ดัชนีเชื่อมั่นQ1/68สวนตลาด REIC ชี้เป็นครั้งแรกดัชนีสูงกว่าค่ากลาง
วันที่ : 7 กรกฎาคม 2568
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ได้จัดทำ บทวิเคราะห์ เรื่อง "ดัชนีความเชื่อมั่นความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ไตรมาสที่ 1 ปี 2568" พบว่ามีค่าดัชนีเท่ากับ 51.7 จุด สูงกว่าค่ากลางที่ 50.0 จุด ทั้งนี้ ค่าดัชนีที่สูงขึ้นนับเป็นครั้งแรกตั้งแต่เริ่มมีการจัดทำดัชนี ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าผู้ตอบแบบสอบถาม มีความเชื่อมั่นในการซื้อที่อยู่อาศัยดีขึ้นกว่าช่วงที่ผ่านมา โดยเพิ่มขึ้น 12.5 จุด เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีค่าดัชนีเท่ากับ 39.2 จุด
พบคนมีแผนจะซื้อบ้านใน1ปีเพิ่ม 61.1%
อสังหาริมทรัพย์
สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยในปี 68 ยังคงมีทิศทางทรงตัว แม้ว่าจะต้องเผชิญกับปัจจัยลบเดิมๆ และปัจจัยใหม่เข้ามาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมี ผลต่อความเชื่อมั่นของทั้งผู้พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ และกลุ่มผู้ซื้ออย่างมีนัยสำคัญล่าสุด ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ได้จัดทำ บทวิเคราะห์ เรื่อง "ดัชนีความเชื่อมั่นความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ไตรมาสที่ 1 ปี 2568" พบว่ามีค่าดัชนีเท่ากับ 51.7 จุด สูงกว่าค่ากลางที่ 50.0 จุด
ทั้งนี้ ค่าดัชนีที่สูงขึ้นนับเป็นครั้งแรกตั้งแต่เริ่มมีการจัดทำดัชนี ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าผู้ตอบแบบสอบถาม มีความเชื่อมั่นในการซื้อที่อยู่อาศัยดีขึ้นกว่าช่วงที่ผ่านมา โดยเพิ่มขึ้น 12.5 จุด เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีค่าดัชนีเท่ากับ 39.2 จุด และเพิ่มขึ้น 8.8 จุด เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าที่มีค่าดัชนีเท่ากับ 42.9 จุด และพบว่าผู้ที่วางแผนจะซื้อที่อยู่ อาศัยภายใน 1 ปีมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 61.1 จากร้อยละ 50.8 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการปรับตัวดีขึ้นของความเชื่อมั่นของผู้ต้องการซื้อที่อยู่อาศัย
ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายการเงิน (กนง.) จากเดิมร้อยละ 2.25 เหลือร้อยละ 2.00 เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ช่วยลดภาระการผ่อนชำระของผู้ซื้อ อีกทั้งสถาบันการเงินหลายแห่งยังได้จัดทำผลิตภัณฑ์ สินเชื่อที่อยู่อาศัยอัตราดอกเบี้ยต่ำ เพื่อกระตุ้นกำลังซื้อในช่วงต้นปี ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ประกาศผ่อนคลายเกณฑ์ LTV เป็นการชั่วคราว โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2568 - 30 มิถุนายน 2569 และภาครัฐได้เตรียมต่อมาตรการกระตุ้นการซื้ออสังหาริมทรัพย์ลดค่าจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ และค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์ เหลือประเภทละร้อยละ 0.01 สำหรับที่อยู่อาศัยที่มีราคาไม่เกิน 7 ล้านบาท เป็นปัจจัยสนับสนุนด้านภาระค่าใช้จ่ายในการซื้อที่อยู่อาศัย ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจนในไตรมาสนี้
