ธนารักษ์ ลุยจัดระเบียบเช่าที่ราชพัสดุ
วันที่ : 18 ตุลาคม 2564
นโยบายสำคัญที่จะต้องผลักดันก็คือ เขตเศรษฐกิจพิเศษต่าง ๆ ขณะที่การ นำส่งรายได้ปีงบประมาณ 2565 มั่นใจว่าเป็นไปตามเป้าหมายแน่นอน
อธิบดีธนารักษ์คนใหม่เดินหน้าบริหาร ที่ราชพัสดุสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เร่งจัดระเบียบผู้บุกรุกเปลี่ยนเป็น ผู้เช่า เก็บตกอีก 5 หมื่นราย พร้อมเร่งรวบรวมข้อมูลเตรียมนำที่ดิน-อาคารจัดหาประโยชน์เชิงพาณิชย์สร้าง รายได้เข้ารัฐมากขึ้น
นายประภาศ คงเอียด อธิบดีกรมธนารักษ์คนใหม่ เปิดเผยว่า ตนมีนโยบาย จะเร่งผลักดันงานสำคัญของกรมธนารักษ์ เรื่องแรก ได้แก่ การบริหารที่ราชพัสดุ ทั้งที่ประชาชนบุกรุกเข้าไปใช้พื้นที่ แบบไม่ถูกต้อง ซึ่งจะต้องเข้าไปบริหารจัดการให้เข้ามาสู่ระบบ เปลี่ยนจากการบุกรุก เป็นการจัดให้เช่า ขณะเดียวกัน ก็ต้องมีการพิจารณานำที่ดิน และอาคารราชพัสดุ มาจัดหาประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ตลอดจนการเรียกคืนที่ ราชพัสดุจากส่วนราชการ หรือหน่วยงาน ของรัฐ ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์
โดยการบริหารจัดการที่ราชพัสดุเพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์นั้น หากเป็นโครงการที่มีการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน หรือสาธารณูปโภค จะต้องพิจารณาว่า กรมธนารักษ์จะดำเนินการเอง หรือ จะให้เอกชนเข้ามาร่วม ซึ่งตาม กฎหมาย หากมูลค่าโครงการไม่เกิน 5,000 ล้านบาท จะได้รับการยกเว้น กฎหมายร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐกับเอกชน (PPP) จะทำให้ขั้นตอนการทำงานสะดวกมากขึ้น
"ที่ดินและอาคาร ถ้าไม่ได้ใช้ประโยชน์ก็จะเกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจ ซึ่งการที่จะนำที่ดินมาใช้ประโยชน์โดยกรมทำเอง ไม่ได้มาร่วมกับเอกชน เรามีเครื่องมือ คือ บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ (ธพส.) ที่เป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงการคลัง และอีกส่วนหนึ่ง หากเป็นเรื่องที่มีความซับซ้อน ใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ซับซ้อน ก็เป็นการร่วมกับเอกชนในการเข้าไปก่อสร้างพัฒนาอาคารเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป ซึ่งก็จะดูความเหมาะสม ของแต่ละพื้นที่ มีการทำการศึกษา วิเคราะห์ รวมถึงประโยชน์ที่รัฐจะได้รับด้วย ซึ่งตอนนี้กำลังรวบรวมข้อมูลเหล่านี้อยู่" นายประภาศกล่าว
ยังมีงานประเมินราคาทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ ที่เป็นอีกเรื่องที่สำคัญ เนื่องจากราคาประเมินทั้งอาคาร คอนโดมิเนียม ที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างทั้งหมด จะใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) รวมทั้งการใช้เป็นราคาในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามกฎหมายที่ดิน ซึ่งการบังคับใช้จะต้องปรับให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริง
อธิบดีกรมธนารักษ์กล่าวด้วยว่า อีกนโยบายสำคัญที่จะต้องผลักดันก็คือ เขตเศรษฐกิจพิเศษต่าง ๆ ขณะที่การ นำส่งรายได้ปีงบประมาณ 2565 มั่นใจว่าเป็นไปตามเป้าหมายแน่นอน
