เขตเศรษฐกิจพิเศษลาว แหล่งทำเงินของกลุ่มทุนจีน
Loading

เขตเศรษฐกิจพิเศษลาว แหล่งทำเงินของกลุ่มทุนจีน

วันที่ : 26 ธันวาคม 2562
หลังจากเปิดประเทศรับกลุ่มบริษัทสร้างเขื่อนและเหล่าวิศวกรสร้างทางรถไฟจากจีนแล้ว ลาว ก็เริ่มมองหา บริษัทจีนที่ต้องการเข้ามาลงทุนใน เขตเศรษฐกิจพิเศษ(เอสอีซี) ที่ขณะนี้กระจายตามพื้นที่ต่างๆ
          หลังจากเปิดประเทศรับกลุ่มบริษัทสร้างเขื่อนและเหล่าวิศวกรสร้างทางรถไฟจากจีนแล้ว ลาว ก็เริ่มมองหา บริษัทจีนที่ต้องการเข้ามาลงทุนใน เขตเศรษฐกิจพิเศษ(เอสอีซี) ที่ขณะนี้กระจายตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ขณะที่ บรรดาผู้สังเกตการณ์มีคำถามมากมายเกี่ยวกับโครงการต่างๆ พร้อมทั้งแสดงความกังวลว่าประเทศคอมมิวนิสต์เล็กๆ แห่งนี้จะแบกรับหนี้มากเกินกำลัง

          รัฐบาลปักกิ่ง สนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษ บ่อเต็น ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของโครงการริเริ่ม ยุทธศาสตร์เส้นทางสายไหมใหม่แห่ง ศตวรรษที่ 21 (บีอาร์ไอ) เขตเศรษฐกิจพิเศษนี้ ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของลาว มีพรมแดนติดกับจีน ซึ่งรัฐบาลลาวคาดหวังว่าจะมี เงินลงทุนเข้ามาอย่างน้อย 1 หมื่นล้านดอลลาร์ เพื่อพัฒนาพื้นที่ให้สมบูรณ์

          เขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งนี้ ตั้งอยู่ห่างจากนครเวียงจันทน์ไปทางตอนเหนือประมาณ 390 กิโลเมตร มีพรมแดนติดดับตำบลโม๋ฮัน มณฑลยูนนาน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน และเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือทางเศรษฐกิจจีน-ลาวที่เติบโตอย่างรวดเร็ว

          ภายในเขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งนี้ ครอบคลุมพื้นที่ 4,375 ไร่ มีระบบสาธารณูปโภคครบครัน มีทางหลวง 6 เลนและ มีโครงสร้างพื้นฐานด้านอื่นๆ แบ่งพื้นที่เป็นเขตการค้า การธนาคารและการเงิน การขนส่ง การศึกษา การบริการทางการแพทย์และการศึกษา และคาดว่าเมื่อการก่อสร้าง เสร็จสมบูรณ์จะมีประชาชนเข้ามาทำงานและอาศัยประมาณ 3 แสนคน

          เมื่อต้นเดือนธ.ค.ที่ผ่านมา "เขมมณี พลเสนา" รัฐมนตรีอุตสาหกรรมและพาณิชย์ของลาว ได้เดินทางเยือนมณฑลยูนนานและ พบปะกับบรรดาเจ้าหน้าที่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ก่อนจะลงนามข้อตกลงร่วมกันหลายฉบับ รวมถึงข้อตกลงความร่วมมือพัฒนา ระเบียงเศรษฐกิจแขวงบ่อเต็น ซึ่งบริษัท ยูนนาน ไห่เฉิง อินดัสเตรียล กรุ๊ป ได้เข้าไปทำพิธีวางศิลาฤกษ์เขตเศรษฐกิจพิเศษ มูลค่า 10,000 ล้านดอลลาร์

          "โจว คุน" ประธานบริษัทยูนนาน ไห่เฉิง  อินดัสเตรียล กรุ๊ป ซึ่งเป็นบริษัทพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งนี้ กล่าวว่า ขณะนี้ บริษัทได้ลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งนี้ ไปแล้ว 1,000 ล้านดอลลาร์ ส่วนใหญ่เป็นการพัฒนาพื้นที่ และคาดว่าต้องใช้เงินลงทุนอีก 10,000 ล้านดอลลาร์ในการ ก่อสร้างให้แล้วเสร็จ เนื่องจากเขตเศรษฐกิจพิเศษตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เป็นภูเขา จึงต้องปรับพื้นดินเพื่อก่อสร้างอาคารสำนักงานต่างๆ คาดว่าจะพัฒนาได้อย่างสมบูรณ์ภายใน 5-10 ปีข้างหน้า

