สถานการณ์ที่อยู่อาศัยใน EEC ไตรมาส 1 ปี 2566
Loading

สถานการณ์ที่อยู่อาศัยใน EEC ไตรมาส 1 ปี 2566

วันที่ : 4 กรกฎาคม 2566
ศูนย์ธุรกิจและเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ EEC
จากรายงานเศรษฐกิจของประเทศไทยของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1 ปี 2566 มีขยายตัวของ GDP ร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนโดยมีปัจจัยสำคัญมาจากการขยายตัวของภาคบริการ โดยเฉพาะในสาขาที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องรัฐบาลมีมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศผ่านโครงการต่างๆ และรัฐบาลยังคงมีมารตรการลดค่ธรรมเนียมการโอนเหลือร้อยละ 1 และค่าจดจำนองเหลือร้อยละ 0.01 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 3 มกราคม -31 ธันวาคม 2566 เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยและเพื่อช่วยลุดภาระค่าใช้จ่ายสำหรับคนที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยเพื่ออยู่อาศัยจริง ประกอบกับในช่วงปลายปี 2565 มีการเร่งซื้อเร่งขายก่อนที่จะหมดมาตรการผ่อนปรน LTV ทำให้เกิดโมเมนตัมส่งผลให้อุปสงค์การโอนกรรมสิทธิ์ในพื้นที่ 3 จังหวัด EEC ในไตรมาส 1 ปี 2566 มีการขยายตัวทั้งจำนวนหน่วยและมูลค่า ร้อยละ 9.1 และ 16.9 ตามลำดับ

นอกจากนี้ยังพบว่า จังหวัดชลบุรีเป็นจังหวัดที่มีจำนวนหน่วยและมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์สูงสุดถึง 8,198 หน่วย มูลค่า 21,436 ล้านบาท ซึ่งประมาณร้อยละ 58 เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ของบ้านแนราบ โดยพื้นที่ที่มีการโอนกรรมสิทธิ์มากจะอยู่ในอำเภอบางละมุง ศรีราชาและเมืองชลบุรี ตามลำดับ จังหวัดที่รองลงมาคือ จังหวัดระยองมีจำนวนหน่วยและมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ 2,900 หน่วย มูลค่า 6,211 ล้านบาท ซึ่งประมาณร้อยละ 90 เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ของบ้านแนวราบ โดยพื้นที่ที่มีการโอนกรรมสิทธิ์มากจะอยู่ในอำเภอเมืองระยอง ปลวกแดง และนิคมพัฒนา สำหรับจังหวัดฉะเชิงเทราจะมีขนาดตลาดที่เล็กที่สุดในพื้นที่ EEC มีจำนวน 1,087 หน่วย มูลค่า 2,423 ล้านบาท ซึ่งมากกว่าร้อยละ 97 เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ของบ้านแนวราบโดยพื้นที่ที่มีการโอนกรรมสิทธิ์มากจะอยู่ในอำเภอบางปะกง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา และอำเภอแปลงยาว

สำหรับอุปทานด้านการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินในจังหวัด EEC ลดลงร้อยละ -24.2 เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2565 อาจจะเป็นผลมาจากการที่ผู้ประกอบการมีการปรับตัวตามสภาพทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้า ภายใต้ปัจจัยลบหลายด้าน ทั้ง 
  1. การยกเลิกการผ่อนคลายมาตรการ LTV ของ ธปท. ที่กระทบต่อคนที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยเป็นบ้านสัญญาที่ 2 และ 3 
  2. ภาวะหนี้ครัวเรือนที่ยังคงมีอัตราส่วนที่ยังสูงถึงเกือบ 90% ของ GDP
  3. ภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น ที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายมีโอกาสปรับสูงขึ้นถึง 1.00
ซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่จะทำให้ผู้ที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยมีภาระค่าใช้จ่ายมากขึ้น และความสามารถในการผ่อนชำระลดลง ผู้ประกอบการจึงหันมาพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยขนาดเสีกลงที่ไม่เข้าเกณซ์ต้องยื่นขอใบอนุญาตจัดสรรจำนวนมากขึ้นในช่วงที่เกิด COVID-19 และความต้องการของประชาชนในการสร้างบ้านบนที่ดินตัวเองสูงขึ้น  ก็เป็นอีกสาเหตุสำคัญที่ทำให้จำนวนหน่วยที่ได้รับในอนุญาตจัดสรรลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

ส่วนอุปทานการออกใบอนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัยใน 3 จังหวัดพื้นที่ EEC ไตรมาส 1 ปี 2566 พบว่าประเภทแนวราบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.9 แต่ในส่วนของอาคารชุดลดลงร้อยละ -73.3 เมื่อเทียบช่วงเวลาเดียวกันกับปีก่อนหน้า จะเห็นได้ว่าด้านอาคารชุดของชลบุรี มีการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารชุดลดลงอย่างมากถึงร้อยละ -78.4 เนื่องจากยังคงมีอุปทานอยู่มากในชลบุรี แต่สำหรับระยองมีการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารชุดเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.3 เมื่อเที่ยบกับไตรมาส 1 ปี 2565 ซึ่งเป็นผลมาจากไตรมาส 4 ปี 2565 มีอุปทานเหลื่อน้อยในระยอง ส่วนจังหวัดฉะเชิงเทรา ไม่มีการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารชุดเลย ซึ่งน่าจะเป็นผลมาจากความต้องการอาคารชุดในฉะเชิงเทรามีอยู่น้อยมาก...
สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่
E-book สถานการณ์ที่อยู่อาศัยในจังหวัด EEC อื่นๆ