โดยสรุปแล้วผลของดัชนีความเชื่อมั่นการซื้อที่อยู่อาศัยในไตรมาสนี้ พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (62.1%) อยู่ในช่วงอายุ 25-34 ปี (47.4%) การศึกษาระดับปริญญาตรี (66.4%) ทำงานภาคเอกชน (61.6%) และมีรายได้ 30,001-50,000 บาท(33.2%) ซึ่งส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์ในการซื้อที่อยู่อาศัยเพื่ออยู่อาศัยเอง (30.5%) รองลงมา ได้แก่ ซื้อเพื่อเป็นทรัพย์สิน (15.2%) และซื้อเพื่อต้องการความสะดวกในการเดินทาง (12.6%) ส่วนใหญ่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยในระดับราคา 2.01-3.00 ล้านบาท (25.1%) ขณะที่ประเภทที่อยู่อาศัยที่มีความต้องการมากที่สุด ได้แก่ บ้านเดี่ยว (41.2%) ในระดับราคา 3.01-5.00 ล้านบาทและต้องการซื้อที่อยู่อาศัยในพื้นที่กรุงเทพฯมากที่สุด (59.9%) ส่วนปริมณฑล มีความต้องการซื้อในจังหวัดนนทบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี สมุทรสาคร และนครปฐม ตามลำดับ
นอกจากนี้ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ยังได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมในมิติต่างๆ ของผู้ตอบแบบสำรวจ ซึ่งได้แบ่งหัวข้อสอบถามสำคัญออกประกอบด้วย
1. ลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้ตอบแบบสอบถาม จากการสำรวจ พบว่า เพศหญิงมีความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยมากที่สุดร้อยละ 62.1 และส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 25-34 ปี หรือเป็นคนกลุ่ม Gen Y และ Gen Z มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 47.4 โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีระดับการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า คิดเป็นร้อยละ 66.4 และผู้ที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่ร้อยละ 61.6 มีอาชีพเป็นพนักงานเอกชนและร้อยละ 33.2 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ในช่วง 30,001-50,000 บาท โดยลักษณะทางประชากรศาสตร์ในภาพรวม มีความใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนหน้า ทั้งด้านเพศ ช่วงอายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ แต่รายได้เฉลี่ยต่อเดือนเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) ที่ส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ยอยู่ระหว่าง 15,001-30,000 บาท
2. วัตถุประสงค์ในการซื้อที่อยู่อาศัย ในไตรมาสนี้ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ร้อยละ 30.5 ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง อันดับสอง คือ ต้องการซื้อเพื่อเป็นทรัพย์สินร้อยละ 15.2 และอันดับสามต้องการความสะดวกในการเดินทางร้อยละ 12.6 ทั้งนี้มีข้อสังเกตว่าความต้องการซื้อเพื่อลงทุนหรือเก็งกำไรลดลงอย่างชัดเจน โดยมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 10.3 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า (YoY) ที่มีสัดส่วนร้อยละ 18.4 สะท้อนว่าเป็นกลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand) เพิ่มมากขึ้น