แอลเอชแบงก์ ลุยสินเชื่อใหม่ปีหน้า8,000ล้านบาท
Loading

แอลเอชแบงก์ ลุยสินเชื่อใหม่ปีหน้า8,000ล้านบาท

วันที่ : 4 ตุลาคม 2562
น.ส.ชมภูนุช กล่าวว่า ในปี 2563 การดำเนินธุรกิจมีความยากกว่าในปีนี้ เนื่องจากจะเป็นปีที่บังคับใช้มาตรฐานทางบัญชี ทีเอฟอาร์เอส 9 ทำให้ต้องสำรองหนี้ตามความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งปัจจุบันการสำรองเป็นไปตามเกณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำหนด ในขณะที่หนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้หรือเอ็นพีแอลยังไม่ได้เพิ่มมากขึ้น ส่วนผลประกอบการในปีนี้เชื่อว่าใกล้เคียงกับปีก่อน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจ และข้อจำกัดด้านสินเชื่อโดยเฉพาะสินเชื่อที่อยู่อาศัย
            แอลเอชแบงก์ รุกสินเชื่อเทรดไฟแนนซ์ และสินเชื่อที่อยู่อาศัย ตั้งเป้าสินเชื่อใหม่เพิ่มขึ้นเท่าตัว น.ส.ชมภูนุช ปฐมพร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ หรือ แอลเอชแบงก์ เปิดเผยว่า แผนธุรกิจปี 2563 จะเน้นบริการธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ (เทรดไฟแนนซ์) สินเชื่อที่อยู่อาศัย โดยตั้งเป้าหมายปล่อยสินเชื่อใหม่ 8,000 ล้านบาท ขยายเพิ่มขึ้นเท่าตัวจากปีนี้ นอกจากนี้ยังเน้นบริการบริหารความมั่งคั่ง ผลักดันกองทุนอสังหาริมทรัพย์ และการขายประกันผ่านธนาคาร เพื่อได้ค่าธรรมเนียมเพิ่มรายได้ให้ธนาคาร ทดแทนรายได้ดอกเบี้ยที่ลดลง ขณะที่การปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยในปีนี้คาดว่าจะมีสินเชื่อใหม่ 4,000-5,000 ล้านบาท อยู่ระดับทรงตัวเมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากมีการชำระหนี้คืนจำนวนหนึ่งและสินเชื่อที่อยู่อาศัยชะลอตัวจากมาตรการแอลทีวี โดยมีแผนปรับกลยุทธ์สินเชื่อเน้นมูลค่าหลักประกันที่อยู่อาศัยที่ 5 ล้านบาท จากเดิม 3 ล้านบาท เพราะกลุ่มนี้ยังมีกำลังซื้ออยู่มาก 
            น.ส.ชมภูนุช กล่าวว่า ในปี 2563 การดำเนินธุรกิจมีความยากกว่าในปีนี้ เนื่องจากจะเป็นปีที่บังคับใช้มาตรฐานทางบัญชี ทีเอฟอาร์เอส 9 ทำให้ต้องสำรองหนี้ตามความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งปัจจุบันการสำรองเป็นไปตามเกณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำหนด ในขณะที่หนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้หรือเอ็นพีแอลยังไม่ได้เพิ่มมากขึ้น ส่วนผลประกอบการในปีนี้เชื่อว่าใกล้เคียงกับปีก่อน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจ และข้อจำกัดด้านสินเชื่อโดยเฉพาะสินเชื่อที่อยู่อาศัย
            นอกจากนี้ยังต้องเน้นบริการลูกค้าให้มากขึ้น โดยอยู่ระหว่างทำแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่ออำนวยความสะดวกลูกค้า คาดเปิดบริการกลางปี 2563 และจะปรับเปลี่ยนวิธีบริการของพนักงานสาขา เพื่อให้ลูกค้าเข้ามาใช้บริการแล้วสบายใจ ไม่ต้องโดนพนักงานขายผลิตภัณฑ์ทางการเงิน หรือให้เข้ามานั่งปรึกษาหารือก็ได้เช่นเดียวกัน เพื่อแข่งขันด้านลูกค้ากับธนาคารขนาดใหญ่
 
ข่าวนโยบายการเงิน-การคลัง อื่นๆ