อสังหาฯ ชล-ระยองหวังอีอีซีปลุกตลาด
Loading

อสังหาฯ ชล-ระยองหวังอีอีซีปลุกตลาด

วันที่ : 6 พฤษภาคม 2560
อสังหาฯ ชล-ระยองหวังอีอีซีปลุกตลาด

          อสังหาฯ ชลบุรี-ระยอง ยังไม่ฟื้น รอความหวังอีอีซีช่วยปลุกกำลังซื้อ

          นายวิชัย วิรัตกพันธ์ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เปิดเผยว่า ผลสำรวจโครงการที่อยู่อาศัย จ.ชลบุรี ระยอง ณ ไตรมาส 3 ปี 2559 พบว่า ชลบุรี มีหน่วยที่อยู่อาศัย 1.7 แสนหน่วย เป็นบ้านจัดสรร 7.3 หมื่นหน่วย มูลค่ารวม 2 แสนล้านบาท เหลือขาย 2.2 หมื่นหน่วย มูลค่า 6.5 หมื่นล้านบาท และเป็นอาคารชุด 1 แสนหน่วย มูลค่า 3 แสนล้านบาท ยังเหลือขาย 1.6 หมื่นหน่วย มูลค่า 4.9 หมื่นล้านบาท

          ขณะที่ จ.ระยอง มีหน่วยที่อยู่อาศัยที่อยู่ในระหว่างการขาย 2.7 หมื่นหน่วย เป็นจัดสรร 2.1 หมื่นหน่วย มูลค่า 5.7 หมื่นล้านบาท เหลือขาย 8,533 หน่วย มูลค่า 2.3 หมื่นล้านบาท และอาคาร ชุดประมาณ 5,187 หน่วย มีมูลค่า 9,367 ล้านบาท เหลือขาย 1,257 หน่วย มูลค่า 2,339 ล้านบาท

          นายมีศักดิ์ ชุนหรักษ์โชติ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ชลบุรี กล่าวว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์ชลบุรีอยู่ในภาวะถดถอยมาได้ 2-3 ปี โครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรืออีอีซี จึงเป็นความหวังของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ แต่ผู้ประกอบการจะต้องเตรียมความพร้อมในการวางแผนจัดระบบเมืองรองรับกันตั้งแต่ตอนนี้

          ด้าน น.ส.ณัฏฐนันท์ คุณาจิระกุล นายกสมาคมการค้าอสังหาริมทรัพย์ จังหวัดระยอง กล่าวว่า หวังว่าอีอีซีจะช่วยกระตุ้นความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยได้ แต่ได้ทำให้ราคาที่ดินสูงขึ้นด้วยเช่นกัน

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์

ข่าว reic จากสื่อสิ่งพิมพ์ อื่นๆ
13 มีนาคม 2568
REIC แจงปี 2567 มาตรการลดค่าโอน-จำนอง ราคาไม่เกิน 7 ล้าน อุ้มอสังหาฯได้จริง
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ หรือ REIC เปิดเผยว่า จากการที่ภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ มีข้อเรียกร้องให้รัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร ต่ออายุมาตรการลดค่าโอน-จดจำนอง ที่อยู่อาศัยราคาไม่เกิน 7 ล้านบาท เนื่องจากเป็นมาตรการที่หมดอายุลงเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา ทาง REIC มีข้อมูลยืนยันว่า การมีมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ในปี 2567 ที่ออกโดยรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2567 และมีผลบังคับใช้ถึง 31 ธันวาคม 2567 มีผลบวกกับการซื้อและโอนที่อยู่อาศัยในปี 2567