อสังหาฯ ชงรัฐบาลใหม่แก้แรงงานขาด ปลดล็อกก.ม.ต่างด้าว ต่ออายุ-รับจ้างเหมา
วันที่ : 2 พฤษภาคม 2566
มีศักดิ์ ระบุว่า ปัจจุบันแรงงานที่ขาดแคลนคือแรงงานมีฝีมือ เช่น ช่างปูกระเบื้อง ช่างเก็บงานปูน และปัญหาการโยกย้ายนายจ้างเป็นเรื่องที่ผิดกฏหมายอยู่ ดังนั้นภาครัฐควรเปิดพิจารณาเรื่องเหล่านี้
บุษกร ภู่แส
กรุงเทพธุรกิจ
"แรงงานที่ขาดแคลน คือ แรงงานมีฝีมือ เช่น ช่างปูกระเบื้อง ช่างเก็บงานปูน และปัญหาการโยกย้ายนายจ้างเป็นเรื่องที่ผิดกฏหมายอยู่ ภาครัฐควรเปิดพิจารณาเรื่องเหล่านี้"
สถานการณ์เศรษฐกิจเริ่มกลับเข้าสู่สภาวะปกติทำให้ความต้องการแรงงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หนึ่งในนั้นคือ "แรงงานก่อสร้าง" ซึ่งบรรดาดีเวลลอปเปอร์เดินหน้าขยายโครงการอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ส่งผลให้เกิดปัญหาขาดแคลนแรงงานรุนแรง! จากแรงงานที่มีอยู่ก่อนหน้านี้ส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ 90% และส่วนหนึ่งทยอยกลับประเทศ
มีศักดิ์ ชุนหรักษ์โชติ อดีตนายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย กล่าวว่า แม้สภาพเศรษฐกิจจะเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติแต่ยังคงมีปัจจัยลบที่ท้าทายรอบด้านทั้งความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ ภาวะดอกเบี้ย ต้นทุนเพิ่มขึ้น รวมถึง ปัญหาขาดแคลนแรงงานภาคก่อสร้าง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญในการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยในปัจจุบันและอนาคต เนื่องจากแรงงานที่มีอยู่ก่อนหน้านี้บางส่วนเปลี่ยนอาชีพ บางส่วนเข้าไปสู่ภาคอุตสาหกรรมอื่น โดยเฉพาะแรงงานต่างชาติที่มีสัดส่วนถึง 90% ส่วนหนึ่งกลับประเทศทำให้ปัจจุบันธุรกิจรับสร้างบ้านขาดแคลนแรงงานค่อนข้างรุนแรง
"ที่ผ่านมารัฐบาลกำหนดให้ใบอนุญาตต่ออายุคนทำงานต่างด้าวเข้ามาทำงาน โดยไม่ได้ลงทะเบียน ภาครัฐเปิดโอกาสให้ลงทะเบียนให้ถูกต้องนั้นได้สิ้นสุดไปแล้วเมื่อ วันที่ 13 ก.พ.ที่ผ่านมา หลังจากนั้นยังมีคน บางกลุ่มที่ไม่ได้ไปขอต่ออายุกลายเป็นแรงงานที่ผิดกฏหมายอยู่ ต้องหลบๆ ซ่อนๆ รวมทั้งยังมีกลุ่มแรงงานที่เข้ามาในประเทศไทยเข้ามาตลอด โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับภัยสงครามในเมียนมา ทั้งยังต้องเสียเงินรายทางกว่าจะผ่านด่านเข้ามาทำงาน ส่วนของแรงงานที่เข้ามาถูกต้องนายจ้างต้องเข้าไปช่วยจ่าย ล่วงหน้า"
ปัจจุบันแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงาน รัฐบาลเปิดโอกาสให้เข้ามาได้ทางเดียวจากการประสานงานผ่าน MOU ระหว่างรัฐไทยกับรัฐที่ส่งแรงงานเข้ามา เช่น กัมพูชา เมียนมา ลาว จากก่อนหน้านั้นจะได้แรงงานจากกัมพูชาจำนวนมากแต่ช่วงหลังกัมพูชาเพิ่มค่าใช้จ่ายในการนำเข้าผ่านทาง MOU สูงถึง 20,000 บาทต่อคน ขณะที่ทางเมียนมา และลาวมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 5,000 บาท
"แรงงานเมียนมาที่เข้ามาส่วนใหญ่เป็นแรงงานไร้ฝีมือ ขณะที่การสร้างบ้านใช้ระบบพรีคาสท์ ซึ่งเป็นแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปที่มีการขึ้นรูปมาจากโรงงาน จึงต้องการแรงงานที่มีฝีมือมากขึ้น ทำให้แรงงานที่เข้ามามีคุณสมบัติไม่ตรงกับความต้องการของตลาดแต่ยังต้องจ่ายค่าจ้างในราคาแรงงานขั้นต่ำ หากมีการเพิ่มค่าแรงขั้นนต่ำแรงงาน ต่างชาติกลุ่มนี้จะได้ไปด้วย"
มีศักดิ์ ระบุว่า ปัจจุบันแรงงานที่ขาดแคลนคือแรงงานมีฝีมือ เช่น ช่างปูกระเบื้อง ช่างเก็บงานปูน และปัญหาการโยกย้ายนายจ้างเป็นเรื่องที่ผิดกฏหมายอยู่ ดังนั้นภาครัฐควรเปิดพิจารณาเรื่องเหล่านี้ เพราะการเคลื่อนย้ายแรงงานเป็นเรื่องไดนามิกส์ที่เกิดขึ้นทั้งปี แต่ภาครัฐกำหนดไว้ว่าให้มีการสิ้นสุดเป็นช่วงๆ ไม่ตอบโจทย์สถานการณ์ความเป็นจริงในตลาด
นอกจากนี้ ยังเป็นการเปิดช่องให้ผู้ที่ถือกฏหมายบางคนหาโอกาสไปจับกุม ทำให้แรงงานเผชิญปัญหาถือเป็นอุปสรรคสำคัญในภาคก่อสร้างทำให้เกิดการขาดแคลนแรงงานส่งผลต่อกระบวนการก่อสร้าง ซึ่งเป็น ปัญหาที่แก้ไขยาก เพราะเกี่ยวเรื่องกฏหมาย หลักการปฏิบัติจากหน่วยงานภาครัฐ
อีกประเด็นที่สำคัญ คือ แรงงานในระบบส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างด้าว แรงงานกลุ่มนี้ได้รายได้ไม่ได้เป็นการจัดจ้าง รายวันเป็นการจัดจ้างเหมางาน ซึ่งในระเบียบของกระทรวงแรงงานไม่อนุญาตให้ต่างด้าวรับทำงานเป็นช่างเหมา เป็นรายได้แบบเหมา ซึ่งปัจจุบันไม่ใช่ก่อสร้างอย่างเดียวแม้กระทั่งการตัดอ้อย เกี่ยวข้าว หรือแรงงานประมง หรือแรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ เชือดไก่ ทำปลา เปลี่ยนเป็นรับเหมาหมดไม่รับเงินรายวัน
"ตรงนี้เป็นประเด็นใหญ่ เพราะเขาทำเหมารายได้ดีและทำงานได้อย่างมีคุณภาพทำให้มีระบบการพัฒนาฝีมือ แต่กฏหมายยังบังคับให้จ้างเป็นรายวัน หากทำแบบนั้นก็ทำงานแบบเช้าชามเย็นชาม ไม่สามารถควบคุมต้นทุนได้ ซึ่งปัจจุบันแรงงานก่อสร้างไม่มีใครจ้างเหมาเป็นรายวันแล้วแม้แต่คนทำความสะอาดยังทำเหมาทำความสะอาด แต่กฏหมายยังไม่ปรับ ให้สอดคล้องกับความเป็นจริงในตลาดโลก จึงอยากให้รัฐฟังเอกชนมากขึ้น เพราะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ"