สังเกตได้จากวัตถุประสงค์ที่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น ได้แก่ ความต้องการซื้อเพื่อเป็นทรัพย์สิน (มีสัดส่วนร้อยละ 15.2 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 14.9) ต้องการแยกครอบครัวหรือแต่งงาน (มีสัดส่วนร้อยละ 12.3 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 9.6) ต้องการสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น (มีสัดส่วนร้อยละ 10.6 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 7.6) และต้องการพื้นที่ Co-working space ภายในโครงการ (มีสัดส่วนร้อยละ 5.8 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.4)
3. ความต้องการซื้อที่อยู่อาศัย ด้านประเภททรัพย์พบว่าในไตรมาสนี้มีความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยทั้งประเภทมือหนึ่งหรือมือสองมากที่สุด มีสัดส่วนร้อยละ 49.8 ซึ่งลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) ที่มีสัดส่วนร้อยละ 52.8 รองลงมามีความต้องการซื้อเฉพาะที่อยู่อาศัยมือหนึ่งเท่านั้น มีสัดส่วนร้อยละ 46.0 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 38.9 ขณะที่ความต้องการเฉพาะที่อยู่อาศัยมือสองเท่านั้นมีสัดส่วนร้อยละ 4.3 ลดลงจากร้อยละ 8.3 แสดงให้เห็นว่า ในไตรมาสนี้ความต้องการซื้อบ้านมือหนึ่งเพิ่มขึ้นชัดเจน
สำหรับประเภทที่อยู่อาศัย พบว่า ส่วนใหญ่มีความต้องการซื้อบ้านเดี่ยว ร้อยละ 41.2 ในระดับราคา 3.01-5.00 ล้านบาทมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ คอนโดมิเนียมร้อยละ 23.5 ในระดับราคา 1.51-2.00 ล้านบาท และ 2.01-3.00 ล้านบาท มากที่สุดสำหรับทาวน์เฮาส์มีความต้องการซื้อร้อยละ 20.2 ในระดับราคา 2.01-3.00 ล้านบาท มากที่สุดส่วนบ้านแฝดมีความต้องการซื้อร้อยละ 13.2 ในระดับราคา 3.01-5.00 ล้านบาท มากที่สุด และอาคารพาณิชย์มีความต้องการซื้อร้อยละ 2.0 ในระดับราคา 2.01-3.00 ล้านบาท มากที่สุด
โดยช่วงราคาของที่อยู่อาศัย พบว่า ส่วนใหญ่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยในระดับราคาไม่เกิน 5.00 ล้านบาท สัดส่วนถึงร้อยละ 83.2 โดยต้องการซื้อในระดับราคา 2.01-3.00 ล้านบาทมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 25.1 รองลงมา ได้แก่ ระดับราคา 3.01-5.00 ล้านบาท และระดับราคา 1.51-2.00 ล้านบาท ที่มีสัดส่วนร้อยละ 21.3 และ ร้อยละ 21.1 ตามลำดับ สำหรับระดับราคาที่มีความต้องการซื้อเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่เป็นระดับราคาต่ำกว่า 7.00 ล้านบาท ซึ่งเป็นระดับราคาที่ได้รับการสนับสนุนการลดค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์และจดจำนองจากรัฐบาล ได้แก่ระดับราคาต่ำกว่า 1.00 ล้านบาท (มีสัดส่วนร้อยละ 9.0 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.7) ระดับราคา 1.51-2.00 ล้านบาท (มีสัดส่วนร้อยละ21.1 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 15.5) ระดับราคา 5.01-7.00 ล้านบาท(มีสัดส่วนร้อยละ 8.8 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 7.4) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY)
