อสังหาฯตกภาวะยากลำบาก ลุ้น 'ธปท.-รัฐ' เลิก LTV ลดค่าโอน ขยายเช่า 60 ปี ดึงดูดกำลังซื้อคนรวย ต่างชาติ
วันที่ : 12 กุมภาพันธ์ 2568
สมาคมอาคารชุดไทย เปิดเผยว่า สถานการณ์ตลาดอสังหาฯในไตรมาสแรกของปี 2568 ในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา เงียบเหงามาก ต้องรอลุ้นเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม ซึ่งทาง 3 สมาคมอสังหาริมทรัพย์จะมีการจัดงานมหกรรมบ้านแะคอนโดในเดือนมีนาคม น่าจะเป็นปรอทวัดไข้ว่ากลุ่มกลาง-บน ยังมีกำลังซื้ออยู่หรือไม่
เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ นายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต นายกสมาคมอาคารชุดไทย เปิดเผยว่า สมาคมฯได้ร่วมหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ได้นำเสนอข้อมูลสภาพตลาดในปัจจุบัน รวมทั้งมาตรการระยะสั้นและระยะยาว มีทั้งที่เกี่ยวข้องกับธปท.โดยตรงและเกี่ยวข้องกับภาครัฐบาลเพื่อเป็นการประคับประคองตลาดอสังหาฯ ที่อยู่ในสภาวะยากลำบากให้ฟื้นตัวได้ แม้อาจต้องใช้เวลาก็ตาม ซึ่งธุรกิจอสังหาฯมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดย คิดเป็น 8-12% ของจีดีพี โดยธปท.ได้รับข้อเสนอไว้พิจารณาและน่าจะเป็นสัญญาณและนิมิตรหมายที่ดีที่ธปท.ร่วมกับภาคเอกชนช่วยกันแก้ปัญหาขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แต่อาจจะต้องใช้เวลาในการพิจารณา อย่างไรก็ตามภาคธุรกิจอสังหาฯก็อยากให้มีมาตรการออกมาโดยเร็ว เนื่องจากตลาดอยู่ในภาวะยากลำบากและซับซ้อน โดยเฉพาะกลุ่มระดับกลาง-ล่างที่ยังมีปัญหากำลังซื้อ การถูกรีเจ็กต์เรต ต้องพึ่งกลุ่มที่ยังมีกำลังซื้อ คือ กลุ่มระดับกลาง-บน ให้สามารถซื้อบ้านหลังที่สองและหลังที่สามได้
นายประเสริฐกล่าวว่า สำหรับมาตรการระยะสั้น แบ่งเป็นมาตรการปกติ คือ 1.ขอให้ธปท.ผ่อนปรนมาตรการ Loan to value หรือ LTV (เพดานสินเชื่อที่ทางธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดขึ้น เพื่อป้องกันการก่อหนี้เกินตัวของประชาชน) เป็นการชั่วคราว 2 ปี 2.ขยายเวลาลดค่าโอนและจำนองเหลือ 0.01% อีก 1 ปี 3.ให้ธนาคารรัฐหรือเฉพาะกิจจัดแพ็คเกจปล่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำให้ผู้มีรายได้น้อย-ปานกลาง 4.ลดดอกเบี้ยนโยบายลดค่างวดผ่อนบ้าน ส่วนมาตรการยาแรง ได้แก่ 1.ผ่อนปรนมาตรการLTVทุกระดับราคา จนกว่าสถานการณ์ตลาดจะเป็นปกติ 2.ลดค่าโอนและจำนองเหลือ 0.01% สำหรับการซื้อที่อยู่อาศัยในทุกระดับราคาจากเดิมกำหนดไม่เกิน 7 ล้านบาท 3.ให้สามารถนำมูลค่าบ้านที่ซื้อไปหักลดหย่อนภาษีและดอกเบี้ยได้ เป็นระยะเวลา 5 ปี เฉลี่ยปีละ 1 แสนบาท โดยเป็นบ้านราคาเท่าไหร่ก็ได้ แต่ลดหย่อนได้ไม่เกิน 6.5 แสนลาท ซึ่งก่อนหน้านี้รัฐบาลเคยมีมาตรการนี้มาแล้ว
นายประเสริฐกล่าววว่า ส่วนมาตรการระยะยาวเป็นเรื่องการปรับโครงสร้างอสังหาฯ และจัดระเบียบการถือครองที่อยู่อาศัยของชาวต่างชาติ ซึ่งคงต้องใช้เวลา เนื่องจากต้องมีการปรับแก้ไขกฎหมาย โดยภาคอสังหาฯได้เสนอให้มีการปรับระยะเวลาการเช่าจาก 30 ปี เป็น 60 ปี และปรับสัดส่วนการถือครองของต่างชาติในการซื้อคอโดมิเนียมจากเดิม 49% เป็น 75% หรืออีกทางเลือกคือถ้าซื้อเต็ม 49% แล้ว สามารถปรับเป็นการเช่าระยะยาว 60 ปีก็ได้ ขณะเดียวกันเสนอให้ภาครัฐพิจารณาเก็บอัตราภาษีการถือครองของชาวต่างชาติสูงกว่าคนไทย เพื่อนำรายได้ภาษีที่จัดเก็บได้นั้น ไปพัฒนาประเทศหรือที่อยู่อาศัยหรับผู้มีรายได้น้อย
