คลังจูงใจใช้พร้อมเพย์ โอนเงินเทรดหุ้น2ล.ฟรี
วันที่ : 28 สิงหาคม 2561
“อภิศักดิ์” สั่งเพิ่มเพดานโอนเงินฟรี ผ่านพร้อมเพย์ มากกว่า 2 ล้านบาท รองรับธุรกรรมการชำระเงินค่าซื้อขายหุ้นและธุรกิจต่าง ๆ
“อภิศักดิ์” สั่งเพิ่มเพดานโอนเงินฟรี ผ่านพร้อมเพย์ มากกว่า 2 ล้านบาท รองรับธุรกรรมการชำระเงินค่าซื้อขายหุ้นและธุรกิจต่าง ๆ ระยะแรกเริ่ม 7 แสนบาทต่อครั้งก่อนภายใน 1-2 เดือนนี้ และจะขยายเป็น 2 ล้านบาทต่อครั้งในระยะต่อไป ด้านสมาคมธนาคารมองผลกระทบค่าฟีไม่มาก
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลังการประชุมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ e-Payment ว่า ที่ประชุมเห็นชอบขยายเพดานโอนเงินผ่านพร้อมเพย์ ให้มากกว่า 7 แสนบาทต่อครั้ง โดยได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมทั้งหมดภายใน 1-2 เดือนนี้ และจะขยายวงเงินเป็น 2 ล้านบาทต่อครั้งในระยะต่อไป เพื่ออำนวยความสะดวกและคล่องตัวมากขึ้น ช่วยลดต้นทุนทางการเงินให้กับภาคธุรกิจ เพราะจำนวนเงินโอนแต่ละครั้งจะมีต้นทุนด้านค่าธรรมเนียมเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะตลาดหุ้นและ SME ที่จะมีการรับโอนเงินชำระค่าหุ้น
ทั้งนี้ ขยายเพดานการโอนเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ ซึ่งปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ ได้เปิดให้บริการแล้ว แต่มีการจำกัดเพดานวงเงินการโอนสำหรับกรณีไม่เสียค่าธรรมเนียม (ค่าฟี) โดยแต่ละแบงก์กำหนดวงเงินเอง ซึ่งส่วนใหญ่จะมีเพดานไม่เกิน 7 แสนบาทต่อครั้ง แต่มีบางธนาคารให้สูงถึงหลัก 1 ล้านบาท
สำหรับข้อมูล ณ วันที่ 15 ก.ค. 2561 มียอดการลงทะเบียนใช้พร้อมเพย์ 43.6 ล้านเลขหมาย แบ่งเป็นการลงทะเบียนด้วยบัตรประชาชน 28.3 ล้านเลขหมาย ลงทะเบียนด้วยเบอร์โทรศัพท์ 15.2 ล้านเลขหมาย ลงทะเบียนในนามนิติบุคคล 5.9 ล้านเลขหมาย และอีวอลเลต 8.5 หมื่นเลขหมาย รวมจำนวนทรานแซกชั่น 450 ล้านรายการ เฉลี่ยวันละ 2.4 ล้านรายการ รวมมูลค่า 2.2 ล้านล้านบาท
ด้านนายปรีดี ดาวฉาย กรรมการผู้จัดการ และในฐานะประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า เรื่องการขยายเพดานวงเงินโอนผ่านพร้อมเพย์โดยไม่คิดค่าฟี เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าใช้บริการพร้อมเพย์มากขึ้นนั้น ได้มีการหารือกันแล้วว่าให้แต่ละธนาคารกำหนดการขยายเพดานกันเอง เพื่อจูงใจให้ภาคธุรกิจมาใช้บริการการโอนเงินดังกล่าว เนื่องจากเดิมลูกค้านิยมใช้เช็คกันส่วนใหญ่ ดังนั้นหากมาใช้โอนเงินผ่านพร้อมเพย์ จะช่วยให้ลูกค้าใช้เช็คน้อยลง ถือเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายทั้งลูกค้าและธนาคารด้วย ส่วนผลกระทบด้านรายได้ค่าฟีส่วนนี้ไม่ค่อยมาก เพราะไม่ค่อยได้รายได้ส่วนนี้อยู่แล้ว