ขณะที่ช่วงอายุของผู้ต้องการซื้อพบว่าส่วนใหญ่เป็นผู้มี อายุอยู่ระหว่าง 25-34 ปี ร้อยละ 47.4 มีความสนใจซื้อบ้านเดี่ยวมากที่สุดร้อยละ 46.0 รองลงมามีอายุอยู่ระหว่าง 35-44 ปี ร้อยละ 28.9 มีความสนใจซื้อบ้านเดี่ยวมากที่สุดร้อยละ 35.1 สำหรับผู้มีอายุอยู่ระหว่าง 45-54 ปี ร้อยละ 12.3 มีความสนใจซื้อบ้านเดี่ยวมากที่สุดร้อยละ 42.9 ส่วนผู้มีอายุอยู่ระหว่าง 18-24 ปี ร้อยละ 6.7 มีความต้องการซื้อบ้านเดี่ยวมากที่สุดร้อยละ 52.4 และผู้มีอายุ 55 ปีขึ้นไป ร้อยละ 4.7 มีความสนใจซื้อคอนโดมิเนียมมากที่สุดร้อยละ 45.5 โดยมีข้อสังเกตว่า ผู้ตอบแบบสอบถามทุกช่วงอายุมีความต้องการซื้อคอนโด มิเนียมลดลงยกเว้นกลุ่มอายุ 55 ปีขึ้นไปที่มีความต้องการ ซื้อคอนโดมิเนียมมากขึ้น และส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์ซื้อ เพื่อลงทุน
ส่วนของจังหวัดที่ได้รับความสนใจเลือกซื้อที่อยู่อาศัย พบว่าอันดับ 1 กรุงเทพมหานคร มีสัดส่วนความต้องการที่อยู่อาศัยร้อยละ 59.9 ในระดับราคา 2.01-3.00 ล้านบาทมากที่สุดร้อยละ 26.1 โดยเฉพาะในทำเลที่เป็นแหล่งชุมชน ที่เดินทางเข้าเมืองสะดวก ใกล้สถานที่ทำงาน เช่น บางนา คลองหลวง บางกะปิ และลาดพร้าว
อันดับ 2 นนทบุรี มีสัดส่วนความต้องการที่อยู่อาศัยร้อยละ 9.0 ในระดับราคา 3.01-5.00 ล้านบาท มากที่สุด ร้อยละ 42.5 อันดับ 3 สมุทรปราการ มีสัดส่วนความต้องการที่อยู่อาศัยร้อยละ 6.9 ในระดับราคา 2.01-3.00 ล้านบาท มากที่สุดร้อยละ 44.4 อันดับ 4 ปทุมธานี มีสัดส่วนความต้องการที่อยู่อาศัยร้อยละ 5.7 ในระดับราคา 1.51-2.00 ล้านบาทมาก ที่สุด ร้อยละ 45.0 อันดับ 5 สมุทรสาคร มีสัดส่วนความต้องการที่อยู่อาศัยร้อยละ 3.9 ในระดับราคา 1.51-2.00 ล้านบาท มากที่สุด ร้อยละ 55.6 อันดับ 6 นครปฐม มีสัดส่วนความต้องการที่อยู่อาศัยร้อยละ 2.9 ในระดับราคาต่ำกว่า 1.00 ล้านบาท ระดับราคา 1.51-2.00 ล้านบาท และระดับราคา 2.01-3.00 ล้านบาทมากที่สุด ร้อยละ 33.3 ในขณะที่ จังหวัดอื่นๆ นอกพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล มีความต้องการซื้ออยู่รวมกันที่ร้อยละ 11.7
อสังหาริมทรัพย์
สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยในปี 68 ยังคงมีทิศทางทรงตัว แม้ว่าจะต้องเผชิญกับปัจจัยลบเดิมๆ และปัจจัยใหม่เข้ามาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมี ผลต่อความเชื่อมั่นของทั้งผู้พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ และกลุ่มผู้ซื้ออย่างมีนัยสำคัญล่าสุด ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ได้จัดทำ บทวิเคราะห์ เรื่อง "ดัชนีความเชื่อมั่นความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ไตรมาสที่ 1 ปี 2568" พบว่ามีค่าดัชนีเท่ากับ 51.7 จุด สูงกว่าค่ากลางที่ 50.0 จุด
ทั้งนี้ ค่าดัชนีที่สูงขึ้นนับเป็นครั้งแรกตั้งแต่เริ่มมีการจัดทำดัชนี ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าผู้ตอบแบบสอบถาม มีความเชื่อมั่นในการซื้อที่อยู่อาศัยดีขึ้นกว่าช่วงที่ผ่านมา โดยเพิ่มขึ้น 12.5 จุด เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีค่าดัชนีเท่ากับ 39.2 จุด และเพิ่มขึ้น 8.8 จุด เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าที่มีค่าดัชนีเท่ากับ 42.9 จุด และพบว่าผู้ที่วางแผนจะซื้อที่อยู่ อาศัยภายใน 1 ปีมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 61.1 จากร้อยละ 50.8 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการปรับตัวดีขึ้นของความเชื่อมั่นของผู้ต้องการซื้อที่อยู่อาศัย
ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายการเงิน (กนง.) จากเดิมร้อยละ 2.25 เหลือร้อยละ 2.00 เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ช่วยลดภาระการผ่อนชำระของผู้ซื้อ อีกทั้งสถาบันการเงินหลายแห่งยังได้จัดทำผลิตภัณฑ์ สินเชื่อที่อยู่อาศัยอัตราดอกเบี้ยต่ำ เพื่อกระตุ้นกำลังซื้อในช่วงต้นปี ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ประกาศผ่อนคลายเกณฑ์ LTV เป็นการชั่วคราว โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2568 - 30 มิถุนายน 2569 และภาครัฐได้เตรียมต่อมาตรการกระตุ้นการซื้ออสังหาริมทรัพย์ลดค่าจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ และค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์ เหลือประเภทละร้อยละ 0.01 สำหรับที่อยู่อาศัยที่มีราคาไม่เกิน 7 ล้านบาท เป็นปัจจัยสนับสนุนด้านภาระค่าใช้จ่ายในการซื้อที่อยู่อาศัย ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจนในไตรมาสนี้
โดยสรุปแล้วผลของดัชนีความเชื่อมั่นการซื้อที่อยู่อาศัยในไตรมาสนี้ พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (62.1%) อยู่ในช่วงอายุ 25-34 ปี (47.4%) การศึกษาระดับปริญญาตรี (66.4%) ทำงานภาคเอกชน (61.6%) และมีรายได้ 30,001-50,000 บาท(33.2%) ซึ่งส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์ในการซื้อที่อยู่อาศัยเพื่ออยู่อาศัยเอง (30.5%) รองลงมา ได้แก่ ซื้อเพื่อเป็นทรัพย์สิน (15.2%) และซื้อเพื่อต้องการความสะดวกในการเดินทาง (12.6%) ส่วนใหญ่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยในระดับราคา 2.01-3.00 ล้านบาท (25.1%) ขณะที่ประเภทที่อยู่อาศัยที่มีความต้องการมากที่สุด ได้แก่ บ้านเดี่ยว (41.2%) ในระดับราคา 3.01-5.00 ล้านบาทและต้องการซื้อที่อยู่อาศัยในพื้นที่กรุงเทพฯมากที่สุด (59.9%) ส่วนปริมณฑล มีความต้องการซื้อในจังหวัดนนทบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี สมุทรสาคร และนครปฐม ตามลำดับ
นอกจากนี้ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ยังได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมในมิติต่างๆ ของผู้ตอบแบบสำรวจ ซึ่งได้แบ่งหัวข้อสอบถามสำคัญออกประกอบด้วย
1. ลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้ตอบแบบสอบถาม จากการสำรวจ พบว่า เพศหญิงมีความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยมากที่สุดร้อยละ 62.1 และส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 25-34 ปี หรือเป็นคนกลุ่ม Gen Y และ Gen Z มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 47.4 โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีระดับการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า คิดเป็นร้อยละ 66.4 และผู้ที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่ร้อยละ 61.6 มีอาชีพเป็นพนักงานเอกชนและร้อยละ 33.2 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ในช่วง 30,001-50,000 บาท โดยลักษณะทางประชากรศาสตร์ในภาพรวม มีความใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนหน้า ทั้งด้านเพศ ช่วงอายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ แต่รายได้เฉลี่ยต่อเดือนเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) ที่ส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ยอยู่ระหว่าง 15,001-30,000 บาท