ในส่วนของค่าจ้างขั้นต่ำของภาคก่อสร้างไม่มีปัญหา เพราะปัจจุบันใช้แรงงานที่มีฝีมือ ซึ่งค่าจ้างสูงกว่าค่าแรงงานขึ้นต่ำ เพื่อให้ได้เทคนิควิธีการก่อสร้างดีขึ้น จึงเน้นแรงงานที่มีฝีมือ ตั้งแต่ 500 และ 700 ไปจนถึง 1,000 บาทต่อวัน
กรุงเทพธุรกิจ
"แรงงานที่ขาดแคลน คือ แรงงานมีฝีมือ เช่น ช่างปูกระเบื้อง ช่างเก็บงานปูน และปัญหาการโยกย้ายนายจ้างเป็นเรื่องที่ผิดกฏหมายอยู่ ภาครัฐควรเปิดพิจารณาเรื่องเหล่านี้"
สถานการณ์เศรษฐกิจเริ่มกลับเข้าสู่สภาวะปกติทำให้ความต้องการแรงงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หนึ่งในนั้นคือ "แรงงานก่อสร้าง" ซึ่งบรรดาดีเวลลอปเปอร์เดินหน้าขยายโครงการอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ส่งผลให้เกิดปัญหาขาดแคลนแรงงานรุนแรง! จากแรงงานที่มีอยู่ก่อนหน้านี้ส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ 90% และส่วนหนึ่งทยอยกลับประเทศ
มีศักดิ์ ชุนหรักษ์โชติ อดีตนายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย กล่าวว่า แม้สภาพเศรษฐกิจจะเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติแต่ยังคงมีปัจจัยลบที่ท้าทายรอบด้านทั้งความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ ภาวะดอกเบี้ย ต้นทุนเพิ่มขึ้น รวมถึง ปัญหาขาดแคลนแรงงานภาคก่อสร้าง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญในการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยในปัจจุบันและอนาคต เนื่องจากแรงงานที่มีอยู่ก่อนหน้านี้บางส่วนเปลี่ยนอาชีพ บางส่วนเข้าไปสู่ภาคอุตสาหกรรมอื่น โดยเฉพาะแรงงานต่างชาติที่มีสัดส่วนถึง 90% ส่วนหนึ่งกลับประเทศทำให้ปัจจุบันธุรกิจรับสร้างบ้านขาดแคลนแรงงานค่อนข้างรุนแรง
"ที่ผ่านมารัฐบาลกำหนดให้ใบอนุญาตต่ออายุคนทำงานต่างด้าวเข้ามาทำงาน โดยไม่ได้ลงทะเบียน ภาครัฐเปิดโอกาสให้ลงทะเบียนให้ถูกต้องนั้นได้สิ้นสุดไปแล้วเมื่อ วันที่ 13 ก.พ.ที่ผ่านมา หลังจากนั้นยังมีคน บางกลุ่มที่ไม่ได้ไปขอต่ออายุกลายเป็นแรงงานที่ผิดกฏหมายอยู่ ต้องหลบๆ ซ่อนๆ รวมทั้งยังมีกลุ่มแรงงานที่เข้ามาในประเทศไทยเข้ามาตลอด โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับภัยสงครามในเมียนมา ทั้งยังต้องเสียเงินรายทางกว่าจะผ่านด่านเข้ามาทำงาน ส่วนของแรงงานที่เข้ามาถูกต้องนายจ้างต้องเข้าไปช่วยจ่าย ล่วงหน้า"
ปัจจุบันแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงาน รัฐบาลเปิดโอกาสให้เข้ามาได้ทางเดียวจากการประสานงานผ่าน MOU ระหว่างรัฐไทยกับรัฐที่ส่งแรงงานเข้ามา เช่น กัมพูชา เมียนมา ลาว จากก่อนหน้านั้นจะได้แรงงานจากกัมพูชาจำนวนมากแต่ช่วงหลังกัมพูชาเพิ่มค่าใช้จ่ายในการนำเข้าผ่านทาง MOU สูงถึง 20,000 บาทต่อคน ขณะที่ทางเมียนมา และลาวมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 5,000 บาท
"แรงงานเมียนมาที่เข้ามาส่วนใหญ่เป็นแรงงานไร้ฝีมือ ขณะที่การสร้างบ้านใช้ระบบพรีคาสท์ ซึ่งเป็นแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปที่มีการขึ้นรูปมาจากโรงงาน จึงต้องการแรงงานที่มีฝีมือมากขึ้น ทำให้แรงงานที่เข้ามามีคุณสมบัติไม่ตรงกับความต้องการของตลาดแต่ยังต้องจ่ายค่าจ้างในราคาแรงงานขั้นต่ำ หากมีการเพิ่มค่าแรงขั้นนต่ำแรงงาน ต่างชาติกลุ่มนี้จะได้ไปด้วย"
มีศักดิ์ ระบุว่า ปัจจุบันแรงงานที่ขาดแคลนคือแรงงานมีฝีมือ เช่น ช่างปูกระเบื้อง ช่างเก็บงานปูน และปัญหาการโยกย้ายนายจ้างเป็นเรื่องที่ผิดกฏหมายอยู่ ดังนั้นภาครัฐควรเปิดพิจารณาเรื่องเหล่านี้ เพราะการเคลื่อนย้ายแรงงานเป็นเรื่องไดนามิกส์ที่เกิดขึ้นทั้งปี แต่ภาครัฐกำหนดไว้ว่าให้มีการสิ้นสุดเป็นช่วงๆ ไม่ตอบโจทย์สถานการณ์ความเป็นจริงในตลาด
นอกจากนี้ ยังเป็นการเปิดช่องให้ผู้ที่ถือกฏหมายบางคนหาโอกาสไปจับกุม ทำให้แรงงานเผชิญปัญหาถือเป็นอุปสรรคสำคัญในภาคก่อสร้างทำให้เกิดการขาดแคลนแรงงานส่งผลต่อกระบวนการก่อสร้าง ซึ่งเป็น ปัญหาที่แก้ไขยาก เพราะเกี่ยวเรื่องกฏหมาย หลักการปฏิบัติจากหน่วยงานภาครัฐ
อีกประเด็นที่สำคัญ คือ แรงงานในระบบส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างด้าว แรงงานกลุ่มนี้ได้รายได้ไม่ได้เป็นการจัดจ้าง รายวันเป็นการจัดจ้างเหมางาน ซึ่งในระเบียบของกระทรวงแรงงานไม่อนุญาตให้ต่างด้าวรับทำงานเป็นช่างเหมา เป็นรายได้แบบเหมา ซึ่งปัจจุบันไม่ใช่ก่อสร้างอย่างเดียวแม้กระทั่งการตัดอ้อย เกี่ยวข้าว หรือแรงงานประมง หรือแรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ เชือดไก่ ทำปลา เปลี่ยนเป็นรับเหมาหมดไม่รับเงินรายวัน
"ตรงนี้เป็นประเด็นใหญ่ เพราะเขาทำเหมารายได้ดีและทำงานได้อย่างมีคุณภาพทำให้มีระบบการพัฒนาฝีมือ แต่กฏหมายยังบังคับให้จ้างเป็นรายวัน หากทำแบบนั้นก็ทำงานแบบเช้าชามเย็นชาม ไม่สามารถควบคุมต้นทุนได้ ซึ่งปัจจุบันแรงงานก่อสร้างไม่มีใครจ้างเหมาเป็นรายวันแล้วแม้แต่คนทำความสะอาดยังทำเหมาทำความสะอาด แต่กฏหมายยังไม่ปรับ ให้สอดคล้องกับความเป็นจริงในตลาดโลก จึงอยากให้รัฐฟังเอกชนมากขึ้น เพราะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ"
ในส่วนของค่าจ้างขั้นต่ำของภาคก่อสร้างไม่มีปัญหา เพราะปัจจุบันใช้แรงงานที่มีฝีมือ ซึ่งค่าจ้างสูงกว่าค่าแรงงานขึ้นต่ำ เพื่อให้ได้เทคนิควิธีการก่อสร้างดีขึ้น จึงเน้นแรงงานที่มีฝีมือ ตั้งแต่ 500 และ 700 ไปจนถึง 1,000 บาทต่อวัน
ข่าวโครงการอสังหาฯ ภาคเอกชน อื่นๆ