ธปท.เตรียมสรุปความเห็น ออกเกณฑ์คุมให้กู้อสังหา
Loading

ธปท.เตรียมสรุปความเห็น ออกเกณฑ์คุมให้กู้อสังหา

วันที่ : 24 ตุลาคม 2561
วจีทิพย์ พงษ์เพ็ชร ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า หลังจากที่เปิดรับฟังความเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงเกณฑ์สินเชื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งมีผู้ให้ข้อเสนอแนะเข้ามาจำนวนมาก ทั้งจากประชาชนผู้บริโภค สถาบันการเงิน และผู้ประกอบการ
          วจีทิพย์ พงษ์เพ็ชร ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า หลังจากที่เปิดรับฟังความเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงเกณฑ์สินเชื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งมีผู้ให้ข้อเสนอแนะเข้ามาจำนวนมาก ทั้งจากประชาชนผู้บริโภค สถาบันการเงิน และผู้ประกอบการ โดยความเห็นที่ได้รับครอบคลุมหลายประเด็น อาทิ วันที่เริ่มบังคับใช้ ความหมายของบ้านหลังที่ 2 หรือสัญญาที่ 2 อัตราการวางเงินดาวน์ของสัญญาที่ 2 หรือสัญญาที่ 3 เป็นต้น ซึ่ง ธปท.จะนำข้อเสนอแนะมาประกอบการพิจารณา ก่อนจะกำหนดหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมต่อไป คาดว่าจะมีความชัดเจนในช่วงต้นเดือน พ.ย. 2561

          นอกจากนี้ มีคำถามและหลายประเด็นที่อาจเข้าใจคลาดเคลื่อน ซึ่ง ธปท. ขอยืนยันว่า ที่สถานการณ์ปัจจุบันต่างจากช่วงปี 2540 มาตรการที่จะปรับปรุงเป็น "มาตรการในเชิงป้องกัน" (Preventive Measures) คล้ายกับเราเริ่มเห็นควัน ก็ต้องป้องกันไม่ให้เกิดไฟไหม้ โดยมาตรการนี้มุ่งยกระดับมาตรฐานการพิจารณาสินเชื่อของสถาบันการเงินซึ่ง ที่ผ่านมาหย่อนลงไปบ้าง และมุ่งเน้นการ สร้างวินัยให้มีการออมบางส่วนก่อนกู้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัย รวมทั้งป้องกันการเก็งกำไร โดย "การลด Demand เทียม" ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนที่ต้องการซื้อที่อยู่ เพื่ออาศัยอยู่จริง สามารถซื้อบ้านในราคา ที่เหมาะสม อีกทั้งประสบการณ์ที่ผ่านมา ชี้ว่าปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์มักเป็น ต้นตอทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ (งานวิจัย ของ IMF ชี้ว่าวิกฤตเศรษฐกิจกว่า 50 ครั้ง ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา เช่น วิกฤต Subprime เกิดจากปัญหาภาคอสังหาฯ) มาตรการในครั้งนี้จึงมุ่งป้องกันปัญหาในอนาคต

          ทั้งนี้ ธปท.ขอทำความเข้าใจกับหลายประเด็นที่ประชาชนอาจจะยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อน จะใช้บังคับเฉพาะกรณีการผ่อนที่อยู่อาศัย 2 หลังขึ้นไปพร้อมๆ กัน และจะไม่กระทบกรณีที่ผ่อนหลังที่ 1 เสร็จแล้ว และจะกู้เงินเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยหลังที่ 2 (กรณีนี้จะนับเป็นสัญญาที่ 1)

          การปรับปรุงหลักเกณฑ์ในครั้งนี้จะ ไม่กระทบการซื้อที่อยู่อาศัยของประชาชนที่มีรายได้น้อยที่ซื้อบ้านหลังแรก (ใช้บังคับ เฉพาะที่อยู่อาศัยที่ราคาเกิน 10 ล้านบาท ขึ้นไป) ที่สำคัญเกณฑ์ใหม่จะไม่กระทบผู้ที่กู้ก่อนเกณฑ์ใหม่มีผลบังคับใช้ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือจะไม่มีผลย้อนหลังสำหรับผู้ที่กู้ไปแล้ว

          อาภา อรรถบูรณ์วงศ์ นายกสมาคมอาคารชุดไทย เปิดเผยว่า ผลกระทบจากการที่ ธปท.จะควบคุมการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยได้ส่งผลกระทบกับตลาดที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะคอนโดมิเนียมอย่างเห็นได้ชัด มากกว่าตลาดที่อยู่อาศัยแนวราบ ทำให้ผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจแล้วเพราะต้องรอความชัดเจนจากทาง ธปท.