2. วัตถุประสงค์ในการซื้อที่อยู่อาศัย ในไตรมาสนี้ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ร้อยละ 30.5 ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง อันดับสอง คือ ต้องการซื้อเพื่อเป็นทรัพย์สินร้อยละ 15.2 และอันดับสามต้องการความสะดวกในการเดินทางร้อยละ 12.6 ทั้งนี้มีข้อสังเกตว่าความต้องการซื้อเพื่อลงทุนหรือเก็งกำไรลดลงอย่างชัดเจน โดยมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 10.3 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า (YoY) ที่มีสัดส่วนร้อยละ 18.4 สะท้อนว่าเป็นกลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand) เพิ่มมากขึ้น สังเกตได้จากวัตถุประสงค์ที่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น ได้แก่ ความต้องการซื้อเพื่อเป็นทรัพย์สิน (มีสัดส่วนร้อยละ 15.2 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 14.9) ต้องการแยกครอบครัวหรือแต่งงาน (มีสัดส่วนร้อยละ 12.3 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 9.6) ต้องการสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น (มีสัดส่วนร้อยละ 10.6 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 7.6) และต้องการพื้นที่ Co-working space ภายในโครงการ (มีสัดส่วนร้อยละ 5.8 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.4)
3. ความต้องการซื้อที่อยู่อาศัย ด้านประเภททรัพย์พบว่าในไตรมาสนี้มีความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยทั้งประเภทมือหนึ่งหรือมือสองมากที่สุด มีสัดส่วนร้อยละ 49.8 ซึ่งลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) ที่มีสัดส่วนร้อยละ 52.8 รองลงมามีความต้องการซื้อเฉพาะที่อยู่อาศัยมือหนึ่งเท่านั้น มีสัดส่วนร้อยละ 46.0 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 38.9 ขณะที่ความต้องการเฉพาะที่อยู่อาศัยมือสองเท่านั้นมีสัดส่วนร้อยละ 4.3 ลดลงจากร้อยละ 8.3 แสดงให้เห็นว่า ในไตรมาสนี้ความต้องการซื้อบ้านมือหนึ่งเพิ่มขึ้นชัดเจน
สำหรับประเภทที่อยู่อาศัย พบว่า ส่วนใหญ่มีความต้องการซื้อบ้านเดี่ยว ร้อยละ 41.2 ในระดับราคา 3.01-5.00 ล้านบาทมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ คอนโดมิเนียมร้อยละ 23.5 ในระดับราคา 1.51-2.00 ล้านบาท และ 2.01-3.00 ล้านบาท มากที่สุดสำหรับทาวน์เฮาส์มีความต้องการซื้อร้อยละ 20.2 ในระดับราคา 2.01-3.00 ล้านบาท มากที่สุดส่วนบ้านแฝดมีความต้องการซื้อร้อยละ 13.2 ในระดับราคา 3.01-5.00 ล้านบาท มากที่สุด และอาคารพาณิชย์มีความต้องการซื้อร้อยละ 2.0 ในระดับราคา 2.01-3.00 ล้านบาท มากที่สุด