“กลุ่มลูกค้าขนาดใหญ่ปัจจุบันคิดว่าไม่ได้ใช้พร้อมเพย์มากนัก เพราะจะมีระบบโอนเงินแบบหนึ่ง ซึ่งมีกลไกที่จะบริหารความเสี่ยงที่ดีกว่า ส่วนการขยายเพดานวงเงินโอนเงินผ่านพร้อมเพย์ จะช่วย SME ลดต้นทุนได้ ซึ่งผมเห็นด้วย ถ้าเป็นประโยชน์ก็ต้องทำ แต่ก็มีความเสี่ยง ถ้าเกิดการทุจริตมีโอกาสที่จะเกิดความเสียหายได้มากขึ้น แต่เชื่อว่าจะจัดการได้” นายปรีดี กล่าว
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลังการประชุมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ e-Payment ว่า ที่ประชุมเห็นชอบขยายเพดานโอนเงินผ่านพร้อมเพย์ ให้มากกว่า 7 แสนบาทต่อครั้ง โดยได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมทั้งหมดภายใน 1-2 เดือนนี้ และจะขยายวงเงินเป็น 2 ล้านบาทต่อครั้งในระยะต่อไป เพื่ออำนวยความสะดวกและคล่องตัวมากขึ้น ช่วยลดต้นทุนทางการเงินให้กับภาคธุรกิจ เพราะจำนวนเงินโอนแต่ละครั้งจะมีต้นทุนด้านค่าธรรมเนียมเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะตลาดหุ้นและ SME ที่จะมีการรับโอนเงินชำระค่าหุ้น
ทั้งนี้ ขยายเพดานการโอนเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ ซึ่งปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ ได้เปิดให้บริการแล้ว แต่มีการจำกัดเพดานวงเงินการโอนสำหรับกรณีไม่เสียค่าธรรมเนียม (ค่าฟี) โดยแต่ละแบงก์กำหนดวงเงินเอง ซึ่งส่วนใหญ่จะมีเพดานไม่เกิน 7 แสนบาทต่อครั้ง แต่มีบางธนาคารให้สูงถึงหลัก 1 ล้านบาท
สำหรับข้อมูล ณ วันที่ 15 ก.ค. 2561 มียอดการลงทะเบียนใช้พร้อมเพย์ 43.6 ล้านเลขหมาย แบ่งเป็นการลงทะเบียนด้วยบัตรประชาชน 28.3 ล้านเลขหมาย ลงทะเบียนด้วยเบอร์โทรศัพท์ 15.2 ล้านเลขหมาย ลงทะเบียนในนามนิติบุคคล 5.9 ล้านเลขหมาย และอีวอลเลต 8.5 หมื่นเลขหมาย รวมจำนวนทรานแซกชั่น 450 ล้านรายการ เฉลี่ยวันละ 2.4 ล้านรายการ รวมมูลค่า 2.2 ล้านล้านบาท
ด้านนายปรีดี ดาวฉาย กรรมการผู้จัดการ และในฐานะประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า เรื่องการขยายเพดานวงเงินโอนผ่านพร้อมเพย์โดยไม่คิดค่าฟี เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าใช้บริการพร้อมเพย์มากขึ้นนั้น ได้มีการหารือกันแล้วว่าให้แต่ละธนาคารกำหนดการขยายเพดานกันเอง เพื่อจูงใจให้ภาคธุรกิจมาใช้บริการการโอนเงินดังกล่าว เนื่องจากเดิมลูกค้านิยมใช้เช็คกันส่วนใหญ่ ดังนั้นหากมาใช้โอนเงินผ่านพร้อมเพย์ จะช่วยให้ลูกค้าใช้เช็คน้อยลง ถือเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายทั้งลูกค้าและธนาคารด้วย ส่วนผลกระทบด้านรายได้ค่าฟีส่วนนี้ไม่ค่อยมาก เพราะไม่ค่อยได้รายได้ส่วนนี้อยู่แล้ว
“กลุ่มลูกค้าขนาดใหญ่ปัจจุบันคิดว่าไม่ได้ใช้พร้อมเพย์มากนัก เพราะจะมีระบบโอนเงินแบบหนึ่ง ซึ่งมีกลไกที่จะบริหารความเสี่ยงที่ดีกว่า ส่วนการขยายเพดานวงเงินโอนเงินผ่านพร้อมเพย์ จะช่วย SME ลดต้นทุนได้ ซึ่งผมเห็นด้วย ถ้าเป็นประโยชน์ก็ต้องทำ แต่ก็มีความเสี่ยง ถ้าเกิดการทุจริตมีโอกาสที่จะเกิดความเสียหายได้มากขึ้น แต่เชื่อว่าจะจัดการได้” นายปรีดี กล่าว
ข่าวนโยบายการเงิน-การคลัง อื่นๆ