สถานการณ์ที่อยู่อาศัยใน EEC ไตรมาส 3 ปี 2565
วันที่ : 24 มกราคม 2566
เพิ่มศักยภาพโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคให้เชื่อมโยงอย่างเป็นระบบสมบูรณ์
โครงการที่ใช้โครงสร้างและแนวเส้นทางการเดินรถเดิมของระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแอร์พอร์ตลิงค์ (Airport Rail Link) ที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน โดยจะก่อสร้างทางรถไฟขนาด 1.435 เมตร (Standard Gauge) ส่วนต่อขยาย 2 ช่วงจากสถานีพญาไท ไปยังสนามบินดอนเมือง และจากสถานีลาดกระบังไปยังสนามบินอู่ตะเภา พร้อมเชื่อมเข้าออกสนามบิน โดยใช้เขตทางเดิมของการรถไฟฯ เป็นส่วนใหญ่รวมระยะทาง 220 กม. มีผู้เดินรถรายเดียวกัน ซึ่งรถไฟความเร็วสูงมีความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง เชื่อมกรุงเทพฯ กับพื้นที่ อีอีซี ภายในระยะเวลาไม่เกิน 60 นาที
จากรายงานเศรษฐกิจของประทศไทย โดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3 ปี 2565 มีขยายตัวของ GDP ร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งปรับตัวดีขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 2.5 ในไตรมาสก่อนหนัา ทั้งนี้ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2565 (มกราคม-กันยายน) มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 3.1 โดยมีปัจจัยสำคัญมาจากการเร่งตัวของภาคบริการที่มีแรงสนับสนุนจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ประกอบกับมาตรการสนับสนุนการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องของภาครัฐ ซึ่งได้ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและผู้เยี่ยมเยือนประเทศไทยมีจำนวนมากขึ้น ปัจจัยบวกเพิ่มเหล่านี้ทำให้ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นต่อการลงทุนในภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มากขึ้น ส่งผลให้ในไตรมาส 3 ปี 2565 มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นของอุปทานด้านการออกใบอนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.9 และมีการขยายตัวในด้านอุปสงค์การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นทั้งจำนวนหน่วยและมูลค่าร้อยละ 34.1 และ ร้อยละ 37.1 ตามลำดับ
สำหรับอุปทานด้านการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินในจังหวัด EEC ลดลงร้อยละ -18.3 ซึ่งหดตัวลงค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ของปี 2564 อาจจะป็นผลมาจากการที่ในช่วงปี 2562 และ 2563 มีหน่วยที่ได้รับใบอนุญาตจัดสรรออกมามาก คาดว่าจะเกิดจากผลกระทบจากการยื่นขออนุญาตขอจัดสรรจำนวนมากในช่วงก่อนเกิด COVID-19 ในปี 2561-2562 แต่หลังจากเกิด COVID-19 ตั้งแต่ปี 2563 การยื่นขอใบอนุญาตจัดสรรทยอยน้อยลง ส่งผลให้หน่วยที่ได้รับอนุญาตจัดสรรในปี 2564 และ 2565 จึงมีจำนวนลดลงได้ ประกอบกับข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้รับจากพื้นที่พบว่า มีการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยขนาดเล็กที่ไม่เข้าเกณฑ์ต้องยื่นขอใบอนุญาตจัดสรรจำนวนมากขึ้นในช่วงที่เกิด COVID-19 และความต้องการของประชาชนในการสร้างบ้านบนที่ดินตัวเองสูงขึ้น ก็เป็นอีกสาเหตุสำคัญที่ทำให้จำนวนหน่วยที่ได้รับในอนุญาตจัดสรรลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
สำหรับภาพรวมของภาคอสังหาริมทรัพย์ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2565 (มกราคม-กันยายน) ได้รับปัจจัยบวกที่สำคัญ จากมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์และค่าจดจำนองสำหรับที่อยู่อาศัยที่ไม่เกิน 3 ล้านบาท ซึ่งขยายครอบคลุมไปถึงบ้านมือสอง และการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ผ่อนคลายมาตรการ LTV ชั่วคราว สำหรับสัญญาเงินกู้ที่สองขึ้นไปที่ทำสัญญาตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 ส่งผลให้ยอดโอนกรรมสิทธิ์ใน 9 เดือนแรกของปี 2565 มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้งจำนวนหน่วยและมูลค่าร้อยละ 13.3 และ ร้อยละ 14.5 ตามลำดับ และเห็นได้ชัดว่ามูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในระดับราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 และการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยมือสองเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.0 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2564 แสดงให้เห็นว่ามาตรการที่รัฐบาลออกมาสนับสนุนมีผลดีต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างมีนัยสำคัญ และนับเป็นปัจจัยบวก ที่กล่าวมาทำให้ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นต่อการลงทุนในภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มากขึ้น ซึ่งได้ส่งผลให้จำนวนการออกอนุญาตก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.1 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นทั้งแนวราบ ร้อยละ 10.9 และอาคารชุด ร้อยละ 38.2 ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยลบที่ควรระมัดระวังอาจจะทำให้เศรษฐกิจภาพรวมและภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีการชะลอตัวลงได้แก่ สถานการณ์การสู้รบระหว่างรัสเซียและยูเครน ที่เป็นเหตุทำให้ราคาน้ำมันและค่าครองชีพสูงขึ้น ค่าวัสดุก่อสร้างปรับราคาเพิ่มขึ้น รวมถึงการขาดแคลนแรงงานภาคการก่อสร้าง และหนี้สินภาคครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ที่อาจส่งผลให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ฟื้นตัวช้าลงกว่าเดิมจากที่ได้คาดการณ์ไว้
