ค่าดัชนีเชื่อมั่นอสังหาฯฟื้นตัว คาดศก.ขยายตัวหลังเลือกตั้ง
Loading

ค่าดัชนีเชื่อมั่นอสังหาฯฟื้นตัว คาดศก.ขยายตัวหลังเลือกตั้ง

วันที่ : 11 มกราคม 2562
ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ เผยผลสำรวจค่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ต่อสถานการณ์ตลาดอสังหาฯ Q4/61 ระบุความเชื่อมั่นหดตัวลดลงจากไตรมาส 3/61 จาก 51.7 จุด ลงมาแตะ 50.4 จุด เหตุผู้ประกอบการกังวลเสถียรภาพทางการเมือง ภาวะเศรษฐกิจ อัตราดอกเบี้ยขาขึ้น แถมมีมาตรการควบคุมสินเชื่อที่อยู่อาศัยจาก ธปท.กดดัน คาดครึ่งแรก ปี62 ค่าดัชนีขยับแตะ 60.5 จุด เหตุผู้ประกอบการคาดหวังว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวดี หลังการเลือกตั้ง
          ค่าดัชนีเชื่อมั่นอสังหาฯฟื้นตัว คาดศก.ขยายตัวหลังเลือกตั้ง

          เผยผลสำรวจค่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ต่อสถานการณ์ตลาดอสังหาฯ Q4/61 ระบุความเชื่อมั่นหดตัวลดลงจากไตรมาส 3/61 จาก 51.7 จุด ลงมาแตะ 50.4จุด

          ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ เผยผลสำรวจค่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ต่อสถานการณ์ตลาดอสังหาฯ Q4/61 ระบุความเชื่อมั่นหดตัวลดลงจากไตรมาส 3/61 จาก 51.7 จุด ลงมาแตะ 50.4 จุด เหตุผู้ประกอบการกังวลเสถียรภาพทางการเมือง ภาวะเศรษฐกิจ อัตราดอกเบี้ยขาขึ้น แถมมีมาตรการควบคุมสินเชื่อที่อยู่อาศัยจาก ธปท.กดดัน คาดครึ่งแรก ปี62 ค่าดัชนีขยับแตะ 60.5 จุด เหตุผู้ประกอบการคาดหวังว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวดี หลังการเลือกตั้ง

          ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) เปิดเผยว่า ได้สำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ และปริมณฑล 5 จังหวัด ประกอบด้วย นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร และนครปฐม ทั้งนี้ การกำหนดค่ากลางดัชนีเท่ากับ 50 หากค่าดัชนีสูงกว่าค่ากลาง สะท้อนว่าผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่น และมีมุมมองเชิงบวกต่อสถานการณ์ธุรกิจอสังหาฯ ตรงกันข้าม หากค่าดัชนีต่ำกว่าค่ากลาง จะสะท้อนถึงมุมมองเชิงลบ โดยคำนวณค่าดัชนีจะให้น้ำหนักบริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์ฯ (Listed Companies) ต่อบริษัทที่ไม่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ (Non-listed Companies) เป็น 60 : 40

          จากการสำรวจ ค่าดัชนีความเชื่อมั่นในภาวะปัจจุบันพบว่า ภาพรวมของไตรมาส 4 ปี 61 มีค่าเท่ากับ 50.4 จุด ลดลงจากไตรมาส 3/61 ซึ่งมีค่าดัชนี 51.7 จุด เนื่องจากผู้ประกอบการมีความกังวลด้านเสถียรภาพทางการเมือง ภาวะเศรษฐกิจ อัตราดอกเบี้ยขาขึ้น และมาตรการควบคุมสินเชื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือ LTV ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการปรับตัวลดลง มีค่าใกล้กับค่ากลางที่ระดับ 50 จุด และเมื่อจำแนกดัชนีความเชื่อมั่นในภาวะปัจจุบันในแต่ละด้านพบว่า ด้านผลประกอบการ ด้านยอดขาย ด้านการลงทุน และต้นทุนมีค่าความเชื่อมั่นลดลง ขณะที่การจ้างงาน และการขึ้นโครงการใหม่ มีค่าความเชื่อมั่นปรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาส3/61

          ทั้งนี้ หากพิจารณาค่าดัชนีความเชื่อมั่นในภาวะปัจจุบันจำแนกตามกลุ่มผู้ประกอบการพบว่า ผู้ประกอบการกลุ่ม Listed Companies มีค่าดัชนีเท่ากับ 55.7 จุด ลดลงจากไตรมาส3/61 ซึ่งมีค่าดัชนีอยู่ที่ 56.1 จุด ส่วนผู้ประกอบการ กลุ่ม Non-listed Companies มีค่าดัชนี 42.3 จุด ลดลงจากไตรมาส3/61มาอยู่ที่45.2 จุด สะท้อนให้เห็นว่าผู้ประกอบการกลุ่ม Non-listed Companies มีความกังวล และขาดความเชื่อมั่นในการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน

          สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นในอีก 6 เดือนข้างหน้า มีค่าเท่ากับ 60.5 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งอยู่ที่ระดับ 57.5 จุด เนื่องจากคาดหวังว่าภาวะเศรษฐกิจจะมีโอกาสขยายตัวภายหลังการเลือกตั้ง เมื่อจำแนกดัชนีความเชื่อมั่นในอีก 6 เดือนข้างหน้าในแต่ละด้าน พบว่าความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นในทุกด้าน โดยเฉพาะความเชื่อมั่นในการเปิดโครงการใหม่ และด้านการลงทุน จึงทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นในอีก 6 เดือนข้างหน้าปรับเพิ่มขึ้น