โดยช่วงราคาของที่อยู่อาศัย พบว่า ส่วนใหญ่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยในระดับราคาไม่เกิน 5.00 ล้านบาท สัดส่วนถึงร้อยละ 83.2 โดยต้องการซื้อในระดับราคา 2.01-3.00 ล้านบาทมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 25.1 รองลงมา ได้แก่ ระดับราคา 3.01-5.00 ล้านบาท และระดับราคา 1.51-2.00 ล้านบาท ที่มีสัดส่วนร้อยละ 21.3 และ ร้อยละ 21.1 ตามลำดับ สำหรับระดับราคาที่มีความต้องการซื้อเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่เป็นระดับราคาต่ำกว่า 7.00 ล้านบาท ซึ่งเป็นระดับราคาที่ได้รับการสนับสนุนการลดค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์และจดจำนองจากรัฐบาล ได้แก่ระดับราคาต่ำกว่า 1.00 ล้านบาท (มีสัดส่วนร้อยละ 9.0 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.7) ระดับราคา 1.51-2.00 ล้านบาท (มีสัดส่วนร้อยละ21.1 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 15.5) ระดับราคา 5.01-7.00 ล้านบาท(มีสัดส่วนร้อยละ 8.8 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 7.4) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY)
ขณะที่ช่วงอายุของผู้ต้องการซื้อพบว่าส่วนใหญ่เป็นผู้มี อายุอยู่ระหว่าง 25-34 ปี ร้อยละ 47.4 มีความสนใจซื้อบ้านเดี่ยวมากที่สุดร้อยละ 46.0 รองลงมามีอายุอยู่ระหว่าง 35-44 ปี ร้อยละ 28.9 มีความสนใจซื้อบ้านเดี่ยวมากที่สุดร้อยละ 35.1 สำหรับผู้มีอายุอยู่ระหว่าง 45-54 ปี ร้อยละ 12.3 มีความสนใจซื้อบ้านเดี่ยวมากที่สุดร้อยละ 42.9 ส่วนผู้มีอายุอยู่ระหว่าง 18-24 ปี ร้อยละ 6.7 มีความต้องการซื้อบ้านเดี่ยวมากที่สุดร้อยละ 52.4 และผู้มีอายุ 55 ปีขึ้นไป ร้อยละ 4.7 มีความสนใจซื้อคอนโดมิเนียมมากที่สุดร้อยละ 45.5 โดยมีข้อสังเกตว่า ผู้ตอบแบบสอบถามทุกช่วงอายุมีความต้องการซื้อคอนโด มิเนียมลดลงยกเว้นกลุ่มอายุ 55 ปีขึ้นไปที่มีความต้องการ ซื้อคอนโดมิเนียมมากขึ้น และส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์ซื้อ เพื่อลงทุน
ส่วนของจังหวัดที่ได้รับความสนใจเลือกซื้อที่อยู่อาศัย พบว่าอันดับ 1 กรุงเทพมหานคร มีสัดส่วนความต้องการที่อยู่อาศัยร้อยละ 59.9 ในระดับราคา 2.01-3.00 ล้านบาทมากที่สุดร้อยละ 26.1 โดยเฉพาะในทำเลที่เป็นแหล่งชุมชน ที่เดินทางเข้าเมืองสะดวก ใกล้สถานที่ทำงาน เช่น บางนา คลองหลวง บางกะปิ และลาดพร้าว
อันดับ 2 นนทบุรี มีสัดส่วนความต้องการที่อยู่อาศัยร้อยละ 9.0 ในระดับราคา 3.01-5.00 ล้านบาท มากที่สุด ร้อยละ 42.5 อันดับ 3 สมุทรปราการ มีสัดส่วนความต้องการที่อยู่อาศัยร้อยละ 6.9 ในระดับราคา 2.01-3.00 ล้านบาท มากที่สุดร้อยละ 44.4 อันดับ 4 ปทุมธานี มีสัดส่วนความต้องการที่อยู่อาศัยร้อยละ 5.7 ในระดับราคา 1.51-2.00 ล้านบาทมาก ที่สุด ร้อยละ 45.0 อันดับ 5 สมุทรสาคร มีสัดส่วนความต้องการที่อยู่อาศัยร้อยละ 3.9 ในระดับราคา 1.51-2.00 ล้านบาท มากที่สุด ร้อยละ 55.6 อันดับ 6 นครปฐม มีสัดส่วนความต้องการที่อยู่อาศัยร้อยละ 2.9 ในระดับราคาต่ำกว่า 1.00 ล้านบาท ระดับราคา 1.51-2.00 ล้านบาท และระดับราคา 2.01-3.00 ล้านบาทมากที่สุด ร้อยละ 33.3 ในขณะที่ จังหวัดอื่นๆ นอกพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล มีความต้องการซื้ออยู่รวมกันที่ร้อยละ 11.7
ข่าว reic จากสื่อสิ่งพิมพ์ อื่นๆ