Loading

สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยใน EEC ไตรมาส 1 ปี 2566

วันที่ : 14 มิถุนายน 2566
              จากรายงานเศรษฐกิจของประเทศไทยของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1 ปี 2566 มีขยายตัวของ GDP ร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนโดยมีปัจจัยสำคัญมาจากการขยายตัวของภาคบริการ โดยเฉพาะในสาขาที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลมีมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศผ่านโครงการต่างๆ และรัฐบาลยังคงมีมารตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนเหลือร้อยละ 1 และค่าจดจำนองเหลือร้อยละ 0.01 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 3 มกราคม – 31 ธันวาคม 2566 เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยและเพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายสำหรับคนที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยเพื่ออยู่อาศัยจริง ประกอบกับในช่วงปลายปี 2565 มีการเร่งซื้อเร่งขายก่อนที่จะหมดมาตรการผ่อนปรน LTV ทำให้เกิดโมเมนตัมส่งผลให้อุปสงค์การโอนกรรมสิทธิ์ในพื้นที่ 3 จังหวัด EEC ในไตรมาส 1 ปี 2566 มีการขยายตัวทั้งจำนวนหน่วยและมูลค่า ร้อยละ 9.1 และ 16.9 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่า จังหวัดชลบุรีเป็นจังหวัดที่มีจำนวนหน่วยและมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์สูงสุดถึง 8,198 หน่วย มูลค่า 21,436 ล้านบาท ซึ่งประมาณร้อยละ 58 เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ของบ้านแนวราบ โดยพื้นที่ที่มีการโอนกรรมสิทธิ์มากจะอยู่ในอำเภอบางละมุง ศรีราชา และเมืองชลบุรี ตามลำดับ จังหวัดที่รองลงมาคือ จังหวัดระยอง มีจำนวนหน่วยและมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ 2,900 หน่วย มูลค่า 6,211 ล้านบาท ซึ่งประมาณร้อยละ 90 เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ของบ้านแนวราบ โดยพื้นที่ที่มีการโอนกรรมสิทธิ์มากจะอยู่ในอำเภอเมืองระยอง ปลวกแดง และนิคมพัฒนา สำหรับจังหวัดฉะเชิงเทราจะมีขนาดตลาดที่เล็กที่สุดในพื้นที่ EEC มีจำนวน 1,087 หน่วย มูลค่า 2,423 ล้านบาท ซึ่งมากกว่าร้อยละ 97 เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ของบ้านแนวราบโดยพื้นทีที่มีการโอนกรรมสิทธิ์มากจะอยู่ในอำเภอบางปะกง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา และอำเภอแปลงยาว.....อ่านต่อฉบับเต็ม .... Download PDF
สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่