จากรายงานเศรษฐกิจของประทศไทย โดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3 ปี 2565 มีขยายตัวของ GDP ร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งปรับตัวดีขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 2.5 ในไตรมาสก่อนหนัา ทั้งนี้ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2565 (มกราคม-กันยายน) มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 3.1 โดยมีปัจจัยสำคัญมาจากการเร่งตัวของภาคบริการที่มีแรงสนับสนุนจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ประกอบกับมาตรการสนับสนุนการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องของภาครัฐ ซึ่งได้ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและผู้เยี่ยมเยือนประเทศไทยมีจำนวนมากขึ้น ปัจจัยบวกเพิ่มเหล่านี้ทำให้ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นต่อการลงทุนในภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มากขึ้น ส่งผลให้ในไตรมาส 3 ปี 2565 มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นของอุปทานด้านการออกใบอนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.9 และมีการขยายตัวในด้านอุปสงค์การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นทั้งจำนวนหน่วยและมูลค่าร้อยละ 34.1 และ ร้อยละ 37.1 ตามลำดับ
สำหรับอุปทานด้านการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินในจังหวัด EEC ลดลงร้อยละ -18.3 ซึ่งหดตัวลงค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ของปี 2564 อาจจะป็นผลมาจากการที่ในช่วงปี 2562 และ 2563 มีหน่วยที่ได้รับใบอนุญาตจัดสรรออกมามาก คาดว่าจะเกิดจากผลกระทบจากการยื่นขออนุญาตขอจัดสรรจำนวนมากในช่วงก่อนเกิด COVID-19 ในปี 2561-2562 แต่หลังจากเกิด COVID-19 ตั้งแต่ปี 2563 การยื่นขอใบอนุญาตจัดสรรทยอยน้อยลง ส่งผลให้หน่วยที่ได้รับอนุญาตจัดสรรในปี 2564 และ 2565 จึงมีจำนวนลดลงได้ ประกอบกับข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้รับจากพื้นที่พบว่า มีการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยขนาดเล็กที่ไม่เข้าเกณฑ์ต้องยื่นขอใบอนุญาตจัดสรรจำนวนมากขึ้นในช่วงที่เกิด COVID-19 และความต้องการของประชาชนในการสร้างบ้านบนที่ดินตัวเองสูงขึ้น ก็เป็นอีกสาเหตุสำคัญที่ทำให้จำนวนหน่วยที่ได้รับในอนุญาตจัดสรรลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
สำหรับภาพรวมของภาคอสังหาริมทรัพย์ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2565 (มกราคม-กันยายน) ได้รับปัจจัยบวกที่สำคัญ จากมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์และค่าจดจำนองสำหรับที่อยู่อาศัยที่ไม่เกิน 3 ล้านบาท ซึ่งขยายครอบคลุมไปถึงบ้านมือสอง และการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ผ่อนคลายมาตรการ LTV ชั่วคราว สำหรับสัญญาเงินกู้ที่สองขึ้นไปที่ทำสัญญาตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 ส่งผลให้ยอดโอนกรรมสิทธิ์ใน 9 เดือนแรกของปี 2565 มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้งจำนวนหน่วยและมูลค่าร้อยละ 13.3 และ ร้อยละ 14.5 ตามลำดับ และเห็นได้ชัดว่ามูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในระดับราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 และการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยมือสองเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.0 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2564 แสดงให้เห็นว่ามาตรการที่รัฐบาลออกมาสนับสนุนมีผลดีต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างมีนัยสำคัญ และนับเป็นปัจจัยบวก ที่กล่าวมาทำให้ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นต่อการลงทุนในภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มากขึ้น ซึ่งได้ส่งผลให้จำนวนการออกอนุญาตก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.1 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นทั้งแนวราบ ร้อยละ 10.9 และอาคารชุด ร้อยละ 38.2 ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยลบที่ควรระมัดระวังอาจจะทำให้เศรษฐกิจภาพรวมและภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีการชะลอตัวลงได้แก่ สถานการณ์การสู้รบระหว่างรัสเซียและยูเครน ที่เป็นเหตุทำให้ราคาน้ำมันและค่าครองชีพสูงขึ้น ค่าวัสดุก่อสร้างปรับราคาเพิ่มขึ้น รวมถึงการขาดแคลนแรงงานภาคการก่อสร้าง และหนี้สินภาคครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ที่อาจส่งผลให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ฟื้นตัวช้าลงกว่าเดิมจากที่ได้คาดการณ์ไว้
สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่
E-book สถานการณ์ที่อยู่อาศัยในจังหวัด EEC อื่นๆ