          "ปัจจุบันแม้ว่าบรรดาผู้ประกอบการ จะพยายามออกกิจกรรมส่งเสริมการขาย มากมาย แต่กำลังซื้อก็ยังไม่ดีขึ้น เนื่องจากต้องการรอผู้ซื้อที่รอความชัดเจนจากมาตรการดังกล่าว ว่าจะส่งผลอย่างไรบ้าง จึงยังไม่เร่งตัดสินใจซื้อ" อาภา กล่าว

          ทั้งนี้ ทางสมาคมขอให้ ธปท.ควบคุมเกณฑ์เดิมที่มีอยู่ (LTV 90%) อย่างมีประสิทธิภาพเป็นระยะเวลา 6 เดือนก่อน ซึ่งถ้าไม่ดีขึ้น ธปท.จึงจะทยอยปรับลด LTV เป็นขั้นๆ ในระยะเวลา 1-2 ปี เพราะผู้ซื้อบางส่วนซื้อก่อนหรือในระหว่างก่อสร้างในยอดเงิน LTV เดิม ถ้า ธปท.ปรับ LTV น้อยลงในสัญญาที่ 2 ให้ยกเว้นเขตพื้นที่ กทม.และอีอีซี ถ้า ธปท.ปรับ LTV น้อยลงเสนอให้ใช้กับสัญญาที่ 3 เฉพาะผู้ซื้อรายที่ยังมีหนี้ผ่อนชำระสินเชื่อ บ้านสัญญาก่อนหน้านี้

          นอกจากนี้ ผู้ที่ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่อยู่อาศัยก่อนวันประกาศใช้เกณฑ์ LTV ใหม่ใดๆ ที่จะออกมาภายหลังควร ได้รับสิทธิให้ใช้เกณฑ์ LTV ในขณะวันที่ทำสัญญาฯ และเสนอให้ ธปท.แยกสินเชื่อ บุคคล เช่น ค่าประกันชีวิต สินเชื่ออเนก ประสงค์ หรือสินเชื่อธุรกิจที่ใช้อยู่เป็นหลัก ประกันแยกออกจากสินเชื่อเคหะ

          วิชัย วิรัตกพันธ์ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ประเมินตัวเลขผลกระทบ จากการที่ ธปท.เตรียมประกาศใช้เกณฑ์สินเชื่อที่อยู่อาศัยลดวงเงินสินเชื่อต่อหลักประกัน (LTV) และยึดเกณฑ์เดิมทุกมาตรการที่อยู่ระหว่างทำประชาพิจารณ์ที่จะประกาศใช้ตั้งแต่เดือน ม.ค. 2562 จะ ส่งผลให้จำนวนอุปทานโครงการเปิดตัว ใหม่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลลดลง 20% จากทั้งปีที่คาดว่าจะมียูนิตเปิดใหม่ประมาณ 1 แสนหน่วย จะเปิดตัวลดลง 2 หมื่นหน่วย

          นอกจากนี้ ตัวเลขการโอนกรรมสิทธิ์ในปี 2562 จะลดลง 5% เมื่อเทียบกับปี 2561 โดยการโอนสัญญาหลังที่ 2 จะหายไปประมาณ 2 หมื่นหน่วยเช่นกัน จากทั้งปี 2561 คาดว่าจะมีการโอนกรรมสิทธิ์ทั้งปีประมาณ 3.4 แสนหน่วย คิดเป็นมูลค่าประมาณ 7 แสนล้านบาท แต่หาก ธปท.ปรับใช้กับการทำสัญญากับที่อยู่อาศัย หลังที่ 3 เชื่อว่าตัวเลขการโอนกรรมสิทธิ์จะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก
 
ข่าว reic จากสื่อสิ่งพิมพ์ อื่นๆ