ธปท.ผนึกแบงก์รัฐ เดินหน้าแก้ไขหนี้ ออมสินอัดหมื่นล.
Loading

ธปท.ผนึกแบงก์รัฐ เดินหน้าแก้ไขหนี้ ออมสินอัดหมื่นล.

วันที่ : 4 กุมภาพันธ์ 2563
"ธปท." จับมือ แบงก์รัฐดึงร่วมโครงการคลินิกแก้หนี้ ด้านออมสินเตรียมหมื่นล้านบาท ลุยเปิดรีไฟแนนซ์หนี้บัตรเครดิต ปล่อยกู้ต่อรายไม่เกิน 1 แสนบาท ดอกเบี้ยเหลือ 8.5-10.5% ต่อปี
          "ธปท." จับมือ แบงก์รัฐดึงร่วมโครงการคลินิกแก้หนี้ ด้านออมสินเตรียมหมื่นล้านบาท ลุยเปิดรีไฟแนนซ์หนี้บัตรเครดิต ปล่อยกู้ต่อรายไม่เกิน 1 แสนบาท ดอกเบี้ยเหลือ 8.5-10.5% ต่อปี

          นางธัญญนิตย์ นิยมการ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน 2 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า สถานการณ์หนี้ครัวเรือนของประเทศที่อยู่ในระดับน่ากังวลใจ ทำให้การแก้ปัญหาหนี้สินให้กับประชาชนเป็นหนึ่งในภารกิจสำคัญในปี 2563 เมื่อดูข้อมูลภาระหนี้ต่อเดือนของครัวเรือนไทยพบว่าประมาณ 40% เป็นหนี้ส่วนบุคคลเพื่ออุปโภคบริโภค ที่ระยะเวลาผ่อนสั้นและมีอัตราดอกเบี้ยแพง ซึ่งหนี้บัตรทั้งบัตรเครดิตและบัตรกดเงินสดถือเป็นลูกหนี้ส่วนใหญ่ของหนี้กลุ่มนี้

          ที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2560 สถาบันการเงินสมาชิก  บริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด (SAM) และ ธปท.ได้ร่วมกันขับเคลื่อนการแก้หนี้ครัวเรือนผ่าน "โครงการคลินิกแก้หนี้" ซึ่ง ณ ธ.ค.2562 คลินิกแก้หนี้ สามารถช่วยประชาชนแก้หนี้ บัตรไปแล้ว 3,194 ราย ครอบ คลุมบัตรเครดิตและบัตรกดเงิน สดกว่า 13,000 ใบ มีหนี้บัตร เฉลี่ยรายละ 3 ใบ มูลหนี้เฉลี่ยต่อราย 234,843 บาท ในจำนวนนี้ 72 รายชำระหนี้หมดแล้ว สามารถหลุดจากวงจรหนี้บัตร

          นางธัญญนิตย์กล่าวว่า ธปท.ได้เริ่มโครงการคลินิกแก้ หนี้ระยะที่ 3 โดยได้ขยายขอบ เขตให้สามารถแก้ไขหนี้บัตรที่มีเจ้าหนี้รายเดียว และหนี้บัตรที่อยู่ในกระบวนการของศาล และมีคำพิพากษาแล้ว รวมทั้งปรับปรุงคุณสมบัติผู้เข้าโครงการจากเดิมต้องมีหนี้บัตร ที่เป็นหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ก่อนวันที่ 1 ม.ค.2562 มา เป็นวันที่ 1 ม.ค.2563  สามารถช่วยแก้ปัญหาหนี้บัตรของประชาชนได้ในแทบทุกกลุ่ม

          นายโชคชัย คุณาวัฒน์ รองผู้อำนวยการธนาคารออม สิน กล่าวว่า ออมสินพร้อมให้ความช่วยเหลือลูกหนี้บัตรเครดิตในโครงการคลินิกแก้หนี้ระยะที่ 3 ในส่วนที่เป็นลูกหนี้ที่เป็นหนี้เสีย พร้อมกันนี้ในส่วนลูกหนี้ปกติที่เริ่มมีปัญหาการผ่อนชำระ  ธนาคารได้เตรียมวงเงิน 10,000 ล้านบาท ใช้ในโครงการปรับโครงสร้างหนี้บัตรดีเพื่อลดภาระดอกเบี้ยให้แก่ประชาชน จากปัจจุบันที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยสูง 18-28% ต่อปี ลดเหลือ 8.50-10.50% ต่อปี ตามความเสี่ยง วงเงินต่อรายไม่เกิน 1 แสนบาท โดยธนาคารไม่ได้กำหนดเงื่อนไขให้ลูกหนี้ ห้ามก่อหนี้เพิ่มในช่วง 5 ปี เหมือนคลินิกแก้หนี้ตามปกติด้วย