อสังหาฯปี62ติดลบ7%
Loading

อสังหาฯปี62ติดลบ7%

วันที่ : 18 กันยายน 2562
นายวิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคาร และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยในงานสัมมนาวิชาการในวาระครบ 15 ปีของการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ว่า ภาพรวมการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ทั้งบ้านเดี่ยว คอนโดมิเนียม ทาวน์เฮาส์ ในปีนี้คาดติดลบ 7%
          แอลทีวีบาทแข็งทำพิษ

          นายวิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคาร และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยในงานสัมมนาวิชาการในวาระครบ 15 ปีของการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ว่า ภาพรวมการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ทั้งบ้านเดี่ยว คอนโดมิเนียม ทาวน์เฮาส์ ในปีนี้คาดติดลบ 7% ลดจากปีก่อน 363,000 หน่วย เหลือ 335,000 หน่วย มีมูลค่าการซื้อขายติดลบ 2.7% หรือจากปีก่อน 839,000 ล้านบาท เหลือ 817,000 ล้านบาท หายไป 22,000 ล้านบาท

          ทั้งนี้ ยอดโอนที่หายไปส่วนใหญ่มาจากตลาดคอนโดฯ ที่ปีนี้จะติดลบ 14% ตลาดบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ จะติดลบแค่ 4% สาเหตุส่วนใหญ่มาจากภาพรวมเศรษฐกิจที่ชะลอตัวผล กระทบจากมาตรการควบคุมสินเชื่อบ้านจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รวมถึงชาวจีนเข้ามาซื้อคอนโดฯ น้อยลง หลังจากจีนประสบปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศ และค่าเงินบาทที่แข็งค่าสุดในภูมิภาค

          "สิ่งสำคัญที่ทำให้ภาคอสังหาริมทรัพย์ชะลอลงเป็นผลจากผล กระทบจากมาตรการ ธปท. และเศรษฐกิจ โดยเฉพาะคอนโดมิเนียมมียอดค้างสต๊อกมากถึง 60,000 หน่วย ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง และสร้างแล้วเสร็จ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าสถานการณ์นี้ยังไม่น่ากลัวว่าจะเกิดภาวะฟองสบู่ เพราะตอนนี้ผู้ประกอบการเริ่มปรับตัวขึ้นโครงการใหม่ ๆ ขณะเดียวกันยอดการซื้อขายคอนโดฯ จริงก็มียอดใกล้เคียงกับปี 60 ซึ่งไม่ได้ตกลงจนน่ากลัว อีกทั้งราคาซื้อขายคอนโดฯ ก็ยังทรงตัวไม่ได้ปรับลดลงอย่างฮวบฮาบ"

          นายวิชัยกล่าวว่า สำหรับตลาดอสังหาริมทรัพย์ในครึ่งปีแรก 62 ที่ผ่านมา ภาคอสังหาริมทรัพย์ติดลบ 5% โดยช่วง 3 เดือนแรก ภาคอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวมากกว่า 10% เป็นผลจากผู้ประกอบการเร่งการโอนกรรมสิทธิ์ หรือทำสัญญา เพื่อหนีมาตรการ ธปท. แต่หลังจากมาตรการมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 เม.ย. ที่ผ่านมา ก็ทำให้ไตรมาส 2 ติดลบมากกว่า 10% ขณะที่ครึ่งปีหลังก็คาดว่าจะติดลบเช่นกันหากรัฐไม่มีมาตรการกระตุ้นอะไรออกมา

          นายนรินทร์ กัลยาณมิตร ประธานกรรมการศูนย์ข้อมูลอสังหา ริมทรัพย์ กล่าวว่า อสังหาริมทรัพย์ที่ชะลอตัวในวันนี้ ยังห่างไกลจากช่วงเกิดวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้งในปี 40 จึงไม่ต้องกังวลใจไป เพราะขณะนั้นสาเหตุมาจากการขยายตัวของอุปสงค์เทียม ที่มีมากกว่าความต้องการและกำลังซื้อของประชาชนถึง 2-3 เท่า จนเกิดการซื้อขายเก็งกำไรระยะสั้น ประกอบกับมีการกู้ยืมเงินตราต่างประเทศมาลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์จำนวนมาก ทำให้สถาบันการเงินทั้งรัฐและเอกชน ปล่อยสินเชื่อเยอะ และกลายเป็นหนี้เสีย

          "วิกฤติครั้งนั้นส่วนหนึ่งเป็นเพราะไทยไม่มีระบบฐานข้อมูลในการประเมินความต้องการที่แท้จริงในตลาด จึงเป็นบทเรียนสำคัญของไทย ซึ่งการจัดศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์จะช่วยเหลือได้ โดยมีการจัดทำฐานข้อมูลในระบบแบบบิ๊กดาต้า นำมาวิเคราะห์เชิงคาดการณ์"
 
ข่าว reic จากสื่อสิ่งพิมพ์ อื่นๆ
7 กรกฎาคม 2568
ดัชนีเชื่อมั่นQ1/68สวนตลาด REIC ชี้เป็นครั้งแรกดัชนีสูงกว่าค่ากลาง
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ได้จัดทำ บทวิเคราะห์ เรื่อง "ดัชนีความเชื่อมั่นความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ไตรมาสที่ 1 ปี 2568" พบว่ามีค่าดัชนีเท่ากับ 51.7 จุด สูงกว่าค่ากลางที่ 50.0 จุด ทั้งนี้ ค่าดัชนีที่สูงขึ้นนับเป็นครั้งแรกตั้งแต่เริ่มมีการจัดทำดัชนี ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าผู้ตอบแบบสอบถาม มีความเชื่อมั่นในการซื้อที่อยู่อาศัยดีขึ้นกว่าช่วงที่ผ่านมา โดยเพิ่มขึ้น 12.5 จุด เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีค่าดัชนีเท่ากับ 39.2 จุด