เร่งปรับแผนลงทุน EEC หลังวิกฤตโควิด-19 เน้นพัฒนาอุปกรณ์ทดสอบเชื้อ -วัคซีนต้านไวรัส
Loading

เร่งปรับแผนลงทุน EEC หลังวิกฤตโควิด-19 เน้นพัฒนาอุปกรณ์ทดสอบเชื้อ-วัคซีนต้านไวรัส

วันที่ : 17 เมษายน 2563
ปรับเเผนการลงทุน EEC หลังวิกฤตโควิด-19
           ดร.คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เปิดเผยว่าอีอีซีได้ให้ความสำคัญต่ออุตสาหกรรมการแพทย์ ซึ่งเชื่อว่าการที่อุตสาหกรรมการแพทย์แป็นหนึ่งใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ (New S-curve) ของภาครัฐที่มีแผนสนับสนุนการลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และการตั้งเป้าให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และการส่งออก (Medical Hub) ในภูมิภาคอาเซียน จะส่งผลให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ และส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มขึ้น

          ทั้งนี้ ECC มุ่งสร้างอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร ซึ่งเป็นการสร้างอุตสาหกรรมใหม่ ต่อยอดจากธุรกิจการรักษาพยาบาล และการท่องเที่ยว เชิงสุขภาพที่ประเทศไทยมีฐานเดิมที่แข็งแรง โดย เพิ่มธุรกิจด้านอุปกรณ์ทางการแพทย์จากพื้นฐานด้าน อิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม และอุตสาหกรรม เวชภัณฑ์จากพื้นฐานด้านการเกษตรและเคมีชีวภาพ

          โดยการแพทย์ครบวงจรของไทยประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ 1) การให้บริการสมัยใหม่ คือ การให้ บริการด้านการแพทย์ผ่านอินเทอร์เน็ตและสมาร์ทโฟน (eHealth and mHealth) โดยให้คำปรึกษาทางการ แพทย์และให้บริการรักษาทางไกลกับผู้ป่วยทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้บริการแก่ผู้ป่วยในพื้นที่ห่างไกล   2) การวิจัยและผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อการวินิจฉัยและติดตามผลระยะไกล (Remote Health Monitoring Devices) โดยอุปกรณ์วินิจฉัยและติดตามผลระยะไกลสามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคที่ต้องการวินิจฉัยโรคด้วยตนเอง เช่น วัดความดันโลหิต วัดอัตราการเต้นของหัวใจ เป็นต้น  3) การวิจัยยาและผลิตเวชภัณฑ์ โดยจะมุ่งเน้นที่การผลิตยาชีววัตถุคล้ายคลึง (Biosimilar) ซึ่งคือยาสามัญของยาชีววัตถุต้นแบบ (Biologic) ที่มีการวิจัยและจดสิทธิบัตรแต่สิทธิบัตร หมดอายุลงแล้ว ซึ่งปัจจุบันยาชีววัตถุมีการเติบโตอย่างรวดเร็วจนมีขนาดใหญ่กว่ายาสามัญทั่วไป

          เลขาธิการอีอีซี กล่าวต่อไปว่าหลังจากวิกฤตโควิด-19 ทำให้อีอีซีต้องพิจารณาการให้ น้ำหนักในอุตสาหกรรมการแพทย์ใหม่ เนื่องจากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีการแพร่ระบาด ของไวรัสต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ทั้งโรคซาร์ เมอร์ส อีโบลา จนถึงโควิด-19 ซึ่งเป็นไวรัส โคโรนาสายพันธุ์ใหม่ โดยจะให้ความสำคัญต่อการพัฒนาอุปกรณ์ทดสอบการติดเชื้อ วัคซีนป้องกันไวรัส และเพิ่มอุปกรณ์การแพทย์-ห้องฉุกเฉินรองรับสถานการณ์โรคระบาดมากขึ้น

          "จะเห็นว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้สร้าง ความสูญเสียทั้งต่อชีวิตและระบบเศรษฐกิจของประเทศ เราจึงต้องให้ความสำคัญต่อการพัฒนาอุตสาห กรรมการแพทย์ที่จะจัดการกับเชื้อไวรัส โดยเราอาจจะประสานความร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว เวียดนาม กัมพูชา พม่า มาเลเซีย เพื่อให้อุตสาหกรรมนี้ พัฒนาไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว" ดร.คณิศ กล่าว
ข่าวเขตเศรษฐกิจพิเศษ อื่นๆ