LTV ฉุดตลาดอสังหาฯ ปี 62 ติดลบ 5% คอนโดฯราคา 2-3 ล้านบาทเหลืออื้อ
Loading

LTV ฉุดตลาดอสังหาฯ ปี 62 ติดลบ 5% คอนโดฯราคา 2-3 ล้านบาทเหลืออื้อ

วันที่ : 22 กุมภาพันธ์ 2562
นายวิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยถึงแนวโน้มตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2562 ว่ายังเป็นปีที่ยากลำบากสำหรับธุรกิจอสังหาฯ เนื่องจากมีปัจจัยลบหลายประการ ทำให้ตลาดมีการเติบโตที่ลดลง โดยเฉพาะภาวะเศรษฐกิจ แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยช่วงขาขึ้น ซึ่งอาจทำให้ตลาดโตติดลบประมาณ 5% นอกจากนี้ ในบางทำเลยังมีสินค้าเหลือขายในตลาดจำนวนมาก อัตราการขายช้า โดยเฉพาะคอนโดมิเนียม ราคา 2-36 ล้านบาท ซึ่งผู้ประกอบการที่จะลงทุนใหม่ควรมีความระมัดระวัง
          นายวิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยถึงแนวโน้มตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2562 ว่ายังเป็นปีที่ยากลำบากสำหรับธุรกิจอสังหาฯ เนื่องจากมีปัจจัยลบหลายประการ ทำให้ตลาดมีการเติบโตที่ลดลง โดยเฉพาะภาวะเศรษฐกิจ แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยช่วงขาขึ้น ซึ่งอาจทำให้ตลาดโตติดลบประมาณ 5% นอกจากนี้ ในบางทำเลยังมีสินค้าเหลือขายในตลาดจำนวนมาก อัตราการขายช้า โดยเฉพาะคอนโดมิเนียม ราคา 2-36 ล้านบาท ซึ่งผู้ประกอบการที่จะลงทุนใหม่ควรมีความระมัดระวัง

          นอกจากนี้ ยังมีปัญหาภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว และแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปีนี้ ทำให้มีอัตราการขยายตัวลดลงประมาณ 5% เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ กำลังซื้ออยู่ในภาวะชะลอตัว ซึ่งจะ ทำให้การดำเนินธุรกิจในปี 2562 เป็นไปอย่างยากลำบาก และต้องมีความระมัดระวังในการลงทุน

          รวมถึงมาตรการกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (LTV) ของ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 เมษายน 2562 ซึ่งจะทำให้กำลังซื้อลดลง ขณะที่มีจำนวนซัพพลาย คงเหลือในเขตกรุงเทพฯ และปริมลฑล ประมาณ 133,000 หน่วย โดยเฉพาะคอนโดมิเนียมระดับราคา 2-3 ล้านบาท โดยทำเลที่มีอัตราการขายช้า ได้แก่ ทำเลรถไฟฟ้าสายสีม่วง มีจำนวนหน่วยเหลือขาย 9,600 หน่วย คาดว่าจะใช้ระยะเวลาในการขายกว่า 18 เดือน, ทำเลบางแค สายสีนำเงิน 900 หน่วย คาดใช้เวลาขาย 31 เดือน, รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้มเหลือขาย 1,500 หน่วย คาดว่าจะใช้ระยเวลาในการขาย 25 เดือน, รถไฟฟ้าสารสีแดอ่อน ตลิ่งชัน และบางปู สมุทรปราการ

          ทั้งนี้ คาดว่า ภายหลังมาตรการ LTV มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 เมษายน 62 จะทำให้ตลาดอสังหาฯ ชะลอตัวลง เนื่องจากกำลังซื้อถูกดึงให้มาซื้อและโอนไปในช่วงก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตาม คาดการณ์ว่าในปี 62 จะมียอดโอนกรรมสิทธิ์ลดลงอยู่ที่ประมาณ 307,000 หน่วย คิดเป็นมูลค่า 747,000 ล้านบาท ลดลงจากปี 61 ที่มียอดโอนกรรมสิทธิ์ 363,000 หน่วย คิดเป็นมูลค่า 839,000 ล้านบาท

          ด้าน นายนริศ สถาผลเดชา ผู้บริการศูนย์วิเคราะห์ ทีเอ็มบี กล่าวว่า มาตราการแอลทีวีที่จะออกมาบังคับใช้จะทำให้ยอดโอนกรรมสิทธิ์ในไตรมาสแรกปี 62 ขยายตัวสูง ซึ่งคาดว่าจะเห็นผลกระทบในช่วงไตรมาส2/2562 เป็นต้นไปในตลาดกลางและบน เนื่องจากเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อและอาจซื้อเพื่อการลงทุน โดยเฉพาะในกลุ่มคอนโดมิเนียม

          ขณะที่นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย นายพรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ กล่าวแสดงความคิดเห็นว่า ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงที่ยัง มีอยู่ คาดว่าตลาดอสังหาฯในปี 62 จะเติบโตอยู่ที่ประมาณ 4% เนื่องจากผู้ประกอบการจะรอดูความชัดเจนของรัฐบาลโดยเฉพาะโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ (อีอีซี)