"ค่าเช่าที่ราชพัสดุที่ได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่ในเบื้องต้น การจัดเก็บรายได้คงจะไม่มีประเด็นปัญหา เนื่องจากการเข้าไปดูแลประชาชนที่อยู่นอกระบบ ให้จัดเข้ามาสู่ระบบเช่าอย่างถูกกฎหมาย แม้จะเป็นการเก็บค่าเช่าอัตราเล็กน้อย แต่วอลุ่มใหญ่ ก็ส่งผลต่อการจัดเก็บรายได้ของกรม และยังมีการเช่าเชิงพาณิชย์ ก็จะมีรายได้จากส่วนนี้ด้วย" อธิบดีกรมธนารักษ์กล่าว
แหล่งข่าวจากกรมธนารักษ์กล่าวว่า ที่ผ่านมากรมได้ดำเนินการเปลี่ยนจากการบุกรุกเป็นจัดให้เช่าไปได้กว่า 1 แสนรายแล้ว เฉลี่ยปีละ 3.5 หมื่นราย โดยขณะนี้ยังเหลือปัญหาประชาชนบุกรุกที่ราชพัสดุอีกประมาณ 4-5 หมื่นราย ซึ่งมีแผนจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2565-2566
ส่วนเป้าหมายการนำส่งรายได้เข้าแผ่นดินปีงบประมาณ 2565 นี้ ยังรอ นโยบายกระทรวงการคลัง เนื่องจากช่วงที่ผ่านมา ผู้เช่าที่ราชพัสดุรายใหญ่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จึงขอลดค่าเช่ากันหลายราย อาทิ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) เป็นต้น ซึ่งอาจจะมีผลต่อการจัดเก็บรายได้ในปีงบประมาณนี้ด้วย โดยเริ่มเห็น ผลกระทบตั้งแต่ปีงบประมาณที่ผ่านมา (ปี 2564) จากที่ตั้งเป้าหมายนำส่งรายได้ไว้ 7,400 ล้านบาท แต่นำส่งได้ 7,200 ล้านบาท
"ตอนนี้กระทรวงการคลังยังไม่ได้ให้เป้าหมายจัดเก็บรายได้ปีงบประมาณ 2565 ซึ่งปีที่ผ่านมา บมจ.ท่าอากาศยานไทยได้ขอลดค่าเช่า และคาดว่าปีนี้ก็จะขอลดอีก เพราะการเดินทางยังไม่สามารถทำได้เต็มที่" แหล่งข่าวกล่าว
รายงานจากกรมธนารักษ์แจ้งว่า เมื่อวันที่ 15 ต.ค.ที่ผ่านมา อธิบดีกรมธนารักษ์คนใหม่ได้มีการประชุมมอบนโยบายการทำงานแก่ผู้บริหารกรมธนารักษ์ หลังจากเข้ามารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 ต.ค.ที่ผ่านมา
นายประภาศ คงเอียด อธิบดีกรมธนารักษ์คนใหม่ เปิดเผยว่า ตนมีนโยบาย จะเร่งผลักดันงานสำคัญของกรมธนารักษ์ เรื่องแรก ได้แก่ การบริหารที่ราชพัสดุ ทั้งที่ประชาชนบุกรุกเข้าไปใช้พื้นที่ แบบไม่ถูกต้อง ซึ่งจะต้องเข้าไปบริหารจัดการให้เข้ามาสู่ระบบ เปลี่ยนจากการบุกรุก เป็นการจัดให้เช่า ขณะเดียวกัน ก็ต้องมีการพิจารณานำที่ดิน และอาคารราชพัสดุ มาจัดหาประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ตลอดจนการเรียกคืนที่ ราชพัสดุจากส่วนราชการ หรือหน่วยงาน ของรัฐ ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์
โดยการบริหารจัดการที่ราชพัสดุเพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์นั้น หากเป็นโครงการที่มีการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน หรือสาธารณูปโภค จะต้องพิจารณาว่า กรมธนารักษ์จะดำเนินการเอง หรือ จะให้เอกชนเข้ามาร่วม ซึ่งตาม กฎหมาย หากมูลค่าโครงการไม่เกิน 5,000 ล้านบาท จะได้รับการยกเว้น กฎหมายร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐกับเอกชน (PPP) จะทำให้ขั้นตอนการทำงานสะดวกมากขึ้น