          ในการพัฒนาพื้นที่ภายในเขต เศรษฐกิจพิเศษนี้ มีบริษัทต่างชาติขนาดใหญ่ หลายแห่งร่วมลงทุนและมีบริษัทกว่า 100 แห่ง เริ่มทำธุรกิจและการค้าภายในเขต เศรษฐกิจพิเศษแห่งนี้แล้ว

          ทั้งนี้ กลุ่มทุนจีนคว้าสัญญาพัฒนา เขตเศรษฐกิจพิเศษบ่อเต็นที่มีสัญญาเช่า นาน 90 ปี ที่เปิดโอกาสให้นักลงทุนจากจีน เข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมต่างๆได้ อย่างเต็มที่ ทั้งอุตสาหกรรมโรงแรม ห้างสรรพสินค้า ศูนย์กลางความบันเทิง โดยมีเป้าหมายหลักอยู่ที่การเจาะกลุ่ม นักท่องเที่ยวชาวจีนที่มาท่องเที่ยวในลาว

          เจ้าหน้าที่ด้านการท่องเที่ยวใน นครเวียงจันทน์ เมืองหลวงของลาว รองรับนักท่องเที่ยวชาวจีนจำนวนกว่า 1 ล้านคน ในช่วงที่จัดทำแคมเปญทางการตลาดเพื่อกระตุ้นนักท่องเที่ยวจีนเข้ามาเที่ยวในลาว ในปี 2562

          "ตลาดจีนเป็นตลาดหลักของการ ท่องเที่ยวลาว การจัดงานส่งเสริมการท่องเที่ยว ในหมู่ชาวจีน ทำให้มีชาวจีนเดินทาง มาเที่ยวลาวเพิ่มขึ้นจาก 400,000 คน เป็น 800,000 คนในปี 2561" กิแก้ว ไคขำพิทูน รัฐมนตรีสารสนเทศ วัฒนธรรมและ การท่องเที่ยวของลาว กล่าว

          นอกจากท่องเที่ยวแล้ว ชาวจีน ยังนิยมเข้ามาเล่นการพนันในประเทศลาวด้วย  โดยปัจจุบัน มีการเปิดบ่อนพนันในเขตเศรษฐกิจพิเศษทั่วประเทศในลาวจำนวน 4 บ่อนด้วยกัน ที่รู้จักกันดีคือ เดอะ คิงส์ โรมัน กาสิโน ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง บนที่ดินเช่า มีสัญญาเช่า 99 ปี บริเวณสามเหลี่ยมทองคำ ซึ่งเป็นเขตติดต่อระหว่างลาว เมียนมา และไทย

          รัฐบาลลาวต้องการขยายเขตเศรษฐกิจพิเศษในลักษณะเดียวกับที่บ่อเต็นเพิ่มขึ้น จึงได้อนุมัติให้มีการก่อตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ 14 แห่งจากทั้งหมด 40 แห่งเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่มีอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ย 6% ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา โดยเขตเศรษฐกิจพิเศษ สะหวัน-เซโน เอสอีซี ตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำโขง เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งแรกที่ตั้งขึ้น เมื่อปี 2546 และมีแหล่งกาสิโนรวม อยู่ด้วย

          แต่บรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาในลาว ตั้งคำถามเกี่ยวกับโมเดลธุรกิจ ที่กำลังดำเนินอยู่ในลาวขณะนี้

          "เศรษฐกิจของลาวยังเป็นเศรษฐกิจท้องถิ่น ยังไม่มีการลงทุนในด้าน แรงงานมีทักษะและไม่มีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อเข้าไปแสวงหา โอกาศดีๆ ในการทำงานภายในเขต เศรษฐกิจพิเศษต่างๆ ที่กระจายอยู่ ทั่วประเทศ" ชัลมาลิ กัททัล ผู้อำนวยการบริหาร "โฟกัส ออน เดอะ โกลบอล เซาท์" กลุ่มนักคิดมีฐานอยู่ในกรุงเทพฯ กล่าว

          พร้อมเสริมว่า เขตเศรษฐกิจพิเศษเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาอุตสาหกรรมของลาว แต่ที่ผ่านมา เรายังไม่เห็นการผลิตเชิงอุตสาหกรรมในเขตเศรษฐกิจพิเศษ ที่กระจายตามพื้นที่ต่างๆ ในลาว แต่กลับมีการพัฒนาที่ดิน เพื่อสร้างคอนโดมิเนียม โรงแรม วิลลาหรูหรา สนามกอล์ฟและกาสิโนแทน

          เวียงจันทน์รองรับนักท่องเที่ยวชาวจีนกว่า 1 ล้านคนในปี 2562 ภายใต้แผน ส่งเสริมการท่องเที่ยวลาว-จีน
 
ข่าวเขตเศรษฐกิจพิเศษ อื่นๆ