"สถานการณ์ตลาดอสังหาฯในไตรมาสแรกของปี 2568 ในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา เงียบเหงามาก ต้องรอลุ้นเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม ซึ่งทาง 3 สมาคมอสังหาริมทรัพย์จะมีการจัดงานมหกรรมบ้านแะคอนโดในเดือนมีนาคม น่าจะเป็นปรอทวัดไข้ว่ากลุ่มกลาง-บน ยังมีกำลังซื้ออยู่หรือไม่ ดังนั้นจึงมองว่าน่าจะถึงเวลาที่ธปท.ต้องผ่อนคลายมาตรการLTV แล้ว เพื่อประคองตลาดไม่ให้ไปถึงจุดต่ำสุดอย่างไตรมาส3/2567 ที่ผ่านมา"นายประเสริฐกล่าว
นายสุนทร สถาพร นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวว่า สมาคมฯมี 3 ข้อเสนอ คือ 1.ให้ธนาคารพาณิชย์ทำโมเดลโรงเรียนการเงินเหมือนธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.) เพื่อแก้ปัญหารีเจ็กต์เรตและอัตราดอกเบี้ยที่ยังคงอยู่ในระดับสูง 2.ยกเลิกมาตรการ LTV ชั่วคราว นำกำลังซื้อคนรวยมาช่วย 3.ขยายเวลาการเช่าระยะยาวเป็น 60 ปีทั้งที่ดินภาครัฐ และเอกชนที่เจ้าของไม่อยากขาย ให้ปล่อยเช่าระยะยาวให้กับคนไทยด้วยกันหรือคนต่างชาติได้และเก็บภาษีชาวต่างชาติที่ถือครองอสังหาฯในไทยสูงขึ้น เช่น ประเทศสิงคโปร์เก็บ 60% เป็นต้น
"ได้รายงานข้อมูลธปท.ไปว่า ตลาดยังมีดีมานด์ แต่ติดเรื่องกู้แบงก์ไม่ผ่าน ซึ่งปี 2567 ภาพรวมรีเจ็กต์เรตยังสูง เฉลี่ยอยู่ที่ 40% โดยกลุ่มราคา 1-3 ล้านบาท อยู่ที่ 50% ราคา 3-7 ล้านบาท อยู่ที่ 30% และราคา 7 ล้านบาทขึ้นไปอยู่ที่ 10% และผลจากการถูกรีเจ็กต์เรต ทำให้ผู้ประกอบการมีต้นทุนสูงขึ้นประมาณ 6% จากการที่ต้องนำที่อยู่อาศัยที่ลูกค้ากู้ไม่ผ่านมาขายซ้ำ และต้องทำการตลาดเพิ่ม ยังมีค่าบริหารจัดการอื่นๆอีก"นายสถาพรกล่าว
นายพรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย กล่าวว่า การหารือร่วมกับธปท.เป็นเรื่องการผ่อนคลายมาตรการLTV เป็นหลัก เพื่อประคับประคองตลาดในระยะสั้นได้ไม่มากก็น้อย ซึ่งธปท.ยังต้องพิจารณาต่อไปว่าจะได้หรือไม่ได้ ทั้งนี้สมาคมมีเสนอขอให้ขยายเวลาเช่าระยะยาวเป็น 60 ปี เพื่อให้สถาบันการเงินมีความมั่นใจในการให้สินเชื่อมากขึ้น รวมถึงจะจูงใจต่างชาติได้มากขึ้นเช่นกัน
นายประเสริฐกล่าวว่า สำหรับมาตรการระยะสั้น แบ่งเป็นมาตรการปกติ คือ 1.ขอให้ธปท.ผ่อนปรนมาตรการ Loan to value หรือ LTV (เพดานสินเชื่อที่ทางธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดขึ้น เพื่อป้องกันการก่อหนี้เกินตัวของประชาชน) เป็นการชั่วคราว 2 ปี 2.ขยายเวลาลดค่าโอนและจำนองเหลือ 0.01% อีก 1 ปี 3.ให้ธนาคารรัฐหรือเฉพาะกิจจัดแพ็คเกจปล่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำให้ผู้มีรายได้น้อย-ปานกลาง 4.ลดดอกเบี้ยนโยบายลดค่างวดผ่อนบ้าน ส่วนมาตรการยาแรง ได้แก่ 1.ผ่อนปรนมาตรการLTVทุกระดับราคา จนกว่าสถานการณ์ตลาดจะเป็นปกติ 2.ลดค่าโอนและจำนองเหลือ 0.01% สำหรับการซื้อที่อยู่อาศัยในทุกระดับราคาจากเดิมกำหนดไม่เกิน 7 ล้านบาท 3.ให้สามารถนำมูลค่าบ้านที่ซื้อไปหักลดหย่อนภาษีและดอกเบี้ยได้ เป็นระยะเวลา 5 ปี เฉลี่ยปีละ 1 แสนบาท โดยเป็นบ้านราคาเท่าไหร่ก็ได้ แต่ลดหย่อนได้ไม่เกิน 6.5 แสนลาท ซึ่งก่อนหน้านี้รัฐบาลเคยมีมาตรการนี้มาแล้ว