"ที่ดินและอาคาร ถ้าไม่ได้ใช้ประโยชน์ก็จะเกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจ ซึ่งการที่จะนำที่ดินมาใช้ประโยชน์โดยกรมทำเอง ไม่ได้มาร่วมกับเอกชน เรามีเครื่องมือ คือ บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ (ธพส.) ที่เป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงการคลัง และอีกส่วนหนึ่ง หากเป็นเรื่องที่มีความซับซ้อน ใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ซับซ้อน ก็เป็นการร่วมกับเอกชนในการเข้าไปก่อสร้างพัฒนาอาคารเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป ซึ่งก็จะดูความเหมาะสม ของแต่ละพื้นที่ มีการทำการศึกษา วิเคราะห์ รวมถึงประโยชน์ที่รัฐจะได้รับด้วย ซึ่งตอนนี้กำลังรวบรวมข้อมูลเหล่านี้อยู่" นายประภาศกล่าว
ยังมีงานประเมินราคาทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ ที่เป็นอีกเรื่องที่สำคัญ เนื่องจากราคาประเมินทั้งอาคาร คอนโดมิเนียม ที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างทั้งหมด จะใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) รวมทั้งการใช้เป็นราคาในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามกฎหมายที่ดิน ซึ่งการบังคับใช้จะต้องปรับให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริง
อธิบดีกรมธนารักษ์กล่าวด้วยว่า อีกนโยบายสำคัญที่จะต้องผลักดันก็คือ เขตเศรษฐกิจพิเศษต่าง ๆ ขณะที่การ นำส่งรายได้ปีงบประมาณ 2565 มั่นใจว่าเป็นไปตามเป้าหมายแน่นอน
"ค่าเช่าที่ราชพัสดุที่ได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่ในเบื้องต้น การจัดเก็บรายได้คงจะไม่มีประเด็นปัญหา เนื่องจากการเข้าไปดูแลประชาชนที่อยู่นอกระบบ ให้จัดเข้ามาสู่ระบบเช่าอย่างถูกกฎหมาย แม้จะเป็นการเก็บค่าเช่าอัตราเล็กน้อย แต่วอลุ่มใหญ่ ก็ส่งผลต่อการจัดเก็บรายได้ของกรม และยังมีการเช่าเชิงพาณิชย์ ก็จะมีรายได้จากส่วนนี้ด้วย" อธิบดีกรมธนารักษ์กล่าว
แหล่งข่าวจากกรมธนารักษ์กล่าวว่า ที่ผ่านมากรมได้ดำเนินการเปลี่ยนจากการบุกรุกเป็นจัดให้เช่าไปได้กว่า 1 แสนรายแล้ว เฉลี่ยปีละ 3.5 หมื่นราย โดยขณะนี้ยังเหลือปัญหาประชาชนบุกรุกที่ราชพัสดุอีกประมาณ 4-5 หมื่นราย ซึ่งมีแผนจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2565-2566
ส่วนเป้าหมายการนำส่งรายได้เข้าแผ่นดินปีงบประมาณ 2565 นี้ ยังรอ นโยบายกระทรวงการคลัง เนื่องจากช่วงที่ผ่านมา ผู้เช่าที่ราชพัสดุรายใหญ่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จึงขอลดค่าเช่ากันหลายราย อาทิ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) เป็นต้น ซึ่งอาจจะมีผลต่อการจัดเก็บรายได้ในปีงบประมาณนี้ด้วย โดยเริ่มเห็น ผลกระทบตั้งแต่ปีงบประมาณที่ผ่านมา (ปี 2564) จากที่ตั้งเป้าหมายนำส่งรายได้ไว้ 7,400 ล้านบาท แต่นำส่งได้ 7,200 ล้านบาท
"ตอนนี้กระทรวงการคลังยังไม่ได้ให้เป้าหมายจัดเก็บรายได้ปีงบประมาณ 2565 ซึ่งปีที่ผ่านมา บมจ.ท่าอากาศยานไทยได้ขอลดค่าเช่า และคาดว่าปีนี้ก็จะขอลดอีก เพราะการเดินทางยังไม่สามารถทำได้เต็มที่" แหล่งข่าวกล่าว
รายงานจากกรมธนารักษ์แจ้งว่า เมื่อวันที่ 15 ต.ค.ที่ผ่านมา อธิบดีกรมธนารักษ์คนใหม่ได้มีการประชุมมอบนโยบายการทำงานแก่ผู้บริหารกรมธนารักษ์ หลังจากเข้ามารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 ต.ค.ที่ผ่านมา
ข่าวกฎหมายอสังหาฯ อื่นๆ