โควิดพ่นพิษฉุดอสังหาฯปี 64 ติดลบ 10% ต่ำสุดในรอบ 5 ปี
Loading

โควิดพ่นพิษฉุดอสังหาฯปี 64 ติดลบ 10% ต่ำสุดในรอบ 5 ปี

วันที่ : 15 มกราคม 2564
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) เผย โควิด - 19 ฉุดธุรกิจอสังหาฯ ติดลบ 10% ต่ำสุดในรอบ 5 ปี
          นายวิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) กล่าวว่า การคาดการณ์ผ่านการจำลองหลายสถานการณ์ (Scenario) เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นถึงภาพรวมแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ระดับดีที่สุด (best) คือ ตลาดจะโต 5-10% ระดับกลาง (base) ตลาดทรงตัวบวกลบไม่เกิน 0.5% และระดับแย่ที่สุด (worst) ติดลบ 10% เท่ากับปี 2563 เท่ากับภาพรวมตลาด ทั่วประเทศลดลงถึง 20% ซึ่งรุนแรงพอควร เพราะต่ำสุดในรอบ 5 ปี ใกล้เคียงกับช่วงเกิดน้ำท่วมใหญ่ปี 2554

          มีความเป็นไปได้ว่าปี 2564 จะติดลบ10% ซึ่งเป็นจุดที่ต้อง ระมัดระวังอย่างยิ่ง เพราะปีนี้กำลังซื้อไม่มีเหมือนปีที่แล้ว เนื่องจากผู้บริโภคได้รับผลกระทบในแง่ของรายได้ต่อเนื่องมานาน ส่งผลให้ดีมานด์ใหม่ของที่อยู่อาศัยได้รับผลกระทบรุนแรง"

          สำหรับมูลค่าตลาดซึ่งมาจากตัวเลขการโอนกรรมสิทธิ์จากที่เคยมีตัวเลขสูงสุด 9 แสนล้านบาทในปี 2561 คาดว่าปี 2563 จะปิดตัวเลขที่ 7 แสนล้านบาท ฉะนั้นหากปี 2564 สถานการณ์ไม่ดี จะส่งผลให้มูลค่าตลาดต่ำกว่า 7 แสนล้านบาท ต่ำกว่าปี 2560

          "ถ้าโควิด19 ระลอกใหม่ระบาดหนักจะยิ่งทำให้ตลาดหดตัว ลดลง 10% คิดเป็นมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท ทำให้มูลค่าตลาดลดลงเหลือประมาณ 6 แสนล้านบาท ถือว่าต่ำมาก"นายวิชัยกล่าว

          นายวิชัย กล่าวว่า ตลาดที่ต้องจับตามองคือคอนโด ที่แม้จะดูว่าสต๊อกลดลงในปี 2563 แต่เป็นเพราะดีเวลลอปเปอร์ลดแลกแจกแถมจำนวนมาก และการเปิดตัวโครงการใหม่ ลดลงส่วนการเปิดตัวโครงการใหม่ในปีนี้ ไตรมาสแรกและไตรมาส 2 น่าจะใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา จากเดิมที่คาดว่าจะมีการเพิ่มขึ้นบ้าง เพราะปีที่ผ่านมาการเปิดตัวลดลงมาเยอะเมื่อเทียบกับปี 2562 โดยเฉพาะ 2 ไตรมาสแรกลดลงอย่างชัดเจนและจะมาเพิ่มในไตรมาส 3 และ 4

          ทั้งนี้ประเมินว่า การเปิดตัวปี 2564 ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จะมีจำนวน 89,000 หน่วย แบ่งเป็นแนวสูง 36,000-37,000 หน่วย คิดเป็นสัดส่วน 30-40% และแนวราบ 52,000 หน่วย แต่ถ้า โควิดยืดเยื้ออาจจะลดลงอีก 10,000 หน่วย เหลือ 79,000 หน่วย เท่ากับปีนี้จะอยู่ระหว่าง 79,000-89,000 หน่วย สูงกว่าปี 2563 ที่เปิดรวม 71,500 หน่วย

          "แม้ว่าปีนี้เศรษฐกิจจะยังไม่ฟื้นตัว แต่ผู้ประกอบการยังคงต้องเปิดตัวโครงการใหม่ เพราะสต็อกพร่องลงจากปีก่อน และบริษัทในตลาดหลักทรัพย์จำเป็นต้องทำให้มีของขายในตลาด และมียอดขายที่รอรับรู้รายได้จากการโอน (Backlog) เพิ่มในแต่ละช่วง"

          ทั้งนี้ ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์ค่อนข้างมีความมั่นใจเกี่ยวกับยอดขายและรายได้ ในปี 64 ที่มีโอกาสเติบโตขึ้นได้จากปีก่อนที่ผู้ประกอบการหลายรายในอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบกันไปมาก แต่จะเริ่มมีทิศทางการค่อยๆ ฟื้นตัวขึ้นในปีนี้ ทำให้ผู้ประกอบารสังหาริมทรัพย์ที่ จดทะเบียนในตลาดหลักรัพย์เริ่มกลับมาลงทุนเปิดโครงการใหม่มากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นการเติมซัพพลายหลังจากระบายสต๊อกกันไปได้มากแล้วในปีก่อน และยังมีโครงการที่เดิมที่เลื่อนการเปิดตัวจากปีก่อนมาเป็นปีนี้ด้วย