นายประเสริฐกล่าววว่า ส่วนมาตรการระยะยาวเป็นเรื่องการปรับโครงสร้างอสังหาฯ และจัดระเบียบการถือครองที่อยู่อาศัยของชาวต่างชาติ ซึ่งคงต้องใช้เวลา เนื่องจากต้องมีการปรับแก้ไขกฎหมาย โดยภาคอสังหาฯได้เสนอให้มีการปรับระยะเวลาการเช่าจาก 30 ปี เป็น 60 ปี และปรับสัดส่วนการถือครองของต่างชาติในการซื้อคอโดมิเนียมจากเดิม 49% เป็น 75% หรืออีกทางเลือกคือถ้าซื้อเต็ม 49% แล้ว สามารถปรับเป็นการเช่าระยะยาว 60 ปีก็ได้ ขณะเดียวกันเสนอให้ภาครัฐพิจารณาเก็บอัตราภาษีการถือครองของชาวต่างชาติสูงกว่าคนไทย เพื่อนำรายได้ภาษีที่จัดเก็บได้นั้น ไปพัฒนาประเทศหรือที่อยู่อาศัยหรับผู้มีรายได้น้อย
"สถานการณ์ตลาดอสังหาฯในไตรมาสแรกของปี 2568 ในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา เงียบเหงามาก ต้องรอลุ้นเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม ซึ่งทาง 3 สมาคมอสังหาริมทรัพย์จะมีการจัดงานมหกรรมบ้านแะคอนโดในเดือนมีนาคม น่าจะเป็นปรอทวัดไข้ว่ากลุ่มกลาง-บน ยังมีกำลังซื้ออยู่หรือไม่ ดังนั้นจึงมองว่าน่าจะถึงเวลาที่ธปท.ต้องผ่อนคลายมาตรการLTV แล้ว เพื่อประคองตลาดไม่ให้ไปถึงจุดต่ำสุดอย่างไตรมาส3/2567 ที่ผ่านมา"นายประเสริฐกล่าว
นายสุนทร สถาพร นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวว่า สมาคมฯมี 3 ข้อเสนอ คือ 1.ให้ธนาคารพาณิชย์ทำโมเดลโรงเรียนการเงินเหมือนธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.) เพื่อแก้ปัญหารีเจ็กต์เรตและอัตราดอกเบี้ยที่ยังคงอยู่ในระดับสูง 2.ยกเลิกมาตรการ LTV ชั่วคราว นำกำลังซื้อคนรวยมาช่วย 3.ขยายเวลาการเช่าระยะยาวเป็น 60 ปีทั้งที่ดินภาครัฐ และเอกชนที่เจ้าของไม่อยากขาย ให้ปล่อยเช่าระยะยาวให้กับคนไทยด้วยกันหรือคนต่างชาติได้และเก็บภาษีชาวต่างชาติที่ถือครองอสังหาฯในไทยสูงขึ้น เช่น ประเทศสิงคโปร์เก็บ 60% เป็นต้น
"ได้รายงานข้อมูลธปท.ไปว่า ตลาดยังมีดีมานด์ แต่ติดเรื่องกู้แบงก์ไม่ผ่าน ซึ่งปี 2567 ภาพรวมรีเจ็กต์เรตยังสูง เฉลี่ยอยู่ที่ 40% โดยกลุ่มราคา 1-3 ล้านบาท อยู่ที่ 50% ราคา 3-7 ล้านบาท อยู่ที่ 30% และราคา 7 ล้านบาทขึ้นไปอยู่ที่ 10% และผลจากการถูกรีเจ็กต์เรต ทำให้ผู้ประกอบการมีต้นทุนสูงขึ้นประมาณ 6% จากการที่ต้องนำที่อยู่อาศัยที่ลูกค้ากู้ไม่ผ่านมาขายซ้ำ และต้องทำการตลาดเพิ่ม ยังมีค่าบริหารจัดการอื่นๆอีก"นายสถาพรกล่าว
นายพรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย กล่าวว่า การหารือร่วมกับธปท.เป็นเรื่องการผ่อนคลายมาตรการLTV เป็นหลัก เพื่อประคับประคองตลาดในระยะสั้นได้ไม่มากก็น้อย ซึ่งธปท.ยังต้องพิจารณาต่อไปว่าจะได้หรือไม่ได้ ทั้งนี้สมาคมมีเสนอขอให้ขยายเวลาเช่าระยะยาวเป็น 60 ปี เพื่อให้สถาบันการเงินมีความมั่นใจในการให้สินเชื่อมากขึ้น รวมถึงจะจูงใจต่างชาติได้มากขึ้นเช่นกัน
ข่าวโครงการอสังหาฯ ภาคเอกชน อื่นๆ