คลังตื๊อแบงก์ชาติลดดอก ต่ออายุมาตรการ LTV กระตุ้นภาคอสังหาฯ
วันที่ : 12 กุมภาพันธ์ 2567
รมช.คลัง วอนแบงก์ชาติลดดอกเบี้ยนโยบาย และต่ออายุมาตรการ LTV เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการที่คลังจะกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ สำหรับบ้านผู้มีรายได้น้อย ราคาไม่เกิน 1.5 ล้านบาทต่อหลังเร็ว ๆ นี้
นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ขณะนี้เศรษฐกิจชะลอตัวลง ซ่วงที่ผ่านมา กระทรวงการคลังได้ออกมาตรการการคลังช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ทั้งการจัดทำงบประมาณแบบขาดดุลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ นโยบายด้านภาษีและการลดหย่อนและส่งเสริมการลงทุนผ่าน BOI และสนับสนุนภาคการท่องเที่ยว รวมทั้งการแก้หนี้ครัวเรือน หนี้นอกระบบ โดยภาคอสังหาริมทรัพย์ได้ออกมาตรการการโอนและจดจำนองไปแล้ว
อย่างไรก็ตาม ได้มอบหมายให้ปลัดกระทรวงการคลังและสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ดูว่าเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจใดที่เดือดร้อนเป็นพิเศษให้รีบช่วยเหลือดำเนินการ ซึ่งกระทรวงการคลังเตรียมออกมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์สำหรับที่อยู่อาศัยราคาไม่เกิน 1.5 ล้านบาท โดยจะนำเข้าหารือในรายละเอียดกับ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและ รมว.คลังก่อน ซึ่งมองว่าหากธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงจะช่วยกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์รายย่อยได้ดีขึ้น รวมถึงมาตรการเกณฑ์กำกับดูแลสินเชื่อที่อยู่อาศัย (Loan to Value : LTV)
"เครื่องชี้ทางเศรษฐกิจกำลังดูว่าอะไรต้องรีบช่วยก่อน ตอนนี้มองว่าต้องกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์รายย่อย จะช่วยให้เกิดการจ้างงานในภาคการก่อสร้าง และหนุนให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยในราคาที่จับต้องได้ ก็วอนว่าแบงก์ชาติจะเข้าใจ ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง และขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต่ออายุมาตรการ LTV ต่อไป"
นอกจากนี้ ในเรื่องประมาณการตัวเลขจีดีพีปี 2566 ที่ ธปท.ยังไม่ประกาศ เชื่อว่ารอตัวเลขของสภาพัฒน์นั้น คาดการณ์ว่าตัวเลขของทั้ง 3 หน่วยงาน ประกอบด้วย กระทรวงการคลัง สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) และ ธปท.จะใกล้เคียงกัน
ส่วนเรื่องงบประมาณปี 2567 ที่เกิดความล่าช้า ทางกรมบัญชีกลางได้แก้ไขให้ทุกส่วนราชการดำเนินการจัดเตรียม TOR และดำเนินการตามขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างไปจนถึงขั้นตอนรอการประมูล หากกฎหมายผ่านสภาในวาระที่ 2 และ 3 จึงจะสามารถดำเนินการประมูลได้
โดยในวันนี้ (9 ก.พ. 2567) กรมบัญชีกลางจะมีการจัดประชุมคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุภาครัฐ เพื่อพิจารณาเรื่องที่ผู้รับจ้างหรือเอกชนที่ได้ยื่นข้อเสนอกับหน่วยงานรัฐ ดำเนินการอุทธรณ์ในปีงบประมาณเก่าที่ค้างให้เร่งดำเนินการสะสางให้จบโดยเร็ว พบว่าขณะนี้มีอยู่ประมาณ 100 รายการ
อย่างไรก็ตาม ได้มอบหมายให้ปลัดกระทรวงการคลังและสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ดูว่าเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจใดที่เดือดร้อนเป็นพิเศษให้รีบช่วยเหลือดำเนินการ ซึ่งกระทรวงการคลังเตรียมออกมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์สำหรับที่อยู่อาศัยราคาไม่เกิน 1.5 ล้านบาท โดยจะนำเข้าหารือในรายละเอียดกับ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและ รมว.คลังก่อน ซึ่งมองว่าหากธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงจะช่วยกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์รายย่อยได้ดีขึ้น รวมถึงมาตรการเกณฑ์กำกับดูแลสินเชื่อที่อยู่อาศัย (Loan to Value : LTV)
"เครื่องชี้ทางเศรษฐกิจกำลังดูว่าอะไรต้องรีบช่วยก่อน ตอนนี้มองว่าต้องกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์รายย่อย จะช่วยให้เกิดการจ้างงานในภาคการก่อสร้าง และหนุนให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยในราคาที่จับต้องได้ ก็วอนว่าแบงก์ชาติจะเข้าใจ ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง และขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต่ออายุมาตรการ LTV ต่อไป"
นอกจากนี้ ในเรื่องประมาณการตัวเลขจีดีพีปี 2566 ที่ ธปท.ยังไม่ประกาศ เชื่อว่ารอตัวเลขของสภาพัฒน์นั้น คาดการณ์ว่าตัวเลขของทั้ง 3 หน่วยงาน ประกอบด้วย กระทรวงการคลัง สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) และ ธปท.จะใกล้เคียงกัน
ส่วนเรื่องงบประมาณปี 2567 ที่เกิดความล่าช้า ทางกรมบัญชีกลางได้แก้ไขให้ทุกส่วนราชการดำเนินการจัดเตรียม TOR และดำเนินการตามขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างไปจนถึงขั้นตอนรอการประมูล หากกฎหมายผ่านสภาในวาระที่ 2 และ 3 จึงจะสามารถดำเนินการประมูลได้
โดยในวันนี้ (9 ก.พ. 2567) กรมบัญชีกลางจะมีการจัดประชุมคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุภาครัฐ เพื่อพิจารณาเรื่องที่ผู้รับจ้างหรือเอกชนที่ได้ยื่นข้อเสนอกับหน่วยงานรัฐ ดำเนินการอุทธรณ์ในปีงบประมาณเก่าที่ค้างให้เร่งดำเนินการสะสางให้จบโดยเร็ว พบว่าขณะนี้มีอยู่ประมาณ 100 รายการ
ข่าวนโยบายการเงิน-การคลัง อื่นๆ