิจภาพรวมที่ซึม ส่งผลโดยตรงต่อกำลังซื้อบ้าน เพราะลูกค้าหลายคนไม่มีความสามารถในการผ่อนสินเชื่อบ้าน
ชั่วโมงนี้เป็นโอกาสของผู้ต้องการบ้านที่มีเงินสด หรือมีเครดิตสามารถหา สินเชื่อได้ ก็จะได้บ้านราคาดี เพราะแต่ละโครงการมีโปรโมชั่น ลด แลก แจก แถม" นายวรัชญ์กล่าวและว่า
สถานการณ์อสังหาริมทรัพย์ จ.สงขลา เมื่อปี 2567 ทางด้านการตลาดปรากฏว่ายอดขายเฉลี่ยปรับตัวต่ำลงประมาณ 10% ส่วนแนวโน้มในปี 2568 กำลังซื้อขึ้นอยู่กับภาพรวมทิศทางเศรษฐกิจ และการดำเนินนโยบายของรัฐบาล
หากไม่มีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม ตลาดอสังหาริมทรัพย์จังหวัดสงขลาคงจะใกล้เคียงหรือเทียบเท่าปี 2567 ยอดคงจะตกไปในระดับ 10% เช่นกัน สำหรับตลาดอสังหาริมทรัพย์ จ.สงขลา ยอดขายสะสมน่าจะอยู่ในระดับ 30% ในขณะนี้
นายวรัชญ์กล่าวว่า เศรษฐกิจหลักที่ขับเคลื่อนจังหวัดสงขลาให้กระเตื้องขึ้น นอกจากภาคการค้า การท่องเที่ยวที่ดีกว่าอีกหลายหัวเมืองแล้ว ภาคการเกษตรทั้งการปลูกยางพารา ปาล์มน้ำมัน ฯลฯ ถือเป็นฐานรากของคนกลุ่มใหญ่ หากราคาสินค้าเกษตรดี จะเป็นแรงบวกทำให้มีกำลังซื้อมีการใช้จ่ายที่ดีมากเข้ามาในระบบ
ก่อนหน้านี้ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ได้รายงานสถานการณ์ภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัยที่ยังอยู่ระหว่างขายในช่วงครึ่งหลังปี 2567 ของจังหวัดสงขลา มีที่อยู่อาศัยที่เสนอขายรวมทั้งสิ้น 4,850 หน่วย ลดลงร้อยละ -5.9 มูลค่า 18,250 ล้านบาท ลดลงร้อยละ -13.5 โดยแบ่งเป็นโครงการบ้านจัดสรร 3,355 หน่วย มูลค่า 14,796 ล้านบาท โครงการอาคารชุด 1,495 หน่วย มูลค่า 3,454 ล้านบาท มีที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่เข้าสู่ตลาดจำนวน 1,083 หน่วย เพิ่มขึ้นร้อยละ 207.7 มูลค่า 3,670 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 71.7 ส่วนจำนวนหน่วยขายได้ใหม่มีจำนวน 1,166 หน่วย เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.5 มูลค่า 4,218 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.3
โดยมีจำนวนที่อยู่อาศัยเหลือขาย 3,684 หน่วย ลดลงร้อยละ -11.0 มูลค่า 14,032 ล้านบาท ลดลงร้อยละ -19.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 (YOY) เมื่อพิจารณาลงรายละเอียดตามรายพื้นที่ พบว่า
ทำเลที่มีที่อยู่อาศัยขายได้ใหม่สูงสุดในจังหวัดสงขลา 5 อันดับแรก ได้แก่ อันดับ 1 โซนในเมืองหาดใหญ่ จำนวน 417 หน่วย มูลค่า 1,091 ล้านบาท อันดับ 2 โซนท่าข้าม-ควนหิน จำนวน 168 หน่วย มูลค่า 744 ล้านบาท อันดับ 3 โซนควนลัง จำนวน 147 หน่วย มูลค่า 694 ล้านบาท อันดับ 4 โซนคอหงส์-ทุ่งงาย จำนวน 137 หน่วย มูลค่า 494 ล้านบาท และอันดับ 5 โซนบ้านพรุ จำนวน 104 หน่วย มูลค่า 431 ล้านบาท
ทำเลที่มีที่อยู่อาศัยเหลือขายสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ อันดับ 1 โซนท่าข้าม-ควนหิน จำนวน 1,002 หน่วย มูลค่า 4,496 ล้านบาท อันดับ 2 โซนคอหงส์-ทุ่งงาย จำนวน 843 หน่วย มูลค่า 2,228 ล้านบาท อันดับ 3 โซนควนลัง จำนวน 506 หน่วย มูลค่า 2,521 ล้านบาท อันดับ 4 โซนคลองแห จำนวน 464 หน่วย มูลค่า 1,848 ล้านบาท และอันดับ 5 โซนบ้านพรุ จำนวน 313 หน่วย มูลค่า 1,157 ล้านบาท
"การผ่อนปรนมาตรการของแบงก์ชาติถือเป็นการเปิดกว้างมากขึ้น ส่งผลให้คนที่ต้องการอยากมีบ้านจำนวนมากมีโอกาสมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ร่วมซื้อบ้านหรือผู้ที่เคยเข้าร่วมค้ำประกันซื้อบ้านมาก่อนได้มีโอกาสสูงมาก แต่มีสิ่งที่ผู้ประกอบการอสังหาฯยังมีความกังวลเกี่ยวกับภาพรวมของภาวะเศรษฐกิจ แม้ว่า จ.สงขลาที่เป็นหัวเมืองทางการค้า การท่องเที่ยว เศรษฐกิจถือว่าดีเมื่อเทียบกับหัวเมืองอื่น ๆ แล้ว แต่มีประเด็นสำคัญคือ ปัญหาหนี้ครัวเรือน และเศรษฐกิจภาพรวมที่ซึม ส่งผลโดยตรงต่อกำลังซื้อบ้าน เพราะลูกค้าหลายคนไม่มีความสามารถในการผ่อนสินเชื่อบ้าน
ชั่วโมงนี้เป็นโอกาสของผู้ต้องการบ้านที่มีเงินสด หรือมีเครดิตสามารถหา สินเชื่อได้ ก็จะได้บ้านราคาดี เพราะแต่ละโครงการมีโปรโมชั่น ลด แลก แจก แถม" นายวรัชญ์กล่าวและว่า
สถานการณ์อสังหาริมทรัพย์ จ.สงขลา เมื่อปี 2567 ทางด้านการตลาดปรากฏว่ายอดขายเฉลี่ยปรับตัวต่ำลงประมาณ 10% ส่วนแนวโน้มในปี 2568 กำลังซื้อขึ้นอยู่กับภาพรวมทิศทางเศรษฐกิจ และการดำเนินนโยบายของรัฐบาล
หากไม่มีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม ตลาดอสังหาริมทรัพย์จังหวัดสงขลาคงจะใกล้เคียงหรือเทียบเท่าปี 2567 ยอดคงจะตกไปในระดับ 10% เช่นกัน สำหรับตลาดอสังหาริมทรัพย์ จ.สงขลา ยอดขายสะสมน่าจะอยู่ในระดับ 30% ในขณะนี้
นายวรัชญ์กล่าวว่า เศรษฐกิจหลักที่ขับเคลื่อนจังหวัดสงขลาให้กระเตื้องขึ้น นอกจากภาคการค้า การท่องเที่ยวที่ดีกว่าอีกหลายหัวเมืองแล้ว ภาคการเกษตรทั้งการปลูกยางพารา ปาล์มน้ำมัน ฯลฯ ถือเป็นฐานรากของคนกลุ่มใหญ่ หากราคาสินค้าเกษตรดี จะเป็นแรงบวกทำให้มีกำลังซื้อมีการใช้จ่ายที่ดีมากเข้ามาในระบบ
ก่อนหน้านี้ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ได้รายงานสถานการณ์ภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัยที่ยังอยู่ระหว่างขายในช่วงครึ่งหลังปี 2567 ของจังหวัดสงขลา มีที่อยู่อาศัยที่เสนอขายรวมทั้งสิ้น 4,850 หน่วย ลดลงร้อยละ -5.9 มูลค่า 18,250 ล้านบาท ลดลงร้อยละ -13.5 โดยแบ่งเป็นโครงการบ้านจัดสรร 3,355 หน่วย มูลค่า 14,796 ล้านบาท โครงการอาคารชุด 1,495 หน่วย มูลค่า 3,454 ล้านบาท มีที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่เข้าสู่ตลาดจำนวน 1,083 หน่วย เพิ่มขึ้นร้อยละ 207.7 มูลค่า 3,670 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 71.7 ส่วนจำนวนหน่วยขายได้ใหม่มีจำนวน 1,166 หน่วย เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.5 มูลค่า 4,218 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.3
โดยมีจำนวนที่อยู่อาศัยเหลือขาย 3,684 หน่วย ลดลงร้อยละ -11.0 มูลค่า 14,032 ล้านบาท ลดลงร้อยละ -19.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 (YOY) เมื่อพิจารณาลงรายละเอียดตามรายพื้นที่ พบว่า
ทำเลที่มีที่อยู่อาศัยขายได้ใหม่สูงสุดในจังหวัดสงขลา 5 อันดับแรก ได้แก่ อันดับ 1 โซนในเมืองหาดใหญ่ จำนวน 417 หน่วย มูลค่า 1,091 ล้านบาท อันดับ 2 โซนท่าข้าม-ควนหิน จำนวน 168 หน่วย มูลค่า 744 ล้านบาท อันดับ 3 โซนควนลัง จำนวน 147 หน่วย มูลค่า 694 ล้านบาท อันดับ 4 โซนคอหงส์-ทุ่งงาย จำนวน 137 หน่วย มูลค่า 494 ล้านบาท และอันดับ 5 โซนบ้านพรุ จำนวน 104 หน่วย มูลค่า 431 ล้านบาท
ทำเลที่มีที่อยู่อาศัยเหลือขายสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ อันดับ 1 โซนท่าข้าม-ควนหิน จำนวน 1,002 หน่วย มูลค่า 4,496 ล้านบาท อันดับ 2 โซนคอหงส์-ทุ่งงาย จำนวน 843 หน่วย มูลค่า 2,228 ล้านบาท อันดับ 3 โซนควนลัง จำนวน 506 หน่วย มูลค่า 2,521 ล้านบาท อันดับ 4 โซนคลองแห จำนวน 464 หน่วย มูลค่า 1,848 ล้านบาท และอันดับ 5 โซนบ้านพรุ จำนวน 313 หน่วย มูลค่า 1,157 ล้านบาท
ข่าวอสังหาริมทรัพย์ภูมิภาค